ผู้เขียน หัวข้อ: แฉปิดตลาดเอื้อนายทุนตกเขียวยาง -เรียกร้อง"ฉัตรชัย" รับผิดชอบ  (อ่าน 631 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87620
    • ดูรายละเอียด
แฉปิดตลาดเอื้อนายทุนตกเขียวยาง -เรียกร้อง"ฉัตรชัย" รับผิดชอบ

ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากการที่ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. เปิดโต๊ะแถลงข่าวประเด็นสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำอ้างว่าเป็นการขึ้นลงตามกลไกตลาดโลก ตรงนั้นไม่ว่ากัน
แต่ทำไมบริหารกันแบบไหนจึงทำให้ระบบตลาดกลาง ซึ่งเป็นตลาดอ้างอิงราคาซื้อขายจนนำไปสู่การปิดตลาดกลางเป็นข่าวดังทั่วโลกในขณะนี้ ทำให้ภาพดูเหมือนว่าผลผลิตยางในประเทศล้น เป็นภาพเชิงลบอย่างมาก นับว่าเป็นการบริหารงานที่ผิดพลาด
ที่ผ่านมาทางเครือข่ายฯพยายามเสนอแก้ปัญหา แต่ไม่ฟัง!! ส่งผลทำให้เกิดกระแสต่อต้านผู้บริหาร กยท.โจมตีมากมายว่าเป็นตัวการทำลายระบบตลาดกลาง และที่มีปัญหามากก็คือ การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน จำกัด ที่ทำลายระบบตลาด จนต้องหยุดการประมูล และเกิดการประมูลล่ม
"ผมตั้งข้อสังเกต 4 ประเด็น 1.บริษัทร่วมทุนใช้อภิสิทธิ์ในการฉีกระเบียบตลาดกลางยางพารา โดยไม่นำยางที่ประมูลได้ขนออกจากตลาดภายใน 3 วัน ส่งผลทำให้เกิดยางล้นเพราะไม่มีที่ว่างให้ซื้อขายในตลาดได้ 2.จงใจที่จะประมูลสูงเกินความเป็นไปได้ของตลาดหรือบิดเบือนความต้องการของตลาด ราคาสมดุล
3. การสร้างช่องว่างของราคาประมูล เพื่อให้เกิดปัญหา ราคากลางของแต่ละวัน 4.การประมูลตลาด ยะลา บุรีรัมย์ ที่สูงมาก เพื่อใคร การกระทำดังกล่าวของบริษัทร่วมทุนทำให้เกิดปัญหานำไปสู่เกษตรกรถูกพ่อค้าราคาจากภายนอกตลาด"
นายธีระชัย บริษัทร่วมทุน สร้างปัญหาครั้งนี้ใหญ่หลวงมาก ไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ การทำลายตลาดกลาง จนเป็นอัมพาธ เพราะยางแผ่นดิบ เมื่อเกษตรกรตัดสินใจที่จะนำยางมาเข้ามาขายในตลาดแล้ว
แต่บางวันเจอราคายางขาลง หรือถ้าซวยสุดวันนั้นตลาดกลางยกเลิกประมูล อ้างว่าราคาต่ำหรือสูงกว่าตลาด 2 บาทจำเป็นต้องยกเลิก เมื่อถูกยกเลิกเกษตรกร ก็กลัวปัญหายางแผ่นดิบที่บรรทุกใส่รถเสียหายตกเกรด หรือเหนียว จึงจำเป็นต้องยอมขายราคาพ่อค้าที่คอยตกเขียว "ผมถามว่าใครได้ประโยชน์ นี่คือขบวนการนอกระบบ ส่วนราคากลางกำหนดเป็นเรื่องที่ดี แต่จะต้องแก้ไข เช่น ไม่ควรกำหนดราคาจากภายใน 3 ตลาดถัวเฉลี่ย ควรหาวิธีใหม่ที่ดีกว่านี้ แต่ท้วงติงก็ไม่ฟัง"สำหรับนโยบายหมื่นล้านในโครงการต่างๆก็ยังไม่ชัดเจนหลายเรื่อง เช่น เงินประกันโครงการ ใครจ่าย จนบัดนี้กู้เพิ่มก็ไม่ได้ กยท.ทำงานในฐานะเลขาโครงการฯ ทำงานล่าช้า มัวแต่ทำอีเว้นเรื่องประชุม มากกว่าการปฏิบัติงานหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนเงินโครงการชวยเหลือผู้ประกอบการน้ำยางข้น มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่กี่บริษัท ประโยชน์ไม่ตกถึงเกษตรกร
ส่วนโครงการสินเชื่อผู้ประกอบกิจการยาง( ยางแห้ง) สองหมื่นล้านอีก เช่นเดียวกัน ถามว่ามีประโยชน์ตรงไหนกับเกษตรกร สองโครงการนี่อุ้มนายทุน!! ส่วนโครงการสินเชื่อสถาบันเกษตรกร ทาง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เริ่มทวงดอก แล้วในหลายจังหวัด นี่เป็นข้อสังเกตว่าสองมาตรฐาน
นายธีระชัย เผยว่า ตามที่ที่เครือข่ายประชุมที่สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา ได้มีมติและเสนอผ่านผู้ว่าการการยางฯ 5 ข้อ จะต้องปฏิบัติ จะแก้ปัญหาตลาดกลางได้ อย่าเล่นปาหี่ อีกเลย อย่าใช้หน่วยธุรกิจ หรือบียู ทำลายเหมือนใช้บริษัทร่วมทุน ทำลายตลาด จนนำไปสู่ช่องว่างราคา ทำให้เกิดการหาผลประโยชน์ บนคราบน้ำตาชาวสวนยางอีกเลย
ผู้รับผิดชอบ ? "โครงการ" ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้ง "บริษัทร่วมทุน"หรือ "ตลาดล่ม" "ปิดตลาดกลาง" และ "เงินกู้" ที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ถึงเกษตรกร โดยผู้รับผิดชอบสูงสุดคือ ผู้กำกับดูแล คือ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ต้องรับผิดชอบ!!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 03, 2017, 08:23:15 AM โดย Rakayang.Com »