ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวสวนยาง 16 จ.ใต้ จ่อนำ 3 ประเด็นเสนอรัฐ บ่นอุบให้ปลูก "ผัก-กล้วย" แซมยาง ก็ล้นตลาด-ราคาตก  (อ่าน 718 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87620
    • ดูรายละเอียด

ชาวสวนยาง 16 จ.ใต้จ่อนำ 3 ประเด็นเสนอรัฐบ่นอุบให้ปลูก"ผัก-กล้วย" แซมยางก็ล้นตลาด-ราคาตก


ชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ จ่อนำ 3 ประเด็นใหญ่เสนอรัฐบาลแก้ปัญหา เตรียมประชุมใหญ่ 22 ก.ค.นี้ที่สุราษฎร์ ขอนำผลไม้ไปขายตลาดนายกฯแก้ปัญหาราคาตก


เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 15 กรกฎาคม ที่ห้องประชุมอาคารคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี


นายสุนทร รักษ์รงค์
นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และเลขาสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.)
ได้ประชุมคณะกรรมการสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ จากตัวแทน จ.ชุมพร , นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานีเข้าร่วมประชุม 9 คน โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนหน่วยงานทหาร ตำรวจและฝ่ายปกครอง เข้าร่วมรับฟัง ซึ่งมี พ.ต.อ.สมบัติ ฉ่ำแสง ผกก.สภ.ขุนทะเล เข้าร่วมด้วย


ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมจัดประชุมใหญ่สามัญของสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และจัดเวทีเสวนา?ปฏิรูปการยางไทย?ที่บ้านเบื้องแบบ ต.บ้านทำเนียบ อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ในวันที่ 22 ก.ค.60 นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีเกษตรกรชาวสวนยางไปร่วมจำนวนมาก


นายสุวิทย์ ทองหอม
ที่ปรึกษาเครือข่ายคนกรีดยางพาราแห่งประเทศไทยและตัวแทนชาวสวนยาง จ.ตรัง กล่าวว่า ต้องการสะท้อนให้นายกรัฐมนตรี
ได้เข้าใจคนกรีดยางที่ควรได้รับการช่วยเหลือทั่วถึง เพราะคนกรีดยางก็คือเกษตรกร และมองว่ารัฐบาลเกิดความผิดพลาดที่ออกนโยบายนำยางพาราออกมาใช้แต่หน่วยงานต่างๆไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งชาวสวนยางพยายามอดทนไม่เป็นตัวถ่วงอยากให้รัฐบาลได้ทำงาน
กลายเป็นว่าสิ่งที่รัฐบาลส่งเสริมอาจจะดีแต่ไม่มีการติดตามไม่มีตลาดรองรับ

?ชาวสวนยางพากันปลูกผักในร่องสวนยางตามนโยบาย ปลูกกล้วยจนล้นตลาดราคาเหลือเครือละ 20 บาททั้งราคาผลไม้ กลายเป็นการส่งเสริมให้โค่นต้นยางแต่ไม่ติดตามงานนโยบาย อีกทั้งโรงงานผลิตยางที่นอนยางพารารัฐบาลก็ไม่สนับสนุนให้ได้ใช้ ซึ่งจริงๆไม่มีใครอยากออกมาเคลื่อนไหวและไม่อยากโดนคดีอีก?
นายสุวิทย์ กล่าว

นายสุวิทย์ กล่าวและว่า
ขณะนี้อาชีพเสริมชาวสวนยางราคาตกต่ำ เช่น มังคุด เหลือกิโลกรัมละ 12 บาทจึงต้องดิ้นรนหาตลาดเอง จึงอยากให้รัฐบาลได้เปิดพื้นที่ตลาดคลองผดุงกรุงเกษมที่ข้างทำเนียบ ให้ชาวสวนยางได้นำผลผลิตผลไม้ไปเปิดขาย ซึ่งเป็นข้อเสนอเชิงบวก เพราะถือว่าการไปปิดถนนแก้ปัญหาไม่ได้ จึงขอให้เกษตรกรได้นำไปขายมีรายได้มาซื้อกะปิ น้ำปลามีรายได้ใช้จ่ายในครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่ต้องการเยียวยาแก้ไข

นายสมปราชญ์ วุฒิจันทร์
ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวว่า การจัดประชุมตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางเป็นแนวทางยุทธวิธีแก้ปัญหาไม่ใช่กลุ่มที่มุ่งเน้นเรื่องราคา แต่หัวใจหลักคือทางรอดของพี่น้องเกษตรกรและใช้หลักวิชาการในการแก้ปัญหา
รวมทั้งเรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องใหญ่มาก ซึ่งทาง จ.สุราษฎร์ธานี เคยมอบให้นายอำเภอคีรีรัฐนิคม เข้ามาช่วยเรื่องที่ดินของชาวบ้านเบื้องแบบ ต.บ้านทำเนียบ อ.คีรีรัฐนิคม ยังไม่มีความก้าวหน้าในการพิสูจน์เอกสารสิทธิ์

พ.ต.อ.สมบัติ ฉ่ำแสง
ผกก.สภ.ขุนทะเล กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการสร้างสรรค์มีเจตนาช่วยเหลือชาวสวนยางจากปัญหากระทบวิถีชีวิตเกษตรกรโดยทั่วไป ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีนโยบายสกัดกั้นจึงอยากให้เกิดการประชุมด้วยความเรียบร้อยและไม่อยากให้เกิดความหวาดระแวงต่อกันจนเกิดความไม่เข้าใจกัน เพราะตำรวจกับประชาชนก็คือพี่น้องกันครอบครัวมีอาชีพทำสวนยางเช่นกัน

สำหรับการจัดประชุมใหญ่และมีการเสวนาที่ อ.คีรีรัฐนิคม ในวันที่ 22 ก.ค.60 ขอแนะนำให้ทำหนังสือขออนุญาตต่อทางอำเภอและตำรวจท้องที่ให้เรียบร้อยก่อน

ด้าน นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และเลขาสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมใหญ่ของสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ ในวันที่ 22 ก.ค.นี้
จะนำเสนอข้อมูลให้รัฐบาลพิจาณาใน 3 ประเด็น 1 ยุทธศาสตร์การใช้ยางในประเทศ จะขอให้รัฐบาลออกนโยบายใช้ยางในประเทศภายใน 5 ปี ให้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์จากผลผลิตประเทศปี 4 ล้านตัน โดย 2 ปีแรกให้ใช้ให้ได้ 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถไปต่อสู้ราคากับตลาดกระดาษ(ตลาดซื้อขายล่วงหน้า)ได้อย่างแน่นอน

นายสุนทร กล่าวว่า ประเด็นที่ 2 ยุทธศาสตร์คุณภาพชีวิตชาวสวนยาง จาก พรบ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 ซึ่งเดิมคิดว่าเป็นที่สิ่งที่ดีต่อเกษตรกรกลับกลายเป็นการรวบอำนาจไม่เกิดการมีส่วนร่วมของเกษตรกรอย่างแท้จริง เช่น เรื่องสวัสดิการ เรื่องการจดทะเบียนเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์และเรื่องอื่นๆที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ พรบ.เรื่องนี้ กยท.ต้องแก้ไข

? และประเด็นที่ 3 ทำสวนยางอย่างยั่งยืน เสนอให้เปลี่ยนการทำสวนยางเป็นป่ายางในพื้นที่ป่า 15 ล้านไร่ ซึ่งไม่ใช่ 3 ล้านไร่ที่นายกรัฐมนตรีเข้าใจ ถ้าลดจำนวนต้นยางเหลือ 59 ต้นต่อไร่ โดยปลูกไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ 40 ต้นต่อไร่ จะทำสวนยางกลายเป็นป่าเศรษฐกิจและจะทำให้ต้นยางในพื้นที่ป่า 15 ล้านไร่ลดลง 20เปอร์เซ็นต์เหมือนกับพื้นที่ปลูกยางในเขตป่าลดลง 3 ล้านไร่
และให้ชาวสวนทำเกษตรแบบผสมผสานเชื่อว่าจะสามารถอยู่ได้เชื่อมั่นว่าราคายางจะมีเสถียรภาพกิโลกรัมละ 70-90 บาท ?
นายสุนทร กล่าว

ที่มา มติชนออนไลน์