ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ว่าฯอุดร สั่ง 2 โรงงานยางเหม็นลดสต็อก-ห้ามขนเข้า จนกว่าแก้หมดกลิ่น  (อ่าน 1194 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87656
    • ดูรายละเอียด

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่รถโมบายตรวจคุณภาพอากาศ ของกรมควบคุมมลพิษ ปักหลักตรวจเก็บตัวอย่างอากาศ ?กลิ่นเหม็นโรงงานยางแท่ง?
อยู่ที่บ้านจำปา ม.7 ต.หนองนาคำ อ.เมือง ห่างจากโรงงานยางแทงของ บ.ศรีตรังแองโกรอินดัสตี (มหาชน)จก. และ บ.วงษ์บัณฑิต จก. ด้านทิศเหนือ 700 เมตร โดยโรงงานยังคงเดินเครื่องจักร และชาวบ้านยังคงได้รับกลิ่นเหม็น ที่ชาวบ้านเรียกว่ากลิ่น ?หมาเน่า? และ ?ต้มปลาร้าไหม้? ในระดับ 2-3  ส่วนบริเวณลานตากยางก้อนถ้วย และยางเคป ภายในโรงงานของ บ.วงษ์บัณฑิต จก. นายเอกพจน์ มณีรัตน์ ผจก.โรงงานฯ ได้เร่งรัดขนยางก้อนถ้วย และยางเคป ออกจากโรงงานตามคำแนะนำ ด้วยการให้คนงานฉีดพ่น ?อีเอม? บริเวณกองยางก่อนนำรถตัก ตักยางขึ้นใส่รถบรรทุก แล้วใช้ผ้าใบปิดให้มิดชิด น้ำหนักรมคันละ 30 ตัน ขนไปยังปลายทางโรงงานที่ จ.สุราษฎรธานี ระยะทางมากกว่า 1,100 กม. โดยสามารถขนได้วันละ 20 คัน เป้าหมายขนออกมากกว่า 8,000 ตัน
201702161651042-20021028190339
ต่อมาเวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมหน้าห้องผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี , พล.ต.อำนวย จุลโนนยาง ผบ.มทบบ.24 อุดรธานี , นายสมหวัง พ่วงบางโพ รอง ผวจ. , นายอำเภอเมือง , อุตสาหกรรมจังหวัด , สิ่งแวดล้อมภาค 9 , ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด , สาธารณสุขจังหวัด และนายก อบต.หนองนาคำ ร่วมประชุมพิจารณาออกคำสั่งหลังลงพื้นที่หาข้อเท็จจริง โดยที่ประชุมได้ติดตามกรณีอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี ได้เคยออกคำสั่งให้โรงงานทั้งสอง ปรับปรุงระบบกำจัดกลิ่นจากปล่อง ที่โรงงานแจ้งว่าทำการปรับปรุงแล้ว จึงอยู่ระหว่างการตรวจติดตามผล จากรถโมบายตรวจคุณภาพอากาศ ของกรมควบคุมมลพิษ ที่กำลังดำเนินการจะใช้เวลา 7 วัน ส่วนกรมโรงงานอุตสาหกรรม จะส่งทีมศูนย์เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก เดินทางมาตรวจสอบในวันจันทร์นี้ เพื่อตรวจหาไฮโดรเจนซัสไฟส์ , แอมโมเนีย , สารอินทรีย์ระเหยง่าย และกรดไขมันระเหยง่าย เพื่อนำมาประกอบการออกคำสั่งเจ้าพนักงาน

ส่วนการพิจารณาเรื่องกลิ่นจาก กองยางก้อนถ้วยจำนวนมหาศาล และระบบบำบัดน้ำเสีย ที่มีความสัมพันกันทำให้กลิ่นรุนแรง ตั้งแต่น้ำเสียที่มากับยางก้อนถ้วย หรือ ?น้ำเซลัม? ส่วนหนึ่งถูกเทออกจากรถบรรทุก อีกส่วนไหลออกมาจากยางที่กองอยู่ มีความเข้มข้นมากมี บีโอดี.30,000 มิลลิกรัม/ลิตร และน้ำเสียที่เกิดจากระบบการผลิต มีปริมาณมากเกินความ ความสามารถของการบำบัด ประกอบกับตะกอนสะสมมานาน ทำให้ระบบบำบัดล้มเหลว จะต้องทำการแก้ไขทันที</p>จากนั้น นายชยาวุธ ได้สั่งให้อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี มีคำสั่งตามความเห็นที่ประชุม โดยให้ บ.ศรีตรังแองโกรอินดัสตี้ จก. จ.อุดรธานี ดำเนินการ 1.ห้ามนำยางก้อนถ้วยเข้าโรงงาน จนกว่าจะทำการปรับปรุงบ่อบำบัดไร้อากาศ(AD)ภายในเวลา 15 วัน , 2.ขนย้ายยางก้อนถ้วยออกจากโรงงาน 5,000 ตัน ให้เหลือ 7,000 ตัน , 3. สูบเก็บน้ำเซลลัมที่เกิดจากกองยางใส่ภาชนะ ห้ามปล่อยเข้าสู่ระบบบำบัด จนกว่าจะปรับปรุงบ่อพักเสร็จ และ 4.ปรับปรุงบ่อพักเสร็จให้วิศวกรสิ่งแวดล้อมตรวจรับรองระบบ
201702161651044-20021028190339
ส่วนโรงงานยางแท่งของ บ.วงษ์บัณฑิต จก.มีคำสั่งให้ดำเนินการ1.ปรับปรุงวิธีการกองยางกลางแจ้ง ด้วยการแยกกองตามหลักวิชาการ ภายใน 30 วัน , 2. ขนย้ายยางก้อนถ้วย-ยางเคป ที่กองรวมกันอยู่ออกจากโรงงาน 8,000 ตัน ให้เหลือ 22,000 ตัน และ 3.ห้ามนำยางก่อนถ้วยใหม่เข้าโรงงาน จนกว่าการปรับปรุงกองยางจะแล้วเสร็จ โดยแจ้งคำสั่งให้โรงงานทั้งสองรับทราบโดยเร็ว” นายชยาวุธ กล่าว