ผู้เขียน หัวข้อ: ไม้ซีก กับ ไม้ซุง พลวัต 2016  (อ่าน 439 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87591
    • ดูรายละเอียด
ไม้ซีก กับ ไม้ซุง พลวัต 2016
« เมื่อ: มิถุนายน 21, 2016, 03:33:09 PM »
ไม้ซีก กับ ไม้ซุง  พลวัต 2016


2016-06-21 06:41:00

วิษณุ โชลิตกุล
 
ผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดีย รากุราม ราชัน ประกาศว่า จะลาออก ไม่รับตำแหน่งต่อเมื่อครบวาระ 3 ปีตามสัญญาในปลายปีนี้


การประกาศไม่ต่ออายุเก้าอี้ผู้ว่าการธนาคารกลางของราชัน  ทำให้เขากลายเป็นผู้ว่าการธนาคารคนแรกในหลายทศวรรษของอินเดีย หลังจากที่ผู้ว่าการธนาคารกลางก่อนหน้านี้หลายคนได้รับการต่ออายุสำหรับวาระ 3 ปี ไปคนละหลายวาระตลอดมา


ก่อนหน้าราชัน ผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดียคนที่ 22 ทัพวุรี ศุภภาเรา ก็นั่งนาน 2 วาระก่อนจะลงจากตำแหน่งไปในปี 2556


ราชัน เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเงินที่ไม่ได้ใช้ชีวิตในบ้านเกิดนานกว่าครึ่งของชีวิต โดยเป็นศาสตราจารย์ด้านการเงินแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกในสหรัฐฯ รวมทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศด้วย แต่ก่อนเข้าเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดีย เขามีประสบการณ์ไม่นานนัก จากการทำงานในฐานะประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจประจำกระทรวงการคลังของอินเดีย


ในหนังสือที่ราชันเขียนขึ้นเองชื่อ Fault Lines ราชันเป็นหนึ่งในคนที่อธิบายก่อนหน้าว่า วิกฤติซับไพรม์ของ สหรัฐฯ ค.ศ. 2008 เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น ไม่ใช่เพราะว่ามีใครบางคนในแวดวงวาณิชธนกิจ หรือนายธนาคาร หรือ ในธุรกรรมตราสารอนุพันธ์กระทำการฉ้อฉลทางธุรกิจ แต่เป็นเพราะความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างของเศรษฐศาสตร์การเมืองสหรัฐฯ


พื้นฐานที่นำไปสู่วิกฤติซับไพรม์ที่แท้จริงในทัศนะของราชันคือ การที่ผู้บริโภคมีหนี้สินล้นพ้นตัวเกินรายได้ ชาวอเมริกันมีบทบาทสูงมากเกินไปการขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจโลก เพรานำไปสู่การปล่อยสินเชื่อในรูปต่างๆ ที่เป็น ?เงินต้นทุนต่ำ? ที่สร้างฟองสบู่ให้มีการจ้างงานเทียม และการใช้จ่ายแบบฟองสบู่ ผลลัพธ์คือ เมื่อเศรษฐกิจอเมริกาที่ ?รวยปลอม? ไม่สามารถเคลื่อนตัวไปข้างหน้าได้ โลกส่วนอื่น ?ที่ถูกทำให้ยากจน? ก็ถูกจำกัดการบริโภคลง ส่งผลให้วิกฤติลามไปทั่วโลก


มุมมองดังกล่าว ทำให้ราชันได้รับเทียบเชิญเข้ามาเป็นผู้ว่าธนาคารกลางอินเดียเพื่อหาทางออก จากความท้าทายของกับดักทางเศรษฐกิจที่ถูกสร้างเอาไว้รกเรื้อโดยรัฐบาลของ พรรคคองเกรสโดยนายกรัฐมนตรี มันโมฮัน ซิงห์ ที่เรียกร้อง 1) การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อ 2) การดูแลให้เงินรูปีมีเสถียรภาพ 3) การปฏิรูประบบธนาคารพาณิชย์

 ภารกิจของราชันนั้น ไม่ใช่งานที่ง่าย เพราะเป็นปัญหาว่าด้วย ?ไตรภาคีของความเป็นไปไม่ได้? (the impossible trinity) เพราะการทำให้เศรษฐกิจเติบโต ย่อมหมายถึงการทำให้เสถียรภาพของค่าเงินถูกรบกวน และ การใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดคุมภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ต้นทุนทางการเงินภาคธุรกิจแพงขึ้น รบกวนการจ้างงาน


เกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ราชัน ทำได้ดีตามมาตรฐาน เพราะสามารถทำให้อินเดีย กลายเป็นชาติที่มีอัตราการเติบโตและเสถียภาพทางเศรษฐกิจดีที่สุดแห่งหนึ่ง ของโลกในปี 2558 ที่ผ่านมา ท่ามกลางความผันผวนของโลกจากวิกฤติราคาน้ำมัน ความวุ่นวายในจีน และเงินฝืดเรื้อรังในญี่ปุ่น กับ ยูโรโซน 


เหตุที่ทำได้ตามมาตรฐานและสอบผ่านอยู่ตรงที่ว่า เขาได้มีส่วนสำคัญในการทำให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของอินเดียที่มีจำนวน มากกว่า 380,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (13.5 ล้านล้านบาท) ถูกนำมาใช้เป็นทรัพยากรหรือเครื่องมือต่อรองในการควบคุมเงินเฟ้อ และค่าเงินพร้อมกันไป แม้จะถูกวิพากษ์อย่างรุนแรงว่า เป็นการทำให้การจ้างงานลดลง จากการใช้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวด โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับสูง


ภารกิจที่ยังไม่เสร็จ และทำให้ราชันต้องเด้งจากเก้าอี้อย่างสมัครใจ ก่อนจะถูก ?ให้ออก? คือ การปฏิรูประบบธนาคารพาณิชย์ที่มีลักษณะ ?เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง? ทำนองเดียวกันกับที่อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางอิสราเอลอย่างนายสแตนลี่ย์ ฟิชเชอร์ เคยเผชิญและล้มเหลวมาก่อน


โครงสร้างระบบธนาคารพาณิชย์ของอิสราเอลและอินเดียนั้น มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เพราะว่า มีกลุ่มทุนใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมสารพัดทางเศรษฐกิจ ที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และเป็นต้นเหตุของหนี้เน่าในระบบจำนวนมาศาล จากการปล่อยสินเชื่ออย่างสมคบคิดฉ้อฉล ผ่องถ่ายเงินจากระบบเข้ากระเป๋ากลุ่มทุนใหญ่อย่างเพลิดเพลิน

โครงสร้างธนาคารแบบพรรคพวกหรือ crony bankimg  ทำให้เกิดปัญหาเมื่อมีความพยายามปฏิรูประบบธนาคาร แรงต่อต้านเกิดขึ้นจาก ?พลังมืด? ผ่านมาทางนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และกลไกรัฐส่วนต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชนที่กลุ่มทุนใหญ่หนุนหลังอยู่


นายสแตนลี่ย์ ฟิชเชอร์ ตกงานในอิสราเอล แต่โชคดีได้งานใหญ่เป็นรองประธานเฟดฯของสหรัฐฯ แต่นายราชัน ที่มีโอกาสตกงานจากนิวเดลี อาจจะไม่มีชะตากรรมดีเลิศแบบนายฟิชเชอร์ เพียงแต่ความรู้และผลงานที่เขาสร้างเอาไว้ในอดีต ก็น่าจะเพียงพอที่ทำให้ได้งานใหม่ในสหรัฐฯหรือยุโรปไม่ยากเย็นอะไร


นี่คือ บทเรียนของสังคมที่กลุ่มทุนใหญ่ทำตัวเป็นไม้ซุง ที่มีโครงสร้างผลประโยชน์ซับซ้อน เล่นบทบาทของเหลือบเกาะกินความมั่งคั่งเข้ากระเป๋าส่วนตัว แล้วใช้กลไกดังกล่าวขจัดไม้ซีกของกคนที่มีความสามารถ แต่ไม่สามารถรู้เท่าทันความเจ้าเล่ห์เพทุบายของโครงสร้างที่ฉ้อฉล ออกไปจากโครงสร้างได้
ไม่ใช่ครั้งแรก และก็ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย