ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1160 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย
วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตก ฟ้าคะนองเกือบทั่วไป โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนมากกว่าภาคอื่น ๆ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ร้อยละ 70 ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ตซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2.การใช้ยาง
- ฟิทช์ เรตติ้งส์ เปิดเผยว่า กาไรของบริษัทผลิตรถยนต์ของจีนได้รับผลกระทบจากการชะลอตัว ของตลาดและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยฟิทช์ กล่าวในการแถลงข่าวว่า อัตราการขยายตัวของยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในจีน อาจจะชะลอตัวลงมาสู่ระดับร้อยละ 5.0 ต่อปี เนื่องจากภาวะซบเซา ของตลาดภายในประเทศและนโยบายควบคุมการซื้อรถยนต์และการใช้รถในเมืองขนาดใหญ่


3.เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานว่า ดัชนีภาคการผลิตปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 6 ในเดือนมิถุนายน จากระดับ -9 ในเดือนพฤษภาคม โดยได้รับผลบวกจากการเพิ่มขึ้นของคาสั่งซื้อใหม่ และ การขนส่งสินค้า
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบรายเดือน โดยปรับขึ้นตามราคาพลังงานและภาคบริการ หลังจากขยับขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนเมษายน และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI ปรับตัวลงร้อยละ 0.1 ในเดือนพฤษภาคม หลังจากทรงตัว ในเดือนเมษายน
- สานักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคม ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบกับที่ขยับขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือนเมษายน โดยได้ปัจจัยหนุนจากราคาอาหารสด ตามฤดูกาล
- คณะกรรมการกาหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุมเมื่อวานนี้ ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ในช่วงร้อยละ 0.25 ? 0.50 ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ ขณะที่ยังไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนถึงกาหนดเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในปีนี้
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้สู่ระดับร้อยละ 2.0 จากระดับร้อยละ 2.2 ที่คาดการณ์ในเดือนมีนาคม และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปีหน้า จากระดับร้อยละ 2.1 ที่คาดการณ์ในเดือนมีนาคม
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลงร้อยละ 0.4 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งย่าแย่กว่าที่คาดการณ์ว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัว ในภาคสาธารณูปโภคและการผลิตรถยนต์ และบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจชะลอตัวในไตรมาส 2
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาเตือนให้จีนเร่งจัดการกับหนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ในขณะนี้ โดยหากไม่เร่งจัดการในเรื่องดังกล่าว จีนอาจจะเผชิญกับความเสี่ยงสูงในระหว่างที่จีน กาลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ หากเดิมที่พึ่งทางการส่งออกเป็นหลัก ไปเน้นการกระตุ้น การอุปโภคบริโภคภายในประเทศ


4.อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.22 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.13 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 105.60 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.62 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5.ราคาน้ามัน
- สัญญาน้ามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 ปิดตลาดที่ 48.01 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.48 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปีนี้



- สัญญาน้ามันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 ลดลง 0.86 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 48.97 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สานักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อกน้ามันดิบสหรัฐฯ ลดลง 933,000 บาร์เรล สู่ระดับ 531.5 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นการลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวสวนทางกับสถาบันปิโตรเลียมอเมริกา (API) ที่รายงานว่า สต๊อกน้ามันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น


6.การเก็งกาไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 151.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 150.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.8 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 146.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7.ข่าว
- เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า BOJ กาลังทาการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับธนาคารกลาง ในยุโรป เพื่อรับมือกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น หากสหราชอาณาจักร ซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ สก๊อตแลนส์, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ตัดสินใจถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU) ในการลงประชามติวันที่ 23 มิถุนายน นี้

8.ข้อคิดเห็นของประกอบการ - ราคายางยังคงทรงตัว ไม่เปลี่ยนแปลงมากในระยะนี้ เพราะผู้ประกอบการบางรายยังต้องการซื้อ เพื่อส่งมอบ ซึ่งขายล่วงหน้าไว้ในราคาสูง ทาให้ราคาในตลาดกลางได้ปรับลดลงมากตามตลาดล่วงหน้า




แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยลบมาจากการแข็งค่าของเงินเยน และราคาน้ามันปรับตัวลดลง รวมทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้สู่ระดับร้อยละ 2.0 จากระดับร้อยละ 2.2 ที่คาดการณ์ในเดือนมีนาคม ส่วนปัจจัยบวกจากเฟด มีมติคงอัตราดอกเบี้ยและปริมาณผลผลิต ที่เพิ่มขึ้นน้อย เพราะหลายพื้นที่มีฝนตกเป็นอุปสรรค์ต่อการกรีดยาง




สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา