ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1331 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ - บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนภาคกลาง
และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ขณะที่ภาคใต้มีเมฆมากกับมี
อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนตกบางแห่งร้อยละ 20 ของพื้นที่


2. การใช้ยาง - อินเดียกำลังวางแผนนำเข้ายางจากประเทศไทยเป็นจำนวน 300,000 ตัน เพื่อให้
เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ เนื่องจากอินเดียประสบปัญหาขาดแคลนยาง
ปริมาณความต้องการยางของอินเดียในแต่ละปีมากกว่า 1 ล้านตัน ขณะที่การผลิต
ในประเทศยังคงที่อยู่ที่เพียง 500,000 ตัน การเจรจาได้เริ่มต้นระหว่างอุตสาหกรรมยาง
ล้อในประเทศอินเดีย อุตสาหกรรมยางอินเดีย และตัวแทนเจ้าหน้าที่จากประเทศไทย
โดยการผลิตยางในอินเดียลดลงถึงร้อยละ 13 เหลือเพียง 563,000 ตันในปีงบประมาณ
2558 - 2559 ขณะที่การนำเข้าในช่วงเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 มีปริมาณ 454,000 ตัน
และเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้วภาครัฐก็ได้เพิ่มภาษีการนำเข้ายางพาราสูงถึงร้อยละ 25
หรือ 30 รูปีต่อกิโลกรัม (ขึ้นกับว่าอัตราใดจะต่ำกว่า) ทั้งนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ
ผู้ปลูกยางภายในประเทศและเพื่อไม่ให้มีการนำเข้ายางจากต่างประเทศมาก


3. เศรษฐกิจโลก
- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า เดือนมิถุนายนดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 94.3 จาก 94.7 ในเดือนพฤษภาคม ดีกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 94.0


- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
(FDI) อยู่ที่ 5.677 หมื่นล้านหยวน (8.89 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ลดลงร้อยละ 1.0 จาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับ FDI ช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม รวมอยู่ที่ 3.4355
แสนล้านหยวน (5.419 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน


- องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยว่า การลงทุน
ในยูโรโซนยังอยู่ห่างไกลจากระดับในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการเงิน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก
ปัญหาในภาคธนาคาร อาทิ หนี้เสียที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ธนาคารไม่เต็มใจที่จะปล่อยกู้
พร้อมนี้ยังระบุว่าปัญหาเดิมในภูมิภาคยังไม่ได้รับการแก้ไข ขณะเดียวกันก็มีปัญหาใหม่
เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี OECD กล่าวว่า ยุโรปมีความก้าวหน้าที่สำคัญในการฟื้นตัวจากภาวะ
เศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวต่อเนื่องมา 3 ปี


- นายเดวิด ลิปตัน รองผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกมาเตือน
ให้จีนเร่งจัดการกับหนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้ โดยระบุว่าหากไม่เร่งจัดการในเรื่อง
ดังกล่าว จีนอาจเผชิญกับความเสี่ยงสูงในขณะที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ
จากที่พึ่งพาการส่งออกเป็นการกระตุ้นการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ด้านนักวิเคราะห์
คาดการณ์ว่าหนี้ภาคเอกชนของจีนจะพุ่งขึ้นแตะระดับร้อยละ 160.0 ของผลิตภัณฑ์-
มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งเป็นระดับที่น่ากังวลอย่างมาก


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.22 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 106.20 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 2.16 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่
49.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.49 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังมีรายงานว่า
จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว สะท้อนให้เห็นว่า
การผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ มีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากนี้การแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ
ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้นักลงทุนเทขายสัญญาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 ปิดตลาดที่
50.54 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 1.49 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 154.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.1
เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 153.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น
5.3 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 144.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 5.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะชะลอตัวลงใน
ไตรมาส 2 จากภาคก่อสร้างที่ยังคงซบเซา และการค้ากับต่างประเทศไม่สดใส ทั้งนี้
เศรษฐกิจปรับตัวแข็งแกร่งในช่วงต้นไตรมาส 2 โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.8 ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ขณะที่อัตราว่างงานลดลงแตะระดับ
ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์


8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวลดลงจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง แต่ผู้ประกอบการยังคง
มีความต้องการผลผลิตอย่างต่อเนื่อง




แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ดอลล่าร์สหรัฐต่อ
บาร์เรล เพราะได้รับความกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจในเอเชีย และสกุลเงิน
ดอลล่าร์สหรัฐที่แข็งค่า ประกอบกับนักลงทุนยังคงติดตามตัวเลขสินเชื่อของจีนก่อนจะมีการประชุมธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า ทำให้ต้องระมัดระวังในการซื้อขาย



สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา