ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 1021 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82866
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ - ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตก ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและ
ตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี
ตราด ระนอง พังงา และภูเก็ต ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง - เกษตรกรผู้ปลูกยางรายย่อยของอินเดียยังคงหยุดกรีดยาง ถึงแม้ว่าราคายางจะปรับตัว
สูงขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้อุตสาหกรรมยางล้อในประเทศต้องเพิ่มปริมาณการนำเข้ายาง
เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม ปริมาณ
การผลิตยางในอินเดียอยู่ที่ 85,000 ตัน และนำเข้ายางธรรมชาติลดลงร้อยละ 6.0 เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เหลือเพียง 69,945 ตัน แต่ฝ่ายผู้บริหารของอุตสาหกรรม
คาดว่ายอดการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะเมื่อราคายาง
ตลาดโลกต่ำกว่ายาง RSS 4 ของอินเดีย

3. เศรษฐกิจโลก - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวย้ำความเห็นของเขาว่า เฟด
มีความจำเป็นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 1 ครั้งเท่านั้นในอนาคตอันใกล้ ถึงแม้ว่า
สหรัฐฯ มีการจ้างงานที่แข็งแกร่งในเดือนมิถุนายน
- รัฐบาลญี่ปุ่นปรับลดคาดการณ์การขยายตัวที่แท้จริง (Real Term) ของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ในปีงบประมาณ 2559 สู่ระดับร้อยละ 0.8 จากเดิมที่คาดไว้เมื่อเดือนมกราคมที่ร้อยละ
1.7 และร้อยละ 2.2 จากร้อยละ 3.1 เมื่อพิจารณาในรูปตัวเงิน (Nominal Term)
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม
ของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรลดลงร้อยละ 1.2 จากเดือนเมษายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4
หากเทียบเป็นรายปีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 หลังจากเพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 2.2 ในเดือนพฤษภาคม
- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายน
ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 จากเดือนพฤษภาคม เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคา
พลังงานได้ถูกหักลบกับการปรับตัวลงของอาหารสด และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2
- นายกรัฐมนตรีจีนส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนไตรมาส 2 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับ
เดียวกับไตรมาสแรกที่ร้อยละ 6.7 พร้อมเน้นย้ำว่าเศรษฐกิจจีนยังคงมีเสถียรภาพ
- กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น รายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
เดือนพฤษภาคมปรับตัวลงร้อยละ 2.6 จากเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการปรับทบทวนลงจากที่
หดตัวร้อยละ 2.3 ในรายงานเบื้องต้น
- สำนักงานศุลกากรจีนรายงานว่า ยอดส่งออกเดือนมิถุนายนปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.3
เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 2.3
- กระทรวงพาณิชย์ของจีนเปิดเผยว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมิถุนายน แตะ 1.523 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ
หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.0 ในเดือนพฤษภาคม


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.18 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 104.33 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ



5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
44.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.05 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงาน
สารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง
น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สะท้อนให้เห็นถึงภาวะอุปทานน้ำมันที่ยังคงสูงมากใน
สหรัฐฯ
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่
46.26 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.21 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ปรับเพิ่มคาดการณ์ระดับราคาสัญญา
น้ำมันดิบ WTI สำหรับปี 2559 เป็น 43.57 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จาก 42.83
ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลที่คาดการณ์เมื่อเดือนมิถุนายน และปรับเพิ่มคาดการณ์ราคา
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์สำหรับปี 2559 เป็น 43.73 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จาก 43.03
ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล สำหรับปี 2560 EIA คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ทั้ง WTI และเบรนท์
จะอยู่ที่ 51.15 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 163.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.8 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 154.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.9 เยนต่อ
ดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 171.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ โดยระบุว่าเศรษฐกิจ
และการจ้างงานยังคงขยายตัวเล็กน้อยในภูมิภาคส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ นับตั้งแต่ช่วง
กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงมิถุนายน และแทบไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นเร็ว ๆ นี้
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาดัลลัส กล่าวว่าเฟดควรใช้ความระมัดระวัง
ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยควรปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่เศรษฐกิจโลก
ชะลอตัวลง และยังกล่าวว่าปัจจัยเสี่ยงในตลาดโลกกำลังบั่นทอนความพยายามของเฟด
ในการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ


8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรง ๆ ปรับตัวลดลงหรือสูงขึ้นไม่มาก เพราะยังมีแรงหนุนจากความ
ต้องการซื้อในประเทศ และปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นน้อย ขณะที่แหล่งข่าวรายงานว่า
การซื้อขายล่วงหน้ายังอยู่ในระดับสูง ทำให้ต้องเร่งซื้อเพื่อส่งมอบ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยลบจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้า
โตเกียว และราคาน้ำมันปิดตลาดปรับตัวลดลง ประกอบกับนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายก่อนที่จะทราบผล
การประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ในวันนี้ ส่วนปัจจัยบวกมาจากเงินเยนอ่อนค่า และกระแสคาดการณ์ว่า
ธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งจีน ญี่ปุ่น และอังกฤษ รวมทั้งความต้องการซื้อ
ของผู้ประกอบการในประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง




สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา