ผู้เขียน หัวข้อ: ครม.ไม่อนุมัติประกันรายได้ยางเฟส 2 สั่ง เกษตรฯ-กยท. ทำแผนระบายสต๊อก 1.2 แสนตัน  (อ่าน 946 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82024
    • ดูรายละเอียด

ครม.ไม่อนุมัติประกันรายได้ยางเฟส 2 สั่ง เกษตรฯ-กยท. ทำแผนระบายสต๊อก 1.2 แสนตัน

เศรษฐกิจ  ที่มา ข่าวสด
   
ครม.ตีกลับประกันยาง  23 มิ.ย. 2563 16:17 น.

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบผลการประชุมคณะกรมการโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ยังไม่อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และภาคเกษตรกร ร่วมหารือทบทวนหลักเกณฑ์และข้อกำหนดของโครงการฯ ให้มีความชัดเจนในการกำหนดราคายางที่ใช้ประกันรายได้ ปริมาณผลผลิต ระยะเวลาที่ชดเชย และจำนวนพื้นที่สวนยางกรีดได้ของเกษตรกร

ทั้งนี้ แต่ละรายที่จะประกันรายได้โดยให้อยู่ในกรอบอัตรายอดคงค้างภาระที่รัฐต้องรับภาระชดเชย อยู่ในกรอบพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐหรือไม่ และจัดทำรายละเอียดโครงการฯที่ได้ปรับปรุงตามมติการประชุมพื่อนำเสนอครม.เพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้ง

รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ครม. อนุมัติขยายระยะเวลาชำระคืนเงินกู้โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียภาพราคายางและโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง และหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยขยายระยะเวลาจาก 31 พ.ค. 2563 เป็น 31 ธ.ค. 2566 และให้จัดสรรงบประมาณเป็นค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัยค่าจ้างผลิตยางและอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่มี.ค. 2559-ก.พ. 2563 วงเงิน 772.47 ล้านบาท ค่าเช่าโกดัง และค่าประกันภัย ตั้งแต่มี.ค. 2563-มี.ค. 2564 จำนวนเงิน 126.286 ล้านบาท

?ที่ประชุมครม. มอบหมายให้กยท. ระบายยางในสต๊อก ที่มีประมาณ 1.2 แสนตัน ที่เกิดขึ้นในโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียภาพราคายางและโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยให้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กระทรวงการคลัง ธ.ก.ส. เพื่อนำยางในสต๊อกไปใช้ในหน่วยงานรัฐบาล เพื่อให้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบราชการ เมื่อหารือได้แผนการดำเนินการแล้วให้นำแผนการระบายยางในสต๊อกเสนอ ครม.อีกครั้ง?

ส่วนโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางระยะที่ 2 วงเงิน วงเงิน 31,013.27 ล้านบาท ครอบคลุมเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งมีทั้งคนกรัดยางและชาวสวนจำนวน 1,834,087 ราย ครอบคลุม พื้นที่ 18,286,186.03 ไร่ ครม. ยังไม่มีการอนุมัติ ส่วนเจ้าของสวนและคนกรีด จะแบ่งปันผลประโยชน์จากโครงการชดเชยรายได้ฯ ดังนี้ คือ เจ้าของสวนได้ 60% ส่วนคนกรีด 40% ของราคาที่ได้รับชดเชย ในแต่ละชนิดของยางพารา

ทั้งนี้ ราคาประกันรายได้ยางพารา แต่ละชนิดแบ่งได้ดังนี้ คือ แต่ละเดือน ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม (ก.ก.) , น้ำยางสด (DRC100%) ราคา 57 บาท/ก.ก. และ ยางก้อนถ้วย (DRC100%) ราคา 46 บาท/ก.ก. เกษตรกรที่จะมีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ ต้องขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายใน 15 พ.ค. 2563 สวนยางพาราอายุ 7 ปีขึ้นไป ที่มีการเปิดกรีดแล้ว รัฐบาลจะชดเชยรายละไม่เกิน 25 ไร่ ระยะเวลาประกันรายได้ 5 เดือน ตั้งแต่ส.ค.-ธ.ค. 2563

สำหรับวงเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ 31,013.27 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณสำหรับการประกันรายได้ชาวสวนยาง 30,221.99 ล้านบาท งบประมาณชดเชยต้นทุนในอัตราเงินฝากประจำ 12 เดือนของธ.ก.ส.บวก 1% หรือไม่เกิน วงเงิน 695.1 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าธรรมเนียมการโอนเงินของธ.ก.ส. วงเงิน 9.17 ล้านบาท (5 บาท/ราย) และงบบริหารโครงการ 87 ล้านบาท

โดยให้ใช้เงินของธ.ก.ส. สำรองจ่ายแทนรัฐบาลไปก่อน และธ.ก.ส. ค่อยเสนอขอจัดสรรงบประมาณในปี 2564 และปีถัดไปตามความเหมาะสม โดยรัฐบาลจะชำระเงินต้นและค่าใช้จ่ายของโครงการนี้ 5 ปี