ผู้เขียน หัวข้อ: ก.เกษตรฯ ตั้งทีมศึกษาโรคใบร่วงในยางพารา หลังพบระบาดวงกว้าง 7 จังหวัด  (อ่าน 1263 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82291
    • ดูรายละเอียด
ก.เกษตรฯ ตั้งทีมศึกษาโรคใบร่วงในยางพารา หลังพบระบาดวงกว้าง 7 จังหวัด
          สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 พ.ย. 2563)--นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท. ได้รับรายงานการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในพื้นที่ภาคใต้เมื่อปี 2562 ใน 10 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส, ยะลา, ปัตตานี, สงขลา, สตูล, ตรัง, กระบี่, พังงา, พัทลุง และสุราษฎร์ธานี รวมพื้นที่ระบาดสูงสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2563 จำนวน 775,195 ไร่ โดยพบการระบาดมากที่สุดในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เป็นไปได้ที่เชื้อราตัวนี้มีการแพร่กระจายเข้ามาระบาดในพื้นที่ปลูกยางแถบชายแดนรอยต่อกับประเทศมาเลเซีย เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันคือร้อนชื้นและฝนตกชุก หลังจากได้นำตัวอย่างไปวิเคราะห์พิสูจน์เชื้อหาสาเหตุแล้ว พบว่าโรคใบร่วงชนิดนี้เป็นเชื้อ Colletotrichum sp. จากนั้นต้นยางพาราเข้าสู่การผลัดใบตามฤดูกาล โรคจึงคลี่คลายไปกับใบที่ร่วงหล่น และหลังจากมีการแตกใบใหม่พบการระบาดซ้ำในปีที่ 2 โดยข้อมูล ณ วันที่ 6 พ.ยง63 พบการระบาดใน 7 จังหวัดได้แก่ นราธิวาส, ยะลา, ปัตตานี, สงขลา, พังงา, พัทลุง และสุราษฎร์ธานี รวมพื้นที่ระบาด 116,674 ไร่ และมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้
          ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ตั้งคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการบริหารจัดการโรค ประกอบด้วย การยางแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกองการยาง กรมวิชาการเกษตร ผู้แทนจากกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนจากคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช และเทคโนโลยีสารสนเทศ 
          ในส่วนของ กยท. ได้เร่งออกคำแนะนำ ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ เพื่อสร้างความเข้าใจและแนะแนวทางการป้องกันและกำจัดโรค การเก็บใบที่ร่วงทำลาย สาธิตและสนับสนุนปัจจัยในการป้องกันกำจัดโรคในพื้นที่ การบำรุงรักษาสวนยาง และการใช้ยาป้องกันกำจัดโรค สนับสนุนเงินอุดหนุนตามมาตรา 49 (3) เพื่อจัดหาอุปกรณ์และสารเคมีในการฉีด พ่นสาร เพื่อยับยั้งเชื้อโรค โดย กยท. ร่วมกับกลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จัดทำโครงการขอสนับสนุนเงินอุดหนุนดังกล่าว
            นอกเหนือจากนี้ ในส่วนของการศึกษาวิจัย เนื่องจากเป็นโรคระบาดชนิดใหม่ กยท. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การวิจัยเร่งด่วน ได้แก่ การศึกษาหาเชื้อสาเหตุของโรค การศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค การสำรวจพื้นที่เกิดโรคและผลกระทบต่อผลผลิต การแปลภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่เกิดโรคใบร่วง การศึกษาสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยระยะกลาง ได้แก่ การพัฒนาโครงการการคัดเลือกพันธุ์ยางต้านทานโรคใบร่วงชนิดใหม่ เพื่อที่จะให้ได้พันธุ์ยางทนโรคหรือได้พันธุ์ยางต้านทานโรค
--อินโฟเควสท์ โดย รัชดา คงขุนเทียน/กษมาพร โทร.02-2535000 อีเมล์: kasamarporn@infoquest.co.th--




******************************************

(รีบทักด่วนๆ)รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับ"ราคายาง"ใครที่ยังไม่มีไอดีและยังไม่เคยสมัครเข้าไปแจ้งสมัครได้ครับที่ไลน์ >> https://lin.ee/7DBOMZD
::::ดูวิธีการสมัครและอัปเกรดได้ที่นี่ http://rakayang.net/vip/howtoregisterpremiumid.php
:::สอบถามเกี่ยวกับพรีเมี่ยมไอดี(วิธีสมัคร สมัครผ่านไลน์) กดแอดไลน์ >> https://line.me/ti/p/oOaV5zv6N2

:::หรือ ให้แจ้งไปที่ไลน์นี้ครับ https://lin.ee/7DBOMZD  หรืออีกช่องทางด่วน โทร 0849693999
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 18, 2020, 05:09:19 PM โดย Rakayang.Com »