ผู้เขียน หัวข้อ: **แนวคิดเกี่ยวกับการเก็บยางไว้ขายตอนหน้าแล้ง APR (เมย.)-JUNE (มิย.)**  (อ่าน 2325 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82398
    • ดูรายละเอียด
**แนวคิดเกี่ยวกับการเก็บยางไว้ขายตอนหน้าแล้ง APR (เมย.)-JUNE (มิย.)**


หลายๆ ครั้งมีบางอย่างที่ขัดกับ กฎ Demand & Supply โดยที่เราไม่เข้าใจและมีคนพยามหาผลประโยชน์จากจิตวิทยาตรงนี้ ที่ช่วงไม่มีวัตถุดิบราคาต้องแพง

แต่ในทางตรงกันข้ามในช่วงที่ของไม่มีกลับราคาถูกลงมา ตลาดล่วงหน้านั้นมองกลับกันวัตถุดิบในหน้าแล้งจะมีราคาแพงจริง แต่มันแค่แพงกว่าราคาที่ซื้อขายกันในตลาดไม่นับกับ Level ราคาที่ลดลงมา (มักจะมีราคาบวกจากป้ายประกาศ)
ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ   ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ
เพราะอะไร?? ส่วนใหญ่ Trader (นักเก็งกำไร) หรือ End User (ผู้ใช้จริง) จะพยาม Cover Position (ซื้อเพื่อปิดตัวที่กำไร หรือ ซื้อไปผลิตในเดือนๆ นั้น) ทั้งหมดก่อนหน้านี้แล้ว (ส่วนใหญ่ในช่วงเดือน FEB ของทุกๆ ปี) ดังนั้นช่วงราคาในเดือนนี้จะมีราคาแพงที่สุด และของเยอะที่สุด หลังจากเดือน FEB ที่เป็นช่วงปลายของ Peak Season (เดือนที่มีของออกมาสู่ตลาดมาก) นั้นเอง หลังจากที่ซื้อยางกันจนเต็ม หรือเกือบเต็มแล้วราคาก็ย่อมลดลงเป็นธรรมดา

* ข้อมูลจาก SICOM TSR20 (ยางแท่ง) ปี 2011-2017
2011 FEB ($517) แพงกว่า APR ($457)
2012 FEB ($376) แพงกว่า APR ($366)
2013 FEB ($288) แพงกว่า APR ($247)
2014 FEB ($185) แพงกว่า APR ($171)
2015 FEB ($135) ถูกกว่า APR ($147)
2016 FEB ($113) ถูกกว่า APR ($151)
2017 FEB ($208) แพง/ถูก กว่า APR ** ยังไม่มา

* การฝากยางในช่วงที่ยางล้น มาจากการขายสดหรือล่วงหน้า เดือน FEB จึงมีความเสี่ยง
* การเล่น Position Long หลังจากเดือน FEB ก็มีความเสี่ยง

แนวคิดดังกล่าวเป็นความเห็นส่วนตัวที่อาจจะทำให้หลายคนมองภาพในอีกแง่มุมนึง

ขอบคุณบทความดีๆจาก น้ำตาสีขาว ทุกสิ่งเกิดจากดิน กลุ่มธุรกิจยางพาราไทย ลงวันที่ 25/3/60
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 25, 2017, 09:45:54 PM โดย Rakayang.Com »