ผู้เขียน หัวข้อ: ยางใบไหม้ลามกว่า 2 แสนไร่ รือเสาะ หนักสุด เกือบ 100%  (อ่าน 991 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87568
    • ดูรายละเอียด
ยางใบไหม้ลามกว่า 2 แสนไร่ รือเสาะ หนักสุด เกือบ 100%
ไทยรัฐฉบับพิมพ์29 ต.ค. 2562 06:01 น.
   


นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ เผยว่า จากสถานการณ์พบการระบาดของโรคใบร่วงในยางพาราพื้นที่ จ.นราธิวาส เกิดจากลมที่พัดมาจากประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุกเหมือนกับพื้นที่ภาคใต้ของไทย ได้นำพาเชื้อรา Pestalotiopsis sp. พัดมาอยู่สวนยาง ทั้งในดิน กิ่งพันธุ์ วัสดุปลูก โดยเชื้อจะฝังตัวอยู่ได้นาน จนเมื่ออุณหภูมิเหมาะสมจากสภาพความชื้น เชื้อจึงฟักตัว และเกิดการระบาดขึ้น มีผลทำให้ผลผลิตลดลง 30-50% ใบร่วงกว่า 90%

ทั้งนี้ ได้ประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือเกษตรกรเรื่องการเคลื่อนย้ายวัสดุปลูก ใบยาง กิ่งตายาง ไปสู่จังหวัดหรือพื้นที่อื่น พร้อมกับเฝ้าระวังและตรวจเช็ก 3 จังหวัดชายแดน โดยสภาเกษตรกรฯได้ประสานงานกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อเตรียมการใช้สารเคมี โดยใช้โดรนขึ้นบินพ่นสาร เพื่อทดสอบการยับยั้งการระบาดเชื้อ      ส่วนความช่วยเหลือเกษตรกรอยู่ระหว่างปรึกษากับ กยท.เพื่อดูระเบียบในการใช้กองทุนพัฒนายางพาราโดยเฉพาะในเรื่องสวัสดิการที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัย วาตภัย หรือภัยจากโรคระบาด ว่าเงินจากกองทุนนี้จะสามารถนำไปเยียวยาให้เกษตรกร เพื่อนำไปดูแลยับยั้งเชื้อ หรืออาจนำไปซื้อปุ๋ย เพื่อบำรุงต้นยางต่อไปได้หรือไม่

ด้าน นายประหยัด ลอแม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส เผยว่า โรคใบร่วงในยางพาราพื้นที่นราธิวาสเริ่มมีมา 2 ปีแล้ว แต่ไม่รุนแรงเหมือนปีนี้ ล่าสุดจากการจัดเก็บข้อมูลการระบาดในพื้นที่ พบระบาดมากคือ อ.แว้ง 83,000 ไร่ อ.สุไหงปาดี 57,000 ไร่ อ.สุคิริน 34,250 ไร่ อ.สุไหงโก-ลก 12,000 ไร่ อ.ระแงะ 70% ของพื้นที่ อ.รือเสาะ 90-100% ของพื้นที่

      ส่วนอำเภออื่นๆพบการระบาดบ้าง แต่เกษตรกรยังเข้าใจว่าใบยางร่วงตามปกติจากฝนตกชุก จึงขอให้เกษตรกรสังเกตที่ใบยาง มีลักษณะวงกลมสีเหลืองเป็นจุดๆเหมือนรอยไหม้ ร่วงจนเหลือแต่กิ่งก้าน คำแนะนำในเบื้องต้นให้เกษตรกรหยุดกรีดยางแล้วใส่ปุ๋ยบำรุง เพื่อให้ต้นยางสมบูรณ์แข็งแรงในการต่อสู้กับโรค
ทั้งนี้ สภาเกษตรกรจังหวัดนราธิวาสได้ประสาน กยท.อำเภอสุไหงโก-ลก ได้ทำการทดลองใช้โดรนบรรจุน้ำยาฆ่าเชื้อราโปรยทางอากาศให้กับต้นยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ ต.โละจูด หากได้ผลจะนำไปขยายต่อยังพื้นที่ระบาดของอำเภออื่นต่อไป.