ผู้เขียน หัวข้อ: บริษัทยักษ์ไม่ซื้อยางแค่เกมกดราคา (02/09/2559)  (อ่าน 1523 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82374
    • ดูรายละเอียด
บริษัทยักษ์ไม่ซื้อยางแค่เกมกดราคา (02/09/2559)



ชาวสวนยาง, คมชัดลึก, บริดจสโตน, มิชลิน, ยางพาราอีสาน, ไม่ซื้อยาง, ยางพารา, บริษัท, ยักษ์, ไม่, ซื้อ, ยาง, แค่, เกม, กดราคา
ชาวสวนยางอีสานระบุ สองค่ายยักษ์ไม่ซื้อยาง กระทบด้านจิตวิทยาระยะสั้น

               จากกรณีผู้บริหารบริษัทค้ายางพารารายใหญ่ในประเทศ ออกมาระบุว่า สองค่ายยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตยางรถยนต์ของโลกคือ มิชลิน บริสโตน ประกาศไม่รับซื้อยางพาราในภาคอีสาน เหตุเพราะใช้กรดซันฟูริก เพื่อให้ยางจับตัวกันดี แต่ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมคุณภาพการใช้งานเร็วและเป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อม จึงเตรียมเข้าหารือกับคณะอนุกรรมาธิการการเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนนั้น


               นายประสิทธิ์ กาญจนา ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า เรื่องที่สองค่ายรถยนต์จะไม่รับซื้อยางพาราจากภาคอีสาน เป็นเรื่องได้ยินมาได้ประมาณ 2 ปีที่แล้ว แต่ในความเป็นจริงการใช้กรดซันฟูริกให้ยางจับตัวกันเร็วนั้น มีการใช้มาตั้งแต่สมัยไหนแล้ว และปัจจุบันก็ยังมีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคในประเทศไทย


               ทั้งที่เมื่อหลายปีก่อน มีการรณรงค์ให้เกษตรกรนำกรดฟอร์นิก ซึ่งอ้างว่าเป็นกรดจากสารอินทรีย์มาใช้แทนกรดซันฟูริก เพื่อให้ยางจับตัวดี แต่เกษตรกรไม่นิยม เนื่องจากเป็นกรดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพงกว่ากรดซันฟูริกที่สามารถผลิตได้เองในประเทศกว่าเท่าตัว และเป็นการเพิ่มต้นทุนแก่ชาวสวนยาง


               ส่วนที่ระบุว่าเมื่อนำกรดซันฟูริกมาใช้แล้ว ทำให้ต้นยางเสื่อมสภาพเร็วหรือยางรถยนต์ลดคุณภาพลง ตนไม่เคยเห็นงานวิจัยทางด้านนี้มาก่อน จึงขอให้บริษัทผู้ผลิตยางทั้งสองราย นำผลงานวิจัยออกมาเปิดเผยอย่างเป็นทางการ เพราะปัจจุบันสวนยางของพี่สาวตนที่อยู่ภาคใต้ ต้นยางมีอายุกว่า 30 ปี และใช้กรดซันฟูริกผสมในการทำยางก้อนถ้วย ก็ยังกรีดน้ำยางได้ตามปกติ ไม่ได้เสื่อมสภาพตามที่มีการกล่าวอ้าง


               สำหรับการประกาศแบนยางพาราจากภาคอีสาน และล้มเลิกแผนการตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท มีผลกระทบด้านจิตวิทยาเพียงระยะเวลาสั้นๆ เพราะชาวสวนยางในภาคอีสาน มีการส่งยางพาราไปขายให้กับพ่อค้าในภาคตะวันออกและภาคใต้เป็นปกติอยู่แล้ว


               รวมทั้งปัจจุบันบริษัทพีซีได้ร่วมกับประเทศจีน ก็ได้มาตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่จังหวัดเลย และมีแผนขยายโรงงานมาในจังหวัดอีสานใต้อีกแห่ง มีความต้องการใช้ยางพาราในภาคอีสานเป็นวัตถุดิบในการผลิต และไม่ได้มีข้อแม้ จะต้องเป็นยางที่ไม่ใช้กรดซันฟูริกแต่อย่างใด จึงไม่มีผลให้ราคายางพาราในภาคอีสานปรับตัวลดลง


               ขณะเดียวกันทางชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี ก็มีโรงงานผลิตยางแท่งแปรรูปส่งไปขายประเทศจีน และขณะนี้ อยู่ระหว่างการเจรจากับพ่อค้าจากมาเลเซีย ซึ่งสนใจมาซื้อยางจากชุมนุมสหกรณ์ฯ ของเราด้วย


               การมีข่าวแบนรับซื้อยางพาราในภาคอีสาน นายประสิทธิ์มองว่าเป็นเกมทางการค้าของกลุ่มพ่อค้ายางพารา แต่ไม่ทำให้ราคายางพาราของภาคอีสานลดราคาลงอย่างฮวบฮาบในระยะยาวแน่นอน นายประสิทธิ์ ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี กล่าว


               ด้าน นายประนต สิทธิสอน อายุ 54 ปี เกษตรกรชาวสวนยาง บ้านเลขที่ 114 หมู่ 2 บ.ไชยวาน ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี กล่าวว่า ไม่ทราบข่าวเรื่องที่บริษัทรับซื้อยาง จะไม่ซื้อยางของภาคอีสาน เพราะมีการใช้กรดซัลฟูริก หากเป็นจริงก็คงน้อยใจกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น คิดว่าจะเอาอย่างไร ยางของเราก็เปอร์เซ็นต์ดี เพราะว่าเราใช้กรดฟอร์มิกหยอดน้ำยาง จากเดิมที่เคยใช้กรดซัลฟูริก ที่เลิกใช้เพราะว่า เมื่อใช้น้ำกรดซัลฟูริกใส่ในน้ำยางเพื่อให้จับตัวแข็งแล้ว มีกลิ่นเหม็น แตะถ้วยน้ำยางไม่ได้เลย เพราะกลิ่นเหม็นติดมือ แต่พอเราเปลี่ยนมาใช้กรดฟอร์มิกแล้วก็ไม่มีกลิ่นเหม็นเลย


               ?ความเหม็นของยางที่ใช้กรดซัลฟูริกเหม็นน่าเกลียด และหากน้ำกรดหยดถูกเสื้อผ้า ก็จะเปื่อยยุ่ย จึงเลิกใช้ เปลี่ยนมาใช้กรดฟอร์มิกได้ไม่นานมานี้ ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมาใช้ฟอร์มิก คุณภาพยางก้อนถ้วยก็ดีกว่าเดิม กลิ่นไม่เหม็น ขายได้ราคาดีกว่า แต่ราคายางที่ซื้อขายตอนนี้ไม่อยากจะพูดถึง เพราะน้อยเกินไป อยากได้ราคาเหมือนช่วงเดิมที่ขายได้ถึง กก.ละ 70 กว่าบาท?

ชาว สวนยางอีสานระบุ สองค่ายยักษ์ไม่ซื้อยาง กระทบด้านจิตวิทยาระยะสั้น จากกรณีผู้บริหารบริษัทค้ายางพารารายใหญ่ในประเทศ ออกมาระบุว่า สองค่ายยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตยางรถยนต์ของโลกคือ มิชลิน บริสโตน ประกาศไม่รับซื้อยางพาราในภาคอีสาน เหตุเพราะใช้กรดซันฟูริก เพื่อให้ยางจับตัวกันดี แต่ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมคุณภาพการใช้งานเร็วและเป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อม จึงเตรียมเข้าหารือกับคณะอนุกรรมาธิการการเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนนั้น นายประสิทธิ์ กาญจนา ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า เรื่องที่สองค่ายรถยนต์จะไม่รับซื้อยางพาราจากภาคอีสาน เป็นเรื่องได้ยินมาได้ประมาณ 2 ปีที่แล้ว แต่ในความเป็นจริงการใช้กรดซันฟูริกให้ยางจับตัวกันเร็วนั้น มีการใช้มาตั้งแต่สมัยไหนแล้ว และปัจจุบันก็ยังมีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคในประเทศไทย ทั้งที่เมื่อหลายปีก่อน มีการรณรงค์ให้เกษตรกรนำกรดฟอร์นิก ซึ่งอ้างว่าเป็นกรดจากสารอินทรีย์มาใช้แทนกรดซันฟูริก เพื่อให้ยางจับตัวดี แต่เกษตรกรไม่นิยม เนื่องจากเป็นกรดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพงกว่ากรดซันฟูริกที่สามารถผลิตได้เองในประเทศกว่าเท่าตัว และเป็นการเพิ่มต้นทุนแก่ชาวสวนยาง ส่วนที่ระบุว่าเมื่อนำกรดซันฟูริกมาใช้แล้ว ทำให้ต้นยางเสื่อมสภาพเร็วหรือยางรถยนต์ลดคุณภาพลง ตนไม่เคยเห็นงานวิจัยทางด้านนี้มาก่อน จึงขอให้บริษัทผู้ผลิตยางทั้งสองราย นำผลงานวิจัยออกมาเปิดเผยอย่างเป็นทางการ เพราะปัจจุบันสวนยางของพี่สาวตนที่อยู่ภาคใต้ ต้นยางมีอายุกว่า 30 ปี และใช้กรดซันฟูริกผสมในการทำยางก้อนถ้วย ก็ยังกรีดน้ำยางได้ตามปกติ ไม่ได้เสื่อมสภาพตามที่มีการกล่าวอ้าง สำหรับการประกาศแบนยางพาราจากภาคอีสาน และล้มเลิกแผนการตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท มีผลกระทบด้านจิตวิทยาเพียงระยะเวลาสั้นๆ เพราะชาวสวนยางในภาคอีสาน มีการส่งยางพาราไปขายให้กับพ่อค้าในภาคตะวันออกและภาคใต้เป็นปกติอยู่แล้ว รวมทั้งปัจจุบันบริษัทพีซีได้ร่วมกับประเทศจีน ก็ได้มาตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่จังหวัดเลย และมีแผนขยายโรงงานมาในจังหวัดอีสานใต้อีกแห่ง มีความต้องการใช้ยางพาราในภาคอีสานเป็นวัตถุดิบในการผลิต และไม่ได้มีข้อแม้ จะต้องเป็นยางที่ไม่ใช้กรดซันฟูริกแต่อย่างใด จึงไม่มีผลให้ราคายางพาราในภาคอีสานปรับตัวลดลง ขณะเดียวกันทางชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี ก็มีโรงงานผลิตยางแท่งแปรรูปส่งไปขายประเทศจีน และขณะนี้ อยู่ระหว่างการเจรจากับพ่อค้าจากมาเลเซีย ซึ่งสนใจมาซื้อยางจากชุมนุมสหกรณ์ฯ ของเราด้วย การมีข่าวแบนรับซื้อยางพาราในภาคอีสาน นายประสิทธิ์มองว่าเป็นเกมทางการค้าของกลุ่มพ่อค้ายางพารา แต่ไม่ทำให้ราคายางพาราของภาคอีสานลดราคาลงอย่างฮวบฮาบในระยะยาวแน่นอน นายประสิทธิ์ ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี กล่าว ด้าน นายประนต สิทธิสอน อายุ 54 ปี เกษตรกรชาวสวนยาง บ้านเลขที่ 114 หมู่ 2 บ.ไชยวาน ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี กล่าวว่า ไม่ทราบข่าวเรื่องที่บริษัทรับซื้อยาง จะไม่ซื้อยางของภาคอีสาน เพราะมีการใช้กรดซัลฟูริก หากเป็นจริงก็คงน้อยใจกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น คิดว่าจะเอาอย่างไร ยางของเราก็เปอร์เซ็นต์ดี เพราะว่าเราใช้กรดฟอร์มิกหยอดน้ำยาง จากเดิมที่เคยใช้กรดซัลฟูริก ที่เลิกใช้เพราะว่า เมื่อใช้น้ำกรดซัลฟูริกใส่ในน้ำยางเพื่อให้จับตัวแข็งแล้ว มีกลิ่นเหม็น แตะถ้วยน้ำยางไม่ได้เลย เพราะกลิ่นเหม็นติดมือ แต่พอเราเปลี่ยนมาใช้กรดฟอร์มิกแล้วก็ไม่มีกลิ่นเหม็นเลย ?ความเหม็นของยางที่ใช้กรดซัลฟูริกเหม็นน่าเกลียด และหากน้ำกรดหยดถูกเสื้อผ้า ก็จะเปื่อยยุ่ย จึงเลิกใช้ เปลี่ยนมาใช้กรดฟอร์มิกได้ไม่นานมานี้ ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมาใช้ฟอร์มิก คุณภาพยางก้อนถ้วยก็ดีกว่าเดิม กลิ่นไม่เหม็น ขายได้ราคาดีกว่า แต่ราคายางที่ซื้อขายตอนนี้ไม่อยากจะพูดถึง เพราะน้อยเกินไป อยากได้ราคาเหมือนช่วงเดิมที่ขายได้ถึง กก.ละ 70 กว่าบาท? ที่มา : หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก (วันที่ 1 กันยายน 2559) - See more at: http://www.rubberthai.com/index.php/newsyang/news-on-rubber/item/4966-02-09-2559#sthash.SXUGeN4m.dpuf