แนวคิด>>เรื่องประเด็นการจะเสนอปรับเปลี่ยน รูปแบบและอัตราการเรียกเก็บเงินมาเป็นแบบคงที่ ในอัตรา 2 บาท/กก.
นายธีธัช สุขสะอาด
ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท. เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาเห็นชอบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกยางพารา (เงินเซส) ในอัตราคงที่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 2 บาท จากเดิมที่มีการเก็บเงินเซสในอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได ที่มักประสบปัญหาผู้ส่งออกพยายามกดราคารับซื้อจากเกษตรกร รวมทั้งพยายามบิดเบือนกลไกราคายางในตลาดให้ต่ำลงกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อที่จะได้จ่ายเงินเซสถูกลงอย่างไรก็ตาม หากเปลี่ยนมาจัดเก็บเงินเซสในอัตราคงที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปได้ เนื่องจากอัตราดังกล่าวเป็นการชี้นำระดับราคาให้มีเสถียรภาพในกรอบราคายาง กก.ละ 70 - 80 บาท ซึ่งจะช่วยสร้างความเป็นธรรมเรื่องราคาให้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกันผู้ส่งออกจะได้ทราบถึงต้นทุนที่แท้จริง และมีความมั่นใจต่อการเสนอราคาซื้อขาย โดยเฉพาะการซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งสามารถวิเคราะห์คำนวณค่าธรรมเนียมได้ทันที ลดความยุ่งยากในการยื่นเอกสารการส่งออกนอกจากนี้จะเป็นการลดปัญหาการเก็งกำไร การกดราคารับซื้อจากเกษตรกร และ กยท.เองก็จะมีความชัดเจนด้านงบประมาณที่จะใช้ในการสนับสนุน ส่งเสริมเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง มากขึ้นอีกด้วย?การจัดเก็บเงินเซส ในอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได ปี 2559 กยท.สามารถจัดเก็บเงินเซสได้ประมาณ 8,000 ล้านบาท แต่มักประสบปัญหาที่ผู้ส่งออกกดราคารับซื้อยางจากเกษตรกร หรือบ่อยครั้งที่นำยางออกมาทุ่มตลาด โดยมีเป้าหมายให้ราคายางตกต่ำลง เพื่อที่จะได้จ่ายเงินเซสในราคาที่ถูกลง ที่ประชุมคณะกรรมการ กยท. จึงเตรียมเสนอ ครม. เพื่อปรับรูปแบบมาจัดเก็บเงินเซสในอัตราคงที่ ซึ่งจากการวิเคราะห์ของ กยท.เห็นว่า การจัดเก็บเงินเซสในรูปแบบใหม่นี้ น่าจะได้รับเงินใกล้เคียงกับรูปแบบเดิม ประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ กยท.แต่อย่างใด? นายธีธัช กล่าว
อีกมุมผู้เสนอแนะ
เรื่องประเด็นการจะเสนอปรับเปลี่ยนรูปแบบและอัตราการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักรตามที่ กยท.เตรียมจะเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาเห็นชอบโดยเปลี่ยนวิธีการเรียกเก็บจากรูปแบบอัตราก้าวหน้ามาเป็นแบบคงที่ในอัตรา 2 บาท/กก.นั้นชาวสวนยางขอเสนอรูปแบบการเรียกเก็บแบบใหม่ต่อ กยท.เพื่อพิจารณารูปแบบใหม่นี้เรียกว่า"การเรียกเก็บอัตราคงที่แบบก้าวหน้า"โดยเริ่มต้นเก็บในอัตรา 3 บาท/กก.วิธีการ ก็คือการเรียกเก็บเงินเซส โดยเริ่มต้นที่ราคายาง 81 บาท/กก.ขึ้นไป และเริ่มต้นที่ 3 บาท/กก.เหตุผล...เนื่องจากการเรียกเก็บเงินเซสไม่เคยคำนึงถึงต้นทุนการผลิตของผู้ผลิต คือชาวสวนยาง เลยจึงต้องมาตั้งราคาต้นทุนในการผลิตที่ผู้ผลิต (ชาวสวนยาง)จะต้องไม่ขาดทุน คือ...
1. ราคายางต่ำกว่า 80 บาท/กก.ไม่ต้องมีการเรียกเก็บเงินเซส
2. ราคายาง 81 - 100 บาท/กก.เรียกเก็บในอัตรา กก.ละ 3 บาท
3. ราคายาง 101 - 120 บาท/กก.เรียกเก็บในอัตรา กก.ละ 4 บาท
4. ราคายาง 121-150 บาท/กก.เรียกเก็บในอัตรา กก.ละ 6 บาท
5. ราคายาง 150 บาท ขึ้นไปเรียกเก็บในอัตรา กก.ละ 10 บาท
แบบนี้ น่าจะดีกว่าน่าจะเข้าท่ากว่าแบบที่พวกท่านบอร์ด ผู้ว่าการการยางและพวกพนักงานของ กยท.ซึ่งเป็นเสือ(...)นอนกินคิดกันขึ้นมาซึ่งเป็นแบบอัตราคงที่ ตายตัวราคายางจะสูง จะต่ำ ก็ไม่ว่าแต่ขอเก็บค่าหัวคิว กก.ละ 2 บาทขาดตัว แบบดีดลูกคิดรางแก้วแต่ละปีก็เอาปริมาณยาง ? ค่าเงินเซสนอนอ้าปาก ผึ่งพุง กันแบบสบายๆรอได้เลยส่วนชาวสวนยาง จะเป็นจะตายยังไงชั่งหัวมันอย่างนั้น มันไม่แฟร์นะครับที่มา ศูนย์ข้อมูลข่าวสารชาวสวนยาง