ผู้เขียน หัวข้อ: 6 ตลาดยางไร้ปาฏิหาริย์ เปิดซื้อขายราคาเดียวยังผันผวน "ผู้ว่าการ" ขอใจเย็นๆ  (อ่าน 1183 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82374
    • ดูรายละเอียด
6 ตลาดยางไร้ปาฏิหาริย์ เปิดซื้อขายราคาเดียวยังผันผวน "ผู้ว่าการ" ขอใจเย็นๆ


Publisher : 18 August 2018

ในภาพอาจจะมี ข้อความ

ชาวสวนโวย กยท.ประกาศราคาเปิดตลาดซื้อขายยาง 6 ตลาดราคาเดียวผ่าน 4 วันยังไม่โงหัว "อุทัย" จี้ ใช้กฎหมายพาณิชย์-เกษตรบีบพ่อค้าห้ามซื้อตํ่ากว่าต้นทุน "เยี่ยม" วอนขอใจเย็นๆ ระบุตลาดกำลังปรับตัว "ไทยรับเบอร์" จี้เร่งเคลียร์ปิดบริษัทร่วมทุน

จากมาตรการใหม่ในการดันราคายางพาราของการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำโดยนายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการ กยท.ที่มอบหมายให้คณะกรรมการราคากลางได้ประกาศราคาเปิดตลาดซื้อขายยางพาราใน 6 ตลาดกลางของ กยท.ในยางชนิดเดียวกันในราคาเดียวกันแต่ละวัน โดยมีสูตรการคำนวณหลายองค์ประกอบ เช่น ราคายางทั้งในและต่างประเทศ ค่าเงินสกุลต่างๆ อัตราแลกเปลี่ยน ตลาดซื้อขายจริง และตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยมีกรอบควบคุมไม่ให้ราคายางตํ่าเกินไป เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นมานั้น


นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) เปิดเผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า สถานการณ์ราคายางพาราก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ในส่วนของ ราคายางแผ่นดิบอยู่ที่ 44.33 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ยางแผ่นรมควัน ราคา 46.57 บาทต่อกิโลกรัม ผ่านมา 4 วัน (2-5 ก.ค.) ราคายางเฉลี่ยปรับตัวลดลง 50 สตางค์ไปจนถึง  1.57 บาท/กก. แสดงว่ามาตรการนี้ไม่ได้ผลควรจะทบทวนใหม่ ทั้งนี้เห็นว่าวิธีจะสกัดยางพาราไม่ให้ตกตํ่า ควรจะใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ของกระทรวงพาณิชย์ และพ.ร.บ. ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ของกระทรวงเกษตรฯ ประกาศราคาแนะนำไม่ให้ผู้ค้ากดราคาชาวสวนยางตํ่ากว่าต้นทุน อีกด้านหนึ่งเสนอให้ตั้งโรงงานนํ้ายางข้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เพื่อดึงราคานํ้ายางก้อนถ้วยให้สูงขึ้นตามราคานํ้ายางสดที่ขณะนี้ขายอยู่ที่ 42 บาทต่อกก. ขณะที่ ราคายางก้อนถ้วยอยู่ที่ 33 บาทต่อกก.


ด้านนายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า ขอร้องให้ชาวสวนใจเย็นๆ เนื่องจากการประกาศราคาเปิดตลาดซื้อขายยางราคาเดียวกันใน 6 ตลาดราคาเดียว เป็นมาตรการใหม่ที่ใช้เป็นครั้งแรก ตลาดกำลังค่อยๆ ปรับตัว ค่อยเป็นค่อยไปราคาอาจจะสวิงบ้างเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก ส่วนบริษัทร่วมทุนยางพารา จำกัด ที่ กยท.ไปร่วมทุนกับเอกชนนั้นกำลังอยู่ในระหว่างการปิดบัญชี


ขณะที่นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (บมจ.) กล่าวว่า การปิดบัญชีของบริษัทร่วมทุนยางพาราหลังจากยุติแล้วได้เสนอผ่านนายเยี่ยมให้ใช้บริษัทบัญชีกลางตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส พร้อมกับชี้แจงรายละเอียดการขาดทุน รวมทั้งปริมาณยางในสต๊อกว่าเหลือเท่าไร จะเคลียร์กันอย่างไร เพื่อที่ทางบริษัทจะต้องนำไปชี้แจงกับผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์ด้วย

แหล่งข่าวจากวงการยาง เปิดเผยว่า กยท.ขายยางโดยการประมูลในปี 2559-2560 ได้ทำสัญญาซื้อขายให้บริษัทที่ประมูลได้ทั้งหมด 1.23 แสนตัน รับมอบแล้ว (ณ วันที่ 21 มิ.ย.61) กว่า 1 แสนตัน เหลือยางคงค้างที่ยังไม่มารับมอบ 2.37 หมื่นตัน จำนวน 6 บริษัท 12 สัญญา ได้แก่ 1. ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง 2. บมจ.ไทยฮั้วยางพารา 3. บจก.เอ็มทีเซ็นเตอร์เทรด 4. บจก.นอร์ท อีสรับเบอร์ 5. บจก.เซ็นจูรี่ไทร์ (ประเทศไทย) และ 6.บจก.กว๋างเขิ่น รับเบอร์ (ไทยเซาเทิร์น)  เหตุที่ยังไม่รับมอบเนื่องจากปัจจุบันราคายางตํ่ากว่าราคาที่ซื้อไว้จึงขอขยายระยะเวลารับมอบ

หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ3,381 วันที่ 8-11 กรกฎาคม 2561
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2018, 07:23:35 PM โดย Rakayang.Com »