ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ข่าวหุ้น-การเงิน 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563  (อ่าน 776 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82391
    • ดูรายละเอียด
****"ดาวโจนส์"ทะยานกว่า500จุดขานรับตัวเลขจ้างงานดีกว่าคาด

4 มิถุนายน 2563 
ดัชนีดาวโจนส์ ปิดตลาดวันพุธ(3มิ.ย.)พุ่งขึ้นกว่า 500 จุด หลังการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐที่ดีกว่าคาด และเป็นการส่งสัญญาณว่าตลาดแรงงานได้ผ่านภาวะย่ำแย่ที่สุดแล้ว

นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 527.24 จุด หรือ 2.05% ปิดที่ 26,269.89 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 42.05 จุด หรือ 1.36% ปิดที่ 3,122.87 จุดและดัชนีแนสแด็ก เพิ่มขึ้น 74.54 จุด หรือ 0.78% ปิดที่ 9,682.91 จุด

นายมาร์ค แซนดี หัวหน้านักวิเคราะห์ของมูดี้ส์ อนาลิติกส์ กล่าวว่า ตัวเลขการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐในเดือนพ.ค.อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าตลาดแรงงานได้ผ่านภาวะย่ำแย่ที่สุดจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้ ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (เอดีพี) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐลดลง 2.76 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ค. แต่ยังดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลง 8.75 ล้านตำแหน่ง หลังจากทรุดตัวลง 19.6 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นภาวะการจ้างงานที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลในปี 2545


หากอยู่ภายใต้สถานการณ์ปกติ การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐที่ลดลงมากกว่า 2 ล้านตำแหน่งต่อเดือนถือเป็นเรื่องที่น่าวิตก อย่างไรก็ดี ขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐและของโลกไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ปกติ

นอกจากนี้ ตัวเลขการจ้างงานที่ลดลงราว 2 ล้านตำแหน่ง จากที่คาดการณ์ไว้มากกว่า 8 ล้านตำแหน่งช่วยให้นักลงทุนมีความหวังว่าวิกฤตการณ์ในตลาดแรงงานสหรัฐได้ผ่านพ้นภาวะเลวร้ายที่สุดแล้ว และกำลังฟื้นตัวขึ้นจากการเปิดเศรษฐกิจครั้งใหม่

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในวันศุกร์นี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลง 8.33 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ค. ขณะที่อัตราการว่างงานจะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 19.5%

เมื่อเดือนที่แล้ว กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรดิ่งลง 20.5 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นตัวเลขการจ้างงานที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ ส่วนอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสู่ระดับ 14.7% ในเดือนเม.ย. ซึ่งสูงกว่าระดับ 10.8% ซึ่งเป็นอัตราการว่างงานสูงสุดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ต่ำกว่าระดับ 24.9% ซึ่งเป็นตัวเลขอัตราการว่างงานในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

การลดลงของตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรมีสาเหตุจากการที่ภาคธุรกิจได้พากันปิดกิจการ จากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้มีการปลดพนักงานจำนวนมาก

ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทยังได้ปัจจัยบวกจากการชุมนุมประท้วงการเสียชีวิตของนายจอร์จ ฟลอยด์ ซึ่งส่วนใหญ่เริ่มเป็นไปอย่างสงบ โดยแตกต่างจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ 40 เมืองทั่วสหรัฐได้ประกาศเคอร์ฟิว หลังเกิดเหตุจลาจล ทั้งการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ การเผารถยนต์ และการทุบกระจกร้านค้า ท่ามกลางความไม่พอใจต่อการที่ตำรวจใช้ความรุนแรงต่อนายจอร์จ ฟลอยด์ ซึ่งเป็นชายผิวสี จนเสียชีวิต

ศาสตราจารย์เจเรมี ซีเกลจากมหาวิทยาลัยวาร์ตัน กล่าวว่า ตลาดหุ้นยังคงมีแนวโน้มดีดตัวขึ้นต่อไป โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอัดฉีดสภาพคล่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

นักลงทุนรอการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้า โดยจับตามุมมองของเฟดต่อเศรษฐกิจสหรัฐ รวมทั้งทิศทางอัตราดอกเบี้ย

***นลท.เมินสินทรัพย์เสี่ยงต่ำฉุดราคาทองดิ่งหนัก29ดอลล์

4 มิถุนายน 2563
ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐทำให้นักลงทุนเมินสินทรัพย์เสี่ยงต่ำและฉุดให้ราคาทองปิดตลาดวันพุธ(3 มิ.ย.) ปรับตัวลงอย่างรุนแรง

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 29.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 1704,80 ดอลลาร์/ออนซ์

ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (เอดีพี) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐลดลง 2.76 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ค. แต่ยังดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลง 8.75 ล้านตำแหน่ง หลังจากทรุดตัวลง 19.6 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นภาวะการจ้างงานที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลในปี 2545


หากอยู่ภายใต้สถานการณ์ปกติ การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐที่ลดลงมากกว่า 2 ล้านตำแหน่งต่อเดือนถือเป็นเรื่องที่น่าวิตก อย่างไรก็ดี ขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐและของโลกไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ปกติ

นอกจากนี้ ตัวเลขการจ้างงานที่ลดลงราว 2 ล้านตำแหน่ง จากที่คาดการณ์ไว้มากกว่า 8 ล้านตำแหน่งช่วยให้นักลงทุนมีความหวังว่าวิกฤตการณ์ในตลาดแรงงานสหรัฐได้ผ่านพ้นภาวะเลวร้ายที่สุดแล้ว และกำลังฟื้นตัวขึ้นจากการเปิดเศรษฐกิจครั้งใหม่


****น้ำมัน WTI ปิดบวก 48 เซนต์ ขานรับสต็อกน้ำมันดิบลดลง

ข่าวต่างประเทศ Thursday June 4, 2020 07:17 ?สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดบวก 48 เซนต์ ขานรับสต็อกน้ำมันดิบลดลง
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) ขานรับรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ลดลงเหนือความคาดหมาย อย่างไรก็ดี ภาวะการซื้อขายในตลาดเป็นไปอย่างผันผวน ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 48 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่ 37.29 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. ปีนี้

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 22 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 39.79 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. ปีนี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ได้รับปัจจัยหนุนจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ซึ่งระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 2.1 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 29 พ.ค. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.5 ล้านบาร์เรล

รายงานของ EIA ยังระบุว่า สต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 2.8 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 300,000 บาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 9.9 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 2.8 ล้านบาร์เรล

อย่างไรก็ดี ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI อ่อนแรงลงหลังจากพุ่งขึ้นเหนือระดับ 40 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ภายหลังจากสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า กลุ่มโอเปกพลัสอาจเลื่อนการประชุมที่มีกำหนดในวันนี้ ขณะที่ซาอุดีอาระเบียและรัสเซียเตือนชาติสมาชิกให้ยุติการโกงโควตาการผลิตน้ำมัน มิฉะนั้นโอเปกพลัสอาจระงับการปรับลดกำลังการผลิต ซึ่งได้ช่วยหนุนราคาน้ำมันในระยะนี้

สื่อรายงานว่า ซาอุดีอาระเบียและรัสเซียได้เห็นพ้องกันเกี่ยวกับการขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 9.7 ล้านบาร์เรล/วันออกไปจนถึงเดือนก.ค.

ในการประชุมเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมโอเปกพลัสมีมติปรับลดกำลังการผลิตเพียง 7.7 ล้านบาร์เรล/วันตั้งแต่เดือนก.ค.ไปจนถึงสิ้นปี 2563 และจะปรับลด 6 ล้านบาร์เรล/วันตั้งแต่เดือนม.ค.2564 ไปจนถึงเดือนเม.ย.2565

หากโอเปกพลัสไม่ได้จัดการประชุมในเดือนนี้เพื่อให้มีการขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 9.7 ล้านบาร์เรล/วันถึงเดือนก.ค. ก็จะทำให้โอเปกพลัสปรับลดกำลังการผลิตเพียง 7.7 ล้านบาร์เรล/วันตั้งแต่เดือนก.ค. ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมภาวะตลาดน้ำมัน ขณะที่อุปสงค์อยู่ในระดับต่ำ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 04, 2020, 08:03:34 AM โดย Rakayang.Com »