ผู้เขียน หัวข้อ: อ่อนตัว กังวลเงินเฟ้อสหรัฐ  (อ่าน 361 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82379
    • ดูรายละเอียด
อ่อนตัว กังวลเงินเฟ้อสหรัฐ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2018, 04:55:27 PM »
อ่อนตัว กังวลเงินเฟ้อสหรัฐ


ลงซื้อ ขึ้นขาย
สรุปภาวะตลาดหุ้นไทยวานนี้
ตลาดหุ้นไทยทรงตัว โดยได้แรงหนุนหลักจาก PTT ที่ปรับขึ้นมา 32 บาท มีผลต่อดัชนี 9.1 จุด ขณะที่เห็นแรงเทขายทำกำไรในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ด้านตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ ส่วนใหญ่เปิดลบ ตามตลาดหุ้นสหรัฐ หลังนักลงทุนประเมินรายงานผลการประชุมเฟด ที่บ่งชี้เงินเฟ้ออาจเร่งตัวขึ้น ส่วนตลาดหุ้นจีนวันนี้กลับมาซื้อขายวันแรกหลังหยุดเทศกาลตรุษจีน

คาดการณ์ตลาดหุ้นไทยวันนี้
คาดดัชนีอ่อนตัวแนวรับ 1790/1800 จุด แนวต้าน 1804/1814 จุด โดยคาดได้แรงกดดันจากต่างประเทศ หลังรายงานผลการประชุมเฟดบ่งชี้ คาดอัตราเงินเฟ้อสหรัฐดีดตัวขึ้นในปีนี้ ขณะที่เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค. ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีวานนี้ พุ่งขึ้นถึง 6% ปิดที่ระดับ 2.95% สูงสุดในรอบ 4 ปี ขณะที่วันนี้จะมีการเปิดประมูลพันธบัตร รุ่นอายุ 7 ปี อีก 29 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งน่าจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นโลก ขณะที่วันนี้จับตารายงานผลการประชุม ECB ที่ประชุมไปเมื่อวันที่ 24 - 25 ม.ค.
ด้านสัญญาณทางเทคนิค  หากหลุดแนวรับบริเวณ 1800-1803 จุด มีโอกาสถอยกลับไปหาแนวรับ 1780/1760 จุดต่อไป

ประเด็นสำคัญวันนี้
1) ? สหรัฐ: รายงานผลการประชุมเฟดบ่งชี้ กรรมการส่วนใหญ่มองเศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่ง ขณะที่อัตราเงินฟ้อจะดีดตัวขึ้นในปีนี้ โดยจะเข้าสู่เป้าหมายของเฟดที่ 2% ในระยะกลาง พร้อมกับส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. ปีนี้ (ดูรายละเอียดในเล่ม)
2) + ไทย: เดือน ม.ค. 61 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวน 3,544,528 คน ขยายตัว 10.87%YoY ตามการขยายตัวของนักท่องเที่ยวเกือบทุกภูมิภาค ก่อให้เกิดรายได้ 188,890.60 ล้านบาท ขยายตัว 11.59%YoY
3) +/- ไทย: ตัวเลขการส่งออกเดือน ม.ค. โตถึง 17.6%YoY ดีสุดในรอบ 62 เดือน และดีกว่าตลาดคาดที่ 11.1% ส่วนการนำเข้าโต 24.3%YoY ขาดดุลการค้า 119.2
ล้านดอลลาร์
4) + โลก: มาร์กิต เผย PMI รวมภาคการผลิต และภาคบริการเบื้องต้น ของสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 55.9 ในเดือน ก.พ. สูงสุดในรอบ 27 เดือน จาก 53.8 ในเดือน ม.ค.ขณะที่ของยูโรโซน ปรับตัวลงสู่ระดับ 57.5 ในเดือน ก.พ. จากระดับ 58.8 ในเดือนม.ค. อย่างไรก็ดี ยังถือว่าอยู่ในระดับการขยายตัวที่แข็งแกร่ง

กลยุทธ์
        ขายลดพอร์ต/ถือเงินสด รอดูสถานการณ์

หุ้นแนะนำ เก็งกำไรระยะสั้น (Trading Buy ทางเทคนิค )
        หุ้นผลประกอบการดี CPALL AAV GUNKUL กลุ่มเรือ (BDI+2.6%) PSL