ผู้เขียน หัวข้อ: กรีดยางไม่ถึงเส้นแบ่งกรีด 1 ล้านไร่สูญพันล้านต่อปี  (อ่าน 1153 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87601
    • ดูรายละเอียด
กรีดยางไม่ถึงเส้นแบ่งกรีด 1 ล้านไร่สูญพันล้านต่อปี
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
24 ต.ค. 2561 05:01 น.


กรีดยางไม่ถึงเส้นแบ่งกรีด 1 ล้านไร่สูญพันล้านต่อปี

ทั้งที่ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจด้านการผลิตน้ำยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก ไม่น่าเชื่อว่า คนไทยรู้จักกรีดยางมากกว่า 100 ปี...ยังกรีดยางไม่ถูกวิธี เลยกรีดได้ผลผลิตต่ำ เฉลี่ยแค่ไร่ละ 235 กก.ต่อปี
แต่ถ้ากรีดถูกวิธี...จะได้ผลผลิตเพิ่มมาไม่ต่ำกว่า 300 กก.
ดร.พิศมัย จันทุมา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถานีวิจัยยางฉะเชิงเทรา แนะถึงวิธีการกรีดยางเพื่อให้ได้น้ำยางมากขึ้น เป็นการกรีดยางตามหลักมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices)
?สิ่งที่ต้องรู้อันดับแรก ยาง 1 ต้น เมื่อได้อายุกรีด เราต้องเริ่มกรีดยาง 2 หน้า จะต่างจากที่เกษตรกรทำกัน เพราะส่วนใหญ่มักจะกรีดกันแค่หน้าเดียว? วิธีแบ่งหน้ากรีด 2 หน้า ดร.พิศมัย แนะ...กรีดหน้าแรก เริ่มจากวัดความสูงต้นขึ้นไปจากพื้น 1.50 ม. จากนั้นแล้วทำเส้นแบ่งเป็นแนวด้านหน้าไปถึงหลัง ยาว 30 ซม. ก่อนจะวางมีดกรีดหน้ายางลึกลงไปถึงเยื่อเจริญหรือเปลือก 2 มม. แต่ไม่ถึงเนื้อไม้หรือเท่าความหนาของเหรียญ 5 บาท กรีดลากยาวลงมาทำมุมรอยกรีด 30 องศา จากนั้นให้ตอกวางลิ้นรองน้ำยางให้เอียง 30 ซม. และวางถ้วยน้ำยางให้ต่ำจากรอยกรีด 10 ซม.
เมื่อกรีดยางจากด้านบนลงมาจนถึงโคนต้นแล้ว...คราวนี้ถึงเวลาทำหน้ากรีดที่ 2 ด้านตรงข้าม ทำแบบเดียวกับหน้ากรีดแรก
แต่ให้เปลี่ยนทิศทางการกรีดไปตามเข็มนาฬิกา หรือทางด้านซ้ายมือของรอยกรีดเดิม เท่านั้นเอง...อย่างอื่นทำเหมือนเดิม
แต่ละวันกรีดยางควรใช้เวลาไม่เกิน 6 ชม. ให้รีบเก็บถ้วยน้ำยาง เพราะหากทิ้งไว้นาน อาจจะมีสิ่งสกปรกปลิวลงถ้วย จะทำให้คุณภาพน้ำยางต่ำ ถูกกดราคา กรีดยางให้ถึงเส้นแบ่งหน้าหลัง.

และควรกรีดยาง 2 วัน หยุดกรีด 1 วัน หรือจะกรีด 3 วัน ควรหยุด 1 วัน ก็ทำได้...แต่ใน 1 เดือน ไม่ควรกรีดเกิน 20 ครั้ง
?หลักสำคัญอยู่ที่การปักมีดกรีด ต้องปักให้ถึงเส้นรอยแบ่งกรีดหน้า และลากกรีดให้มาถึงเส้นหลัง โดยไม่ให้น้ำยางไหลขาดช่วง ไม่สม่ำเสมอ เราได้คิดคำนวณมาแล้วว่า ถ้าลากเส้นกรีดขาดตอน ในพื้นที่ 1 ไร่ มียาง 80 ต้น จะทำให้เนื้อยางแห้งหายไป 3 กก. หากราคายางแห้งอยู่ที่ กก.ละ 50 บาท พื้นที่ปลูก 13 ไร่ จะสูญเสียรายได้ ไปวันละ 150 บาท ปีหนึ่งกรีดยาง 100 วัน จะสูญเสียรายได้ปีละ 15,000 บาท หากสวนยาง 1 ล้านไร่ จะสูญเสียรายได้ถึงปีละ 1,150 ล้านบาท?     ดร.พิศมัยเผยว่า จากการนำเทคนิคการกรีดยางแบบนี้ไปทดลองให้เกษตรกรในพื้นที่ จ.ตรัง เมื่อปี 2560 ปรากฏว่าได้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้น 42?58%
ชาวสวนยางหรือกลุ่มเกษตรกร สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่ 08-1838-3591.
ไชยรัตน์ ส้มฉุน