ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1305 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ - ประเทศไทยยังคงมีฝนตกทางด้านตะวันตก และบริเวณภาคเหนือตอนบน ร้อยละ 60
ของพื้นที่ ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ โดยภาคใต้มีฝนตกร้อยละ 30
ของพื้นที่ หลายพื้นที่เริ่มกรีดยางได้เพิ่มขึ้น


2. การใช้ยาง - สมาคมผู้ผลิตรถยนต์อินเดียเผยยอดจำหน่ายรถยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในเดือน
พฤษภาคม เนื่องจากยอดจำหน่ายรถเอนกประสงค์ขนาดเล็กที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นของ
บริษัทผู้ผลิตรถยนต์อย่างมารุติ ซูซูกิ อินเดีย และบริษัทมหินทรา แอนด์ มหินทรา


3. เศรษฐกิจโลก - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยสต๊อคสินค้าคงคลังภาคค้าส่งประจำเดือนเมษายน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนมีนาคม และมากกว่าที่
นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 10 เดือน
- สำนักงานสถิติเยอรมันเปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าเดือนเมษายนปรับตัวขึ้นแตะระดับ
สูงสุดที่ 2.40 หมื่นล้านยูโร จาก 2.37 หมื่นล้านยูโรในเดือนมีนาคม โดยการนำเข้าปรับตัว
ลดลงร้อยละ 0.2 ขณะที่ยอดส่งออกทรงตัวจากระดับเดือนมีนาคม หลังจากที่ปรับตัว
ขึ้นมา 2 เดือนติดต่อกันที่ร้อยละ 1.4 และ 1.9 ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ตามลำดับ
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานภาคเอกชนเดือนเมษายนลดลง
ร้อยละ 11.0 จากเดือนก่อน สู่ระดับ 7.963 แสนล้านหยวน
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ที่ร้อยละ 1.25 จากร้อยละ 1.50 ซึ่งผิดไปจากที่นักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์
ส่วนใหญ่คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยดัชนีทางเศรษฐกิจเดือนพฤษภาคม ดังนี้
? ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นดัชนีวัดต้นทุนราคาสินค้าที่หน้าประตูโรงงาน ปรับตัว
ลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี
? ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.0 ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบเป็น
รายปี ชะลอตัวลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในเดือนเมษายน

4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.24 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 104.04 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.33 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่
50.56 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.67 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุน
เทขายทำกำไรหลังจากราคาน้ำมันสูงขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการ นอกจากนี้การแข็งค่าของ
เงินดอลล่าร์สหรัฐยังเป็นอีกปัจจัยที่กดดันให้นักลงทุนเทขายสัญญาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดที่ 51.95
ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.56 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- นักธุรกิจสหรัฐฯ ระดับมหาเศรษฐีระบุว่า เขาได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ
สหรัฐฯ ปีนี้ขึ้นอีกร้อยละ 20.0 โดยก่อนหน้านี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปีนี้จะอยู่ที่
ระดับ 60 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ภายในสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันอาจพุ่งขึ้นถึงระดับ 69 -
70 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล นับตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 น้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 80.0 สู่ระดับ 51 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล



6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 151.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.8 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 148.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.2 เยนต่อ
กิโลกรัม
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 149.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างาน
ครั้งแรกลดลง 4,000 ราย สู่ระดับ 264,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 4 มิถุนายน
2559
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า ภาคครัวเรือนชาวอเมริกันมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นใน
ไตรมาสแรก ขณะที่มูลค่าบ้านที่เพิ่มขึ้นช่วยชดเชยการร่วงลงของราคาหุ้น โดยเฟด
รายงานว่าภาคครัวเรือนของชาวอเมริกันมีมูลค่าสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 สู่ระดับ 82.1
ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าบ้านทะยานขึ้น 4.98 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ


8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางรายกล่าวว่าราคายางยังไม่ปรับ
ลดลงมากตามตลาดล่วงหน้า เพราะปริมาณยางยังมีน้อย และผู้ที่ขายล่วงหน้ายังเร่งซื้อ
เพื่อส่งมอบ ทำให้ราคายางในประเทศยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศ


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุด
ในรอบ 4 เดือน เพราะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันปิดตลาดปรับตัวลดลง และนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขาย
ก่อนที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า ประกอบกับ
อุปสงค์ยางของจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางอันดับหนึ่งของโลกอยู่ในภาวะซบเซาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว



สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา