ผู้เขียน หัวข้อ: ยางพาราไทย : ?3 ยุทธศาสตร์? ที่ต้องใช้ปัญญาและความเพียร..ฝ่าวิกฤตราคายางครั้งนี้ไปได้ไหมประเทศไทย?! / ยุทธิยง ลิ้มเลิศวา  (อ่าน 616 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82038
    • ดูรายละเอียด
ยางพาราไทย : ?3 ยุทธศาสตร์? ที่ต้องใช้ปัญญาและความเพียร..ฝ่าวิกฤตราคายางครั้งนี้ไปได้ไหมประเทศไทย?! / ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที


เผยแพร่: 7 ธ.ค. 2560 12:38:00   โดย: MGR Online
มีการพูดถึงความลำบากของพี่น้องชาวสวนยางว่า ลำบากกันแสนสาหัส เพราะชีวิตแขวนไว้กับราคายาง ต้นปียางแผ่นราคา 95 บาท/กก. มาปลายปีราคาเหลือ 43 บาท/กก. น้ำยางสดต้นปีเคยขึ้นมาถึง 80 บาท/กก. ปลายปีลงมาต่ำสุด 40 บาท/กก. ยางก้อนถ้วย(เศษยาง)ต้นปีเคยสูง 80 บาท/กก. ปลายปีลงมาต่ำสุด 32 บาท/กก.

แน่นอนว่าชีวิตทางเศรษฐกิจย่อมต้องลำบาก อัตคัดขัดสนต่อการกินการใช้ที่ต้องพึ่งรายได้จากพืชยาง การใช้จ่ายในครอบครัวย่อมฝืดเคือง ในตลาดสดที่ภาคใต้บรรดาแม่ค้าผักปลาก็เหี่ยวเฉาตามไปด้วยทุกหย่อมหญ้า

ความจริงของชีวิตชาวสวนยางคือ รายได้จากการกรีดยางไม่พอต่อการยังชีพ แรงงานต่างด้าวที่กรีดยางบางแปลง บางสวน ต้องดิ้นรนไปทำงานอย่างอื่น วิ่งหนีออกจากสวนสวนยาง เพราะรายได้ไม่พอกิน

มีการพูดถึงประสิทธิภาพการทำงานของกลไกราชการ โดยเฉพาะ ?การยางแห่งประเทศไทย(กยท.)? ในเรื่องของความคาดหวังว่า ควรจะมี ?ทักษะ? และ ?ประสิทธิภาพ? ที่สูงกว่านี้?!
มีการให้เหตุผลจากนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลทางหลักเศรษฐศาสตร์ว่า ยางปลูกมาก ปลูกเกิน ทำให้ยางมีปริมาณล้นตลาด หรือเกิดสภาพ Over Supply

มีการให้ข่าวจากรัฐมนตรีเกษตรฯ ก่อนปรับ ครม.ว่า มีกลุ่มบริษัทใหญ่ทุบราคาเสนอขายล่วงหน้าที่ราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของชาวสวนยาง

จากข้อมูลที่เปิดเผยในสังคมของกลุ่มบริษัทค้ายางรายใหญ่ของประเทศ บางบริษัทขาดทุน 2,000 ล้านบาทบ้าง บางบริษัทก็ขาดทุนเกิน 3,000 ล้านบาทบ้าง

 รวมๆ แล้ววิเคราะห์ได้ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ไทยหมดเรี่ยวแรง ขาดแรงใจ จึงอ่อนเปลี้ยที่จะซื้อยางเช่นกัน!!

บริษัทผู้ผลิตล้อยางรถยนต์ของจีน ก่อนหน้านี้เคยสั่งซื้อยางสต็อกสินค้าล่วงหน้าครึ่งปี ทุกวันนี้การบริหารจัดการของผู้ผลิตล้อรถยนต์ของจีนเหล่านี้ก็สั่งกันเดือนต่อเดือน หรือสั่งซื้อล่วงหน้ากันน้อยเดือนมากขึ้น ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ

มาดูฝั่งกลุ่มผู้บริโภคยางของโลก ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ๆ สัญชาติยุโรป ญี่ปุ่น รวมไปถึงจีนและไต้หวัน ตลอด 4-5 ปีมานี้เขาแสวงหาโอกาสและช่องทางที่จะซื้อยางในราคาที่ถูกจากผู้ผลิตของประเทศไทยมาตลอด

บริษัทเหล่านี้ต้องซื้อให้ถูกเข้าไว้ กดราคาให้ต่ำเข้าไว้ เอาฐานราคาที่ต่ำสุดในรอบปีมาต่อรองเพื่อซื้อยาง LTC (Long term contract) กับบริษัทผู้ผลิตยางในประเทศไทย

สิ่งเหล่านี้พออนุมานให้เข้าใจกันได้ว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดวิกฤตราคายางพาราตกต่ำ!!





แล้วจะทำอย่างไรกันดีประเทศไทย เราจะทำอย่างไรจึงจะออกจากกับดักวังวนนี้ได้??

คงต้องร่วมคิดกันทุกฝ่าย แล้วถามหัวใจตนเองว่า เราจะยอมให้ประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่ง เราจะยอมให้ประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกพ่ายแพ้ไปอีกนานไหม?!
ในสายตาของผม ซึ่งเป็นลูกชาวสวนยางเล็กๆ คนหนึ่ง หากนับลูกหลาน ?คนนาบอน? ตั้งแต่รุ่นปู่ที่อพยพมาบุกเบิกยางในประเทศไทยเป็นต้นมา เผ่าพันธุ์จีนโพ้นทะเลของคนนาบอนมีส่วนปลูกยางพารารวมๆ กันคงไม่น้อยกว่าแสนไร่ ซึ่งเวลานี้กระจายไปยังท่าชนะ ละแม หลังสวน มาบอํามฤต ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ฯลฯ

ผมอยากจะร่วมคิดกันทั้งสังคมไทยและรัฐบาลว่า นับจากนี้เราจะกำหนด 3 ยุทธศาสตร์หลักทำให้เป็นจริงเป็นจังกันได้หรือไม่?!

เพื่อไม่ให้ประเทศไทยพ่ายแพ้ ผมไม่อยากเห็นความพ่ายแพ้ของคนไทยและรัฐบาลไทย!!
1. เราจะกำหนดเป้าหมายที่จะลด Supply หรือผลผลิตยางลงกันอย่างมีระบบ เพื่อลดปริมาณยางของโลก ซึ่งไม่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของชาวสวนยาง ลดต้นยาง ปลูกไม้ยืนต้นเพิ่มในสวนยาง สร้างป่ายาง หามาตรการเพิ่มแรงจูงใจให้ปลูกไม้อื่นเพิ่มในที่ดินที่พวกเขาปลูกยาง โดยทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ชาวสวนยางไม่ถูกปั่นทอน แผ่นดินได้ต้นไม้เพิ่ม ลดต้นยาง เพิ่มต้นไม้อื่น เพิ่มไม้สวน ไม้ยืนต้น ไม้ผล
เพื่อบอกกับโลกใบนี้ว่า เราได้กำหนดการลด Over Supply ลดปริมาณยางในตลาดโลกลง พร้อมๆ กับได้สร้างความยั่งยืนร่มเย็นให้แผ่นดินไทยของเราด้วยเช่นกัน
2. เราจะร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ โดยรัฐบาลภายใต้การนำของรองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นเจ้าภาพเชิญประชุมหารือภาวะพิเศษกับสภาไตรภาคียาง (International Tripatite Rubber Council - ITRC) เพื่อสานต่อร่วมมือกันอีกครั้ง จากการลงนามร่วมในแถลงการณ์บาหลีระดับรัฐมนตรี Bali Declaration 2001 ที่มีกลไกความร่วมมืออยู่แล้ว ซึ่งเราเรียกว่า บริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (International Rubber Consortium Limited -IRCO)
การประชุมครั้งสำคัญครั้งนี้ประเทศไทยเราจะเชิญทั้ง 8 ประเทศในอาเซียนที่ปลูกยางพารา ทั้งไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา ลาวและพม่า ร่วมหารือครั้งสำคัญนี้ด้วย

มาเลเซียอาจจะใส่ใจเรื่องนี้น้อย เพราะเขาเป็นประเทศบริโภคยางไปแล้ว เราก็จับมืออินโดนีเซียให้มั่น เพื่อให้ประเทศผู้บริโภคยางได้รู้ว่า ประเทศผู้ผลิตยางพาราจะส่งสัญญาณการค้ายางให้กับโลกรับรู้ใหม่ เพื่อยกระดับราคา แสวงหาความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพ ยางต้องไม่ต่ำกว่า 60 บาท/กก. บอกไปยังบริษัทผู้ผลิตล้อยางใหญ่ของโลกว่า

?บนความมั่งคั่ง ที่กดทับคุณภาพชีวิตชาวสวนยางที่ทรุดโทรม? ชาวสวนยางไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว เราจะร่วมกันสร้างสมดุลใหม่ของพืชเศรษฐกิจนี้อย่างจริงจัง และจะไม่ยอมให้ราคาตกต่ำไปกว่านี้?

3. เราจะนำพาการพึ่งตนเองของชาวสวนยาง สร้างการพึ่งตนเองในทุกมิติ เพื่อไม่ให้การกวัดแกว่งของราคายาง มีผลต่อคุณภาพชีวิตและรายได้ของครอบครัว นำศาสตร์ของพระราชาเป็นธงนำชีวิตชาวสวนยางรายย่อย 1 ล้านครอบครัว ปลูกพืชที่มนุษย์กินได้เสริม ไม้ดอก ไม้แดก ไม้ดื่ม ไม้ดม ควรงอกงามเพิ่มเสริมขึ้นในป่าสวนยาง มีปศุสัตว์ขนาดเล็ก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูพื้นบ้าน แพะ แกะ เพื่อมีภูมิคุ้มกัน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
เราจะร่วมมือกันสร้างความหลากหลายในรายได้ให้เกิดขึ้นในป่าสวนยาง ไม่ผูกชีวิตทางเศรษฐกิจไว้กับยางบนเส้นทางเดียวแบบที่ผ่านๆ มา





กับ ?3 ยุทธศาสตร์?ที่ว่านี้ ผมเชื่อมั่นว่าภายใต้วิกฤตราคายางของประเทศไทยในปัจจุบัน คนดีๆ ในรัฐบาลทำสิ่งเหล่านี้ได้ไม่ยาก

ผมภาวนขอให้เป็นเช่นนั้น..?!?!