ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1175 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย
วิเคราะห์
1.สภาพภูมิอากาศ
- ทุกภาคของประเทศไทยยังคงมีฝนตก โดยตกหนักทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด ระนอง พังงา และภูเก็ต ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง


2.การใช้ยาง
- สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซีย เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของอินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 12.0 จากสถิติปีก่อนหน้า โดยยอดขายรถยนต์ อยู่ที่ 88,528 คัน ในเดือนที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากปีก่อนหน้า เมื่อเทียบรายเดือน ยอดขายเดือนพฤษภาคม สูงกว่ายอดขายเดือนเมษายน ที่ 84,600 คัน สาหรับเป้าหมายของปีนี้ ทางสมาคมตั้งเป้ายอดขายรถยนต์ไว้ที่อัตราการขยายตัวร้อยละ 5.0 เทียบกับปี 2558 ที่สามารถ ทายอดขายได้ 1.01 ล้านคัน


3.เศรษฐกิจโลก
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบกับรายเดือน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ และเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 2 โดยได้แรงหนุนจากยอดขายรถยนต์
- สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐฯ (NFIB) แถลงว่า ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมปรับตัวขึ้น เป็นเดือนที่ 2 โดยขยับขึ้น 0.2 จุด สู่ระดับ 93.8 ในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงปรับตัวต่ากว่าระดับ 100 ที่เคยทาไว้ในเดือนธันวาคม 2557 และต่ากว่าระดับ 98 ซึ่งเป็นระดับเฉลี่ยในรอบ 42 ปี
- กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ประจาเดือนเมษายน 2559 ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลที่ร้อยละ 0.5 จากสถิติเดือนก่อน
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ราคานาเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 ปีหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือนเมษายน จากการที่ราคาสินค้าผลิตภัณฑ์น้ามันและสินค้าอื่นๆ ปรับตัวขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนเมษายน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนมีนาคม ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า สต๊อกสินค้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนเมษายน โดยสต๊อกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในเดือนมีนาคม


4.อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.17 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 106.22 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.22 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5.ราคาน้ามัน
- สัญญาน้ามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 ปิดตลาดที่ 48.49 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.39 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ามันล้นตลาด หลังจากเบเกอร์ฮิวจ์ รายงานว่า จานวนแท่นขุดเจาะน้ามันที่ใช้งานในสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- สัญญาน้ามันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 ลดลง 0.52 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 49.83 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สานักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุในรายงานภาวะตลาดน้ามันประจาเดือนมิถุนายน ว่าภาวะตลาดน้ามันโลกจะเข้าสู่จุดสมดุลในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยอุปสงค์น้ามันโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณน้ามันในตลาดโลกลดลงในเดือนที่แล้ว โดยเป็นการลดลงอย่างมีนัยสาคัญครั้งแรก นับตั้งแต่ ปี 2013 โดย IEA คาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ามันโลกจะแตะระดับ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปีนี้ และแตะ 97.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปีหน้า



6.การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 150.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 149.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.1 เยนต่อ
ดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 145.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7.ข่าว - สานักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป รายงานว่า จานวนผู้มีงานทาในสหภาพยุโรป (EU) และยูโรโซน
ต่างก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในช่วงไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยระบุว่า อัตราจ้างงานเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.4 ทั้งในยูโรโซนและEU ในไตรมาสแรก หลังจากที่ยูโรโซนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และEU
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว


8.ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ
เพื่อส่งมอบเริ่มลดลงส่งผลให้ราคาเริ่มปรับลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม
ผู้ประกอบการกล่าวว่า ความเป็นจริงผลผลิตยังคงมีน้อย ราคาไม่น่าจะปรับลงมาก




แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียวที่ปรับลดลงแตะระดับต่าสุดในรอบ 4 เดือน
โดยมีปัจจัยลบมาจากเงินเยนแข็งค่าและราคาน้ามันปรับตัวลดลง ประกอบกับนักลงทุนมีการระมัดระวังในการซื้อขาย
ก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ในวันนี้ รวมทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลงประชามติ
ของอังกฤษ เรื่องการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศและ
ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมีน้อย ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง




สานักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา