ผู้เขียน หัวข้อ: STA เปลืองตัว แต่เกินคุ้ม แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น  (อ่าน 1407 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82374
    • ดูรายละเอียด
STA เปลืองตัว แต่เกินคุ้ม
แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น


2016-09-05 06:43:00

ไม่มีใครรู้เจตนาของผู้บริหารบริษัทส่งออกยางขนาดใหญ่สุดของไทยอย่าง นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ในการนำข่าวร้ายสำหรับวงการยางพาราไทยมาเปิดโปง


ความหวังดีต่อธุรกิจโดยรวม หรือ การทุบราคารับซื้อยางพาราจากชาวสวน..หรือ ทุบหุ้น STA ของตัวเอง ??? ??? ?


นายวีรสิทธิ์ ออกมาบอกว่า  ได้รับการยืนยันจากบริษัทมิชลิน และบริดจสโตน 2 ค่ายยางล้อรถยนต์ระดับโลก ประกาศไม่รับซื้อผลผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคอีสานของไทย และตัดสินใจพับแผนก่อสร้างโรงงานมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาทในภาคอีสาน หลังพบว่า กว่าร้อยละ 80% ของพื้นที่มีการใช้ ?กรดซัลฟิวริก? ใส่ในน้ำยาง เพื่อให้น้ำยางเซตตัวเร็ว ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพและอายุการใช้งานของยางล้อรถ ยนต์สั้นลง


นอกจากนี้กรดดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่ออายุต้นยาง จากเดิมที่มีอายุการกรีดนาน 30 ปี เหลือแค่ 15 ปีเท่านั้น


ข่าวดังกล่าวแพร่หลายทั่ว โด่งดังเป็นพลุในช่วงข้ามวัน จนถึงขั้นที่นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังต้องออกมามาชี้แจงประเด็นดังกล่าวในเวลาต่อมาว่า ได้รับการชี้แจงว่าเป็นเพียงข้อห่วงใยของผู้ประกอบการ ซึ่งไม่ได้ต้องการให้ราคายางตกแต่อย่างใด  ?...ไม่ใช่ความผิดของใคร?...จบข่าว


ต่อมานาย วีรสิทธิ์ ออกเฟซบุ๊คมาโพสต์แก้ข่าวว่า ?เราพยายามรณรงค์อยู่ แต่ไม่ได้แบนนะครับ ต้องแก้ข่าวหน่อย..?


สรุปคือ ผู้สื่อข่าว ...ผิดอีกตามเคย


การใช้กรดในการทำยางแผ่นดิบ ของชาวสวนยางนั้น มีสองแบบ คือ แบบโบราณดั้งเดิม นับตั้งแต่นาย ชาร์ลส กูดเยียร์ จดสิทธิบัตรยางรถยนต์จากยางพาราเมื่อศตวรรษก่อน ด้วยการผสมน้ำกรดซัลฟูริก หรือกรดกำมะถันลงไปในการทำยางแผ่นเพื่อให้น้ำยางเกิดการแข็งตัว แต่ปัจจุบัน มีการค้นพบว่ากรดฟอร์มิก ทำยางแผ่นดิบมีคุณภาพดีกว่า เมื่อนำไปผลิตยางรถยนต์


ปัญหาก็คือ กรดฟอร์มิก มีราคาแพงกว่า กรดซัลฟูริก ดังนั้น การใช้กรดทั้งสองก็จึงดำเนินการควบคู่กันต่อมา โดยผู้รับซื้อจะยังให้ราคายางแผ่นที่ใช้กรดต่างกัน ในราคาเดียวกัน...ทำอย่างนี้ จะให้เลิกใช้กรดซัลฟูริกก็คงยากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา


ที่ผ่านมา ทาง สกย.ได้แนะนำชาวสวนยางมาตลอดว่า ให้ผสมน้ำยาง 3 ลิตร และน้ำ 2 ลิตร เข้ากับกรดฟอร์มิก 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 3 กระป๋องนม กวนน้ำยางด้วยใบพาย 1?2 เที่ยว แล้วค่อยเทส่วนผสมของน้ำกรด 1 กระป๋องนม ทิ้งไว้ 30?45 นาที ยางในตะแกรงจะแข็งตัวแล้วนำไปนวด เพื่อให้ท้ายสุดได้ ค่า DRC (เนื้อยางแห้ง) ประมาณ 25?28%...จึงได้ผลต่ำ

การออกมาป่าวประกาศว่า ยักษ์ใหญ่ยางโลก มิชลิน และบริดจสโตนจะไม่ซื้อยางแผ่นที่มีส่วนผสมของกรดซัลฟูริก ของนายวีรสิทธิ์ ...โดยที่ทั้งสองบริษัทผลิตยาง ไม่เคยพูดอะไรเลย...จึงเป็นการ ?เขียนเสือให้วัวกลัว? ธรรมดา เพื่อหวังผลอย่างไม่มีข้อสงสัย


ถือเป็นการให้ข่าวแบบ ?ฮาร์ดคอร์? ที่น่าสนใจ?.ท่ามกลางแนวโน้มที่ราคายางกำลังโน้มต่ำลงครั้งใหม่ ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก


การออกโรงของนายวีรสิทธิ์ ถือว่า มีผลสะเทือนพอสมควร เพราะถึงขั้นทำให้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เชื้อเชิญบริษัทมิชลิน และ STA มาร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการพิจารณาผลผลิตทางการเกษตร ของ สนช. โดยที่ทาง มิชลิน ได้ยืนยันว่าไม่ยกเลิกการซื้อยางจากภาคอีสานอย่างแน่นอน...


ส่วน นายธีธัช สุดสะอาด ผู้ว่า กยท. ก็รีบออกมารับลูกต่อจากนายกรัฐมนตรี ว่า  จะจัดทำแผนรณรงค์ลดการใช้กรดซัลฟูริกในยางพาราก้นถ้วย ภายใน 3 ปี เพิ่มสัดส่วนของการใช้กรดฟอร์มิกให้มากขึ้น จากปัจจุบันใช้ประมาณ 40% ของทั้งหมด และกำลังพิจารณา ?...ให้ภาคเอกชนที่รับซื้อยางพาราก้นถ้วย สนับสนุนเงินบางส่วนให้กับเกษตรกรเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อกรดฟอร์มิก...? ให้เอกชนกำหนดราคารับซื้อยางพาราที่มีการใช้กรด 2 ประเภทในกระบวนการผลิตให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน


การออกโรงของนายวีรสิทธิ์...ที่ดูเว่อร์เกินจริง..ก็ถือว่าไม่สูญเปล่า...อย่างน้อยก็มีคนรับลูก


ย้อนกลับไปดูที่ราคาหุ้นของ STA หลังจากข่าวนี้ออกมา พบว่าน่าสนใจเพราะตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้นของ STA 12.20 บาท มาอยู่ที่ 11.80 บาท ถือว่าไม่มีนัยสำคัญอะไรเลย เพราะเป็นการเหวี่ยงที่ต่ำกว่าตลาด
ราคาหุ้นที่ร่วงต่ำกว่าตลาด ไม่ถือว่าเป็นปฏิบัติการ ?ทุบเอาของ?...ฟังไม่ขึ้น


ที่สำคัญ ปีนี้ STA มีอัตรากำไรสุทธิที่ดีกว่าปีก่อน  รู้เพราะว่า ได้กำไรจากการที่ราคายางตกต่ำ หรือเพราะว่าขายยางพาราส่งออกได้ราคาแพงขึ้น ก็สุดคาดเดา ...


งานนี้ STA ได้คะแนนจากการออกโรงที่หวังผลได้


กดไลค์ให้ตันเองได้เลย....แม้จะเปลืองตัวเล็กน้อย  ก็ไม่สึกหรออะไร
?อิ อิ อิ?