ผู้เขียน หัวข้อ: กสก. พร้อมจัดอบรมปรับเปลี่ยนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราสู่อาชีพใหม่ เผยยอดสมัครกว่า 9 พันรายแล้ว  (อ่าน 436 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

กสก. พร้อมจัดอบรมปรับเปลี่ยนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราสู่อาชีพใหม่ เผยยอดสมัครกว่า 9 พันรายแล้ว




กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--2561 ที่มา ThaiPR.NET ครีเอชั่น แอนด์ คลีน
 
กรมส่งเสริมการเกษตร เริ่มอบรมเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราสู่อาชีพใหม่ ในโครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน ณ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เผยมีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว จำนวน 9,434 ราย จาก ทั่วประเทศ
 

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ลดพื้นที่ปลูกยางพารา โดยตั้งเป้าไว้ที่ 700,000 ไร่ และมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร จัดฝึกอบรมอาชีพที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน ในเบื้องต้นวางแผนการส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกยางพาราปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำสวนยางพาราไปประกอบอาชีพอื่น โดยตั้งเป้าหมายในการลดพื้นที่ปลูกยางพารา จำนวน 150,000 ไร่ เพื่อลดปริมาณผลผลิตยางที่จะเข้าสู่ระบบ ลดความเสี่ยงจากราคายางที่ตกต่ำ เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และเป็นทางเลือกในการปรับเปลี่ยนมาสู่การทำอาชีพเกษตรกรรมใหม่ๆ
 
จากยอดผู้สมัคร 9,434 ราย ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ กับการยางแห่งประเทศไทยนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาอาชีพการเกษตรเป็นรายบุคคล พร้อมทำหลักสูตรรายบุคคลเพื่อฝึกอบรม โดยมีวิทยากรจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ร่วมให้ความรู้ตามหลักสูตรแผนพัฒนาอาชีพ โดยมอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอ เป็นผู้ดำเนินการจัดอบรม ณ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 1 วัน ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 เรื่องการวางแผนการผลิต โอกาสทางการตลาด และการลงทุน และครั้งที่ 2 จะเน้นด้านเทคโนโลยีการผลิต การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว ตลอดจนมาตรฐานการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ ประกอบไปด้วย 8 อาชีพ ได้แก่ อาชีพปลูกผัก พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล ไม้ยืนต้น สมุนไพร ประมง ปศุสัตว์ ทั้งนี้เกษตรกรที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการจะต้องเข้าร่วมการอบรมทั้ง 2 ครั้ง ถึงจะได้รับใบประกาศนียบัตรวิชาชีพ และจะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐต่อไป