ผู้เขียน หัวข้อ: ?พาณิชย์? ลุยแก้ ทุเรียนระยอง ล้นตลาด ในเดือน พ.ค.นี้  (อ่าน 4594 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82293
    • ดูรายละเอียด
?พาณิชย์? ลุยแก้ ทุเรียนระยอง ล้นตลาด ในเดือน พ.ค.นี้

[/size][/font]
[/font][/color]
[/size][/color]
[/size]http://www.traffic-sharing.com/static/[/color]
[/size][/color]
[/size]เมื่อวันที่ 12 มี.ค 2560 น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และนางวรัญญา ถนอมพันธ์ พาณิชย์จังหวัดระยอง เดินทางไปพบเจ้าของผู้ส่งออกและเจ้าของสวนทุเรียนรายใหญ่ เพื่อติดตามสถานการณ์ผลไม้ฤดูกาลผลิตปี 2560 ในพื้นที่ จ.ระยอง ณ ตลาดผลไม้เขาดิน หมู่ 2 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง โดยมีนายอำเภอแกลง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง พร้อมเจ้าของตลาดผลไม้เขาดินและเจ้าของสวนทุเรียนใน อ.แกลง ให้การต้อนรับและเสนอปัญหาเรื่องทุเรียนอ่อน พร้อมเดินทางไปชมสวนทุเรียน ที่หมู่ 7 ต.กองดิน[/color]
[/size] [/color]
[/size]น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องผลผลิต ปีนี้จึงต้องมีการวางแผนในช่วงเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นเดือนที่มีผลผลิตออกสู่ตลาด เรื่องปริมาณผลผลิตและมีวิธีการบริหารจัดการ ขณะนี้รัฐบาลมีวิธีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ซึ่งจะต้องพูดคุยกับปลัดกระทรวงเกษตรฯ และปลัดกระทรวงมหาดไทย จะมีการบริหารจัดการทุเรียนในภาคตะวันออกอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งในปีที่ผ่านมาเราใช้วิธีใครทำสัญญากับใครต้องมาแจ้ง เพื่อที่จะให้ปฏิบัติตามสัญญา[/color]
[/size] [/color]
[/size]ปัญหาปีที่แล้วเกิดจากเจ้าของสวน สวนหนึ่งมีหลายสัญญา ล้งหนึ่งก็มีหลายสัญญา ฉะนั้น ในปีนี้จะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจนและตรงกัน พี่น้องเกษตรกรจะได้รับการดูแลการปฏิบัติตามสัญญาที่ชัดเจน จากการลงพื้นที่จะเห็นว่ามีทั้งทำตามสัญญาและขายตามตลาดผลไม้เขาดิน ซึ่งเป็นตลาดกลางที่รับซื้อทุเรียนและผลไม้อื่นๆ นอกจากเรื่องสัญญาแล้ว ก็เป็นเรื่องคุณภาพและเรื่องการตัดทุเรียน เพื่อรักษาชื่อเสียงคุณภาพของลูกค้าเรา[/color]
[/size] [/color]
[/size]ขณะนี้เกษตรกรเริ่มมีการพัฒนาการผลิตตัดดอก แต่งกิ่ง เพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดที่ยาวนานขึ้น ซึ่งจะทำให้ลดปริมาณผลผลิตที่ออกมากในช่วงเดือน พ.ค. คือช่วงระยะเวลาที่ผลผลิตเคยออก 2 เดือน ก็จะกลายเป็น 6 เดือน ดังนั้น ผลผลิตจะทยอยออกสู่ตลาดในปริมาณที่ไม่ทำให้ล้นตลาด ทำให้การดูแลเรื่องราคาเป็นไปตามกลไกของตลาดเอง[/color]