ผู้เขียน หัวข้อ: เบรก'บิ๊กตู่'จ่ายค่าโง่กล้ายาง  (อ่าน 435 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82779
    • ดูรายละเอียด

เบรก'บิ๊กตู่'จ่ายค่าโง่กล้ายาง


หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2561 00:00:16 น.
 
ทำเนียบฯ * "วัชระ" ร้อง "บิ๊กตู่" เบรกจ่ายค่าโง่กล้ายางบริษัทยักษ์ใหญ่เกษตรโครงการยุคทักษิณ จี้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เหตุส่อไม่โปร่งใส
 
เมื่อวันพุธ เวลา 10.30 น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงาน ก.พ. นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อคัดค้านการตั้งงบประมาณราย จ่าย โดยกรมวิชาการเกษตร กระ ทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวนเงิน 211,748,700 บาท ซึ่งเป็นปีงบประมาณ 2562 เพื่อชำระเงินให้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ตนเองในฐานะผู้เสียภาษีขอ คัดค้านการนำเงินภาษีของประชา ชนไปจ่ายในคดีกล้ายางล้านไร่ 1,440 ล้านบาทแก่บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้ ซึ่งโครงการเกิดในสมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร


"ทั้งนี้ขอเรียกร้องให้นายกฯ ระงับการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระเงินดังกล่าว ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติ บัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันพรุ่งนี้ (30 ส.ค.) รวมถึงให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ ว่ามีการทุจริตหรือไม่ เพราะโครง การกล้ายางส่อไปในทางไม่โปร่ง ใส" นายวัชระระบุ
 
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ครม.มีมติเมื่อวันที่ 26 พ.ค.46 โดยกรมวิชาการเกษตรได้ออกประกาศการประกวดราคาให้บริษัทเอกชนยื่นประมูล ซึ่งปรากฏว่าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือซีพีชนะการประมูล ซึ่งต่อมากรมวิชาการเกษตรได้ทำสัญญากับซีพีให้ดำเนินการผลิตต้นกล้าพันธุ์ยางพารา ซึ่งต้องใช้ทั้งสิ้น 90 ล้านต้น ในวงเงิน 1,397 ล้านบาท เพื่อส่งมอบให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกภายในระยะเวลา 3 ปี (2547-2549) ซึ่งต้องมีการส่งมอบกล้ายาง 10 งวด แต่กระทรวงเกษตรฯ ส่งเพียง 8 งวด เหลืองวดที่ 9 และ 10 ที่มีปัญหาการส่งมอบจนเกิดการฟ้องร้องกัน
 
โดยกระทรวงเกษตรฯ ให้ยกเลิกสัญญาการส่งมอบกล้ายางระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับบริษัท ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้แก่ทั้งบริษัทและเกษตรกรที่รอรับกล้ายางอยู่จำนวนมาก เพราะช่วงก่อนที่สัญญาจะจบลงวันที่ 31 ส.ค.49 บริษัทไม่สามารถส่งมอบกล้ายางได้ตามสัญญาด้วยสาเหตุภัยธรรมชาติ จนทำยางชำถุงไม่ได้ จึงแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรรับทราบและขอต่อสัญญาการส่งมอบ จากวันที่ 31 ส.ค.49 เป็นวันที่ 15 เม.ย.-ก.ค.50 และพร้อมจะจ่ายค่าเสียหายตามสัญญา ซึ่งการขอต่อสัญญาครั้งนี้ บริษัทสามารถทำได้ตามสัญญาที่ระบุไว้ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัย
 
ต่อมาเมื่อกรมวิชาการเกษตร ได้หารือกับกระทรวงเกษตรฯ แล้ว ได้ทำหนังสือแจ้งบริษัทเมื่อ วันที่ 29 ส.ค.49 ว่ายินดีจะต่อ สัญญาให้ บริษัทจึงเร่งผลิตยาง ชำถุงที่ต้องเริ่มจากการจ้างเกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ จนถึงการติดตาที่ใช้ระยะเวลาประ มาณ 8 เดือน และบริษัทมีกล้ายางพร้อมจะส่งมอบแล้ว แต่กรมวิชาการเกษตรกลับมีหนังสือว่าขอยกเลิกโครงการนี้ และอ้างว่าไม่เคยมีหนังสือเพื่อขอต่อสัญญา จึงเป็นที่มาของการฟ้องร้องในครั้งนี้
 
ทั้งนี้ ศาลฎีกาสูงสุดได้ตัด สินให้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตรแพ้คดีแก่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือซีพี ที่เป็นคู่สัญญา โดยศาลฎีกาสูงสุดมีคำสั่งให้กระทรวงเกษตรฯ ต้องชำระค่าปรับกรณีผิดสัญญาส่งมอบกล้ายาง วงเงินทั้งสิ้น 300 ล้านบาท
 
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรได้เจรจากับ บริษัทเพื่อขอลดค่าปรับให้มากที่ สุด ก่อนที่จะตั้งเสนองบประมาณจากภาครัฐบาล โดยโครงการส่งเสริมการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ มีนายฉกรรจ์  แสงรักษาวงศ์ เป็นอธิบดีกรมวิชาการเกษตร.