ผู้เขียน หัวข้อ: สหกรณ์สวนยางตรังย่ำแย่อาจต้องปิดตัวสิ้นปี เตรียมยื่นหนังสือ รมว.เกษตรฯ เร่งแก้ปัญหา  (อ่าน 728 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82347
    • ดูรายละเอียด
สหกรณ์สวนยางตรังย่ำแย่อาจต้องปิดตัวสิ้นปี เตรียมยื่นหนังสือ รมว.เกษตรฯ เร่งแก้ปัญหา

เผยแพร่: 7 ต.ค. 2562 17:11   ปรับปรุง: 7 ต.ค. 2562 17:17   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




ตรัง
- สหกรณ์กองทุนสวนยางใน จ.ตรัง หลายแห่งกำลังขาดทุนและอาจต้องปิดกิจการสิ้นปีนี้ เหตุจากราคายางที่ตกต่ำจนส่งผลต่อต้นทุนการผลิต เตรียมยื่น 4 ข้อเสนอต่อ รมว.เกษตรฯ เร่งแก้ปัญหาวันนี้ (7 ต.ค.) นายบรรจง จีนหมั้น ผู้จัดการสหกรณ์กองทุนสวนยางหนองคล้า ต.เขาวิเศษ จ.ตรัง กล่าวว่า การที่ราคายางตกต่ำจนเหลือแค่ กก.ละ 30 บาทเศษๆ ในขณะนี้ได้สร้างผลกระทบให้แก่สหกรณ์สวนยางอย่างมาก อย่างสหกรณ์หนองคล้า รับซื้อน้ำยางจากเกษตรกรมา กก.ละ 33 บาท แล้วนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันไปขายได้แค่ กก.ละ 35 บาท แต่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ กก.ละ 6 บาทซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อีก 2 เดือน สหกรณ์สวนยางใน จ.ตรัง จะล้มตายไปทั้งหมด เพราะสหกรณ์ไม่มีเงินซื้อน้ำยาง ขณะที่ชาวสวนก็ไม่รู้จะเอาน้ำยางไปขายที่ไหน อย่างสหกรณ์หนองคล้า เคยมีผลประกอบการกำไรมาทุกปี รวม 10 ปีแล้ว แต่ปีนี้เริ่มขาดทุนเกือบๆ 6 แสนบาท ถ้าราคายางยังตกต่ำอยู่แบบนี้ สิ้นปีนี้สหกรณ์คงต้องหยุดประกอบการเพราะสู้ภาวะขาดทุนไม่ได้



นายบรรจง จีนหมั้น
นายบรรจง จีนหมั้น
โดยล่าสุด มียางแผ่นรมควันในสต๊อกประมาณ 5 หมื่นกิโลกรัม มูลค่าประมาณ 1.5 ล้านบาท ซึ่งไม่รู้จะเอาไปขายยังไง เพราะขณะซื้อน้ำยางราคา กก.ละ 35 บาท แต่ขณะนี้เหลือแค่ กก.ละ 33 บาทเท่านั้น นอกจากนั้น ยังมีเงินคงค้างจากชุมนุมสหกรณ์ ซึ่งเกิดปัญหาทุจริตภายในกันก่อนหน้ากับอีกกว่า 10 สหกรณ์ รวมทั้งกับสหกรณ์หนองคล้าอีกจำนวนหนึ่งด้วย?ทั้งนี้ แม้ว่าในวันที่ 15 ธ.ค. รัฐบาลจะเริ่มชดเชยราคายางให้แก่เกษตรกรเป็น กก.ละ 57 บาท แต่เนื่องจากขณะนี้ยังเหลือเวลาอีกถึง 2 เดือนกว่าที่โครงการนี้จะเริ่ม และเกษตรกรยังคงต้องกรีดยางและต้องนำยางมาขายทุกวัน ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้นสหกรณ์คงอยู่ไม่ได้แล้ว นอกจากรัฐบาลจะมีมาตรการแทรกแซงราคายางเพื่อช่วยเหลือสหกรณ์ออกมา ช่วยพยุงสถานะของสหกรณ์ให้สามารถประคองตัวเองเอาไว้ให้ได้ก่อน? นายบรรจง จีนหมั้น กล่าวด้าน นายประทบ สุขสนาน ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดตรังและภาคใต้ กล่าวว่า ปัญหาในขณะนี้คือราคายางในตลาดกลางทั้ง 3 ตลาด คือ ที่สงขลา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ที่บริษัทเอกชนเข้าประมูลในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา มีราคาร่วงลงมาต่อเนื่อง ลักษณะเหมือนกับการฮั้วกัน ไม่ใช่เป็นการประมูลราคา แต่เป็นการกำหนดราคาเอาเองในตลาดกลางตามอำเภอใจ จึงอยากให้หน่วยธุรกิจ กยท.ลงมาดูแลปัญหานี้ ด้วยการเข้าไปประมูลยางในตลาดกลางเอง โดยเฉพาะในช่วงที่มีราคาตกลงมากๆ หลังจากที่ กยท.ได้หยุดดำเนินการไปเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา



นายประทบ สุขสนาน
นายประทบ สุขสนาน
?ทั้งนี้ กยท.ไม่ควรจะปล่อยให้บริษัทเอกชนกดราคาต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างในขณะนี้ โดยไม่สนใจที่จะคิดเข้าไปแก้ปัญหา จึงอยากเรียกร้องให้หน่วยธุรกิจ กยท.(BU) เร่งเข้าประมูลยางในตลาดกลาง แต่จะต้องประมูลในราคาที่ใกล้เคียงความเป็นจริง อย่าประมูลชี้นำราคาจนสร้างความเสียหายต่อระบบกลไกของตลาดเหมือนครั้งที่ผ่านมา? นายประทบ สุขสนาน กล่าวทางด้าน นายอุทัย ศรีเทพ ประธานสันนิบาตสหกรณ์จังหวัดตรัง ระบุว่า ภายในสัปดาห์นี้จะนำปัญหาและข้อเรียกร้องของสถาบันเกษตรกร หรือสหกรณ์แปรรูปยางกว่า 40 แห่งในจังหวัดตรัง ไปยื่นต่ออธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เร่งแก้ปัญหาของสถาบันเกษตรกรที่เกิดจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ทำสหกรณ์ทุกแห่งขาดทุนหนัก ขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน และอีก 14 แห่งถูกซ้ำเติมปัญหาจากทุจริตภายในชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จนทำให้สถาบันเกษตรกรยิ่งเดือดร้อนหนักทั้งนี้ จะยื่นข้อเรียกร้อง 4 ข้อให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือสถาบันเกษตรกร (สหกรณ์) ประกอบด้วย มาตรการชดเชยราคายางแผ่นรมควัน กก.ละ 3 บาท ช่วยชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 ต่อปี ขยายเวลาชำระเงินกู้จากโครงการของรัฐ 15,000 ล้านถึงปี 2567 และเรียกร้องหน่วยธุรกิจ (BU) กยท.เข้าประมูลยางในตลาดกลางแข่งกับบริษัทเอกชน