ผู้เขียน หัวข้อ: กยท.ชี้ราคายางปีระกาดีกว่าปี?59 นำเงินกองทุน 3 พันล้านให้เกษตรกรกู้ตั้งโรงงาน  (อ่าน 1240 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82295
    • ดูรายละเอียด
กยท.ชี้ราคายางปีระกาดีกว่าปี?59 นำเงินกองทุน 3 พันล้านให้เกษตรกรกู้ตั้งโรงงาน

updated: 29 ม.ค. 2560 เวลา 08:30:00 น.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ผู้ว่าการ กยท.ชี้ราคายางปี?60 จะดีกว่าปีที่ผ่านมา เหตุเพราะพ้นจุดต่ำสุดแล้ว เตรียมนำเงินเซส 3,000 ล้าน ให้เกษตรกรปลูกยางกู้ตั้งโรงงานแปรรูปเพิ่มมูลค่า เตือนอย่าโหมปลูกจนล้นตลาดอีก ยืนมาตรการโค่นยางเก่าปีละ 4 แสนไร่ ตั้งทีมลงใต้ช่วยเหลือชาวสวนยางหลังน้ำลดนายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์และทิศทางราคายางพาราในขณะนี้ซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องว่า เป็นสาเหตุมาจากปริมาณการผลิตยางในตลาดลดน้อยลง และวงจรราคายางได้พ้นวงจรจุดต่ำสุดกิโลกรัมละ 30 บาทเศษ


ในเดือน ก.พ.-มี.ค. 2559 มาแล้ว สำหรับปริมาณยางในตลาดที่ลดลงนั้น เป็นผลจากประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสามประเทศที่ผลิตยางได้ 70% ของผลผลิตโลก ตกลงร่วมกันลดปริมาณการส่งออกยางลง 7 แสนตัน/ปี กอปรกับพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ถูกน้ำท่วม ทำให้ผลผลิตกรีดไม่ได้ประมาณ 4 แสนตัน จึงทำให้ผลผลิตยางทั่วโลกหายไป 8.8% หรือประมาณ 1.1 ล้านตัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทำให้ราคายางดีดกลับขึ้นมา ถือว่าเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิดไว้



"ปกติแล้วผลผลิตยางจะเกินความต้องการอยู่ปีละ 4-5% แต่เมื่อสามประเทศตกลงลดการผลิต และภาคใต้เกิดน้ำท่วมสวนยางเสียหายหนัก ราคายางจึงสูงขึ้นอย่างเร็ว แต่เรื่องนี้เป็นผลดีในระยะสั้น ส่วนในระยะยาวต้องระวัง ไม่เป็นผลดี ฉะนั้นเกษตรกรต้องดูให้ดี อย่าไประดมปลูกยางเพิ่มมากเกินไป เพราะจะทำให้ราคากลับมาตกลงอีก ต้องทำจุดสมดุล ราคาไม่สะวิง ให้มีเสถียรภาพด้านราคา อย่างไรก็ดี ราคายางปี 2560 จะดีกว่าปี 2559 แน่นอน" นายธีธัชกล่าว



ผู้ว่าการ กยท.กล่าวต่อว่า ในปีนี้ กยท.มีมาตรการควบคุมการปลูกยางเหมือนเดิม คือ 1.ส่งเสริมการโค่นยางเก่าปีละ 4 แสนไร่ เป็นเวลา 7 ปี เริ่มดำเนินการมาแล้ว 1 ปี เมื่อโค่นแล้วจะส่งเสริมปลูกยางพันธุ์ดีที่ให้น้ำยางมาก กับปลูกพืชอื่นทดแทน โดยให้เงินสนับสนุนไร่ละ 1.6 หมื่นบาท เงินนี้ไม่ต้องเอามาคืน 2.สนับสนุนสินเชื่อแก่ชาวสวนยางที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมภาคใต้ ทำให้ขาดรายได้ เงินทุนหมุนเวียนขาดแคลน โดยจะสนับสนุนเงินทุนด้านการตลาด ให้สวัสดิการช่วยเหลือต่าง ๆ แก่สมาชิกที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. "หลังน้ำลดแล้ว กยท.จะส่งเจ้าหน้าที่ลงสำรวจความเสียหายพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด และให้การช่วยเหลือ โดยดูจากขนาดยาง ซึ่ง กยท.จะแบ่งเป็นยางเล็กมีอายุไม่เกิน 2 ปีครึ่ง ยางขนาดกลางที่จะทนน้ำท่วมได้ประมาณ 20 วัน และยางขนาดใหญ่ที่จะทนน้ำท่วมได้ 30-40 วัน จะช่วยเหลือแตกต่างกันไป" มาตรการที่ 3.สร้างตลาดใหม่และส่งเสริมการแปรรูปยาง เช่น หมอนยางพารา หรือสินค้าก่อสร้าง แผ่นยางกันลื่น ยางปูสนามฟุตซอล ผลิตเป็นสินค้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เฝือกยาง หุ่นยางที่ใช้ในการสอนทางการแพทย์ เป็นต้น นอกเหนือจากมาตรการดังกล่าวแล้ว กยท.นำเงินกองทุนสงเคราะห์ที่ได้จากเงินเซส 35% คิดเป็นเงิน 2,000-3,000 ล้านบาท มาให้สมาชิกกู้ยืมตั้งโรงงานแปรรูปยาง ดอกเบี้ย 2% ต่อปี เพื่อช่วยชาวสวนยาง