ผู้เขียน หัวข้อ: 31 พ.ค. ลุ้น ศาลไฟเขียว "วงศ์บัณฑิต" ฟื้นฟูกิจการ  (อ่าน 1907 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82391
    • ดูรายละเอียด
31 พ.ค. ลุ้น ศาลไฟเขียว "วงศ์บัณฑิต"  ฟื้นฟูกิจการ

1 มีนาคม 2564 - 15:14 น.

ติดตามข่าวสารผ่าน 'คมชัดลึก' Line Official

"บอสวงศ์บัณฑิต" เคลียร์ชัด บริษัทไม่ได้ล้มละลาย เข้าแผนฟื้นฟู ถอดบทเรียน "ทีพีไอ-การบินไทย" แจงเป็นข้อดี 31 พ.ค. ศาลนัดไต่สวน ลุ้น ไฟเขียว พลิกธุรกิจฟื้น
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลล้มละลายกลาง ประกาศ คดีหมายเลขดำที่ ฟฟ8/2564 ถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท/พนักงานพิทักษ์ทรัพย์/เจ้าหนี้/ลูกหนี้ ด้วยคดี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางว่าลูกหนี้หนี้สินล้นพ้นตัว หรือไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนดได้ และเป็นเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท

แต่กิจการของลูกหนี้ยังมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย 2483 มาตรา 90/10 ศาลได้รับคำร้องเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 และกำหนดนัดไต่สวนคำร้อง วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น.  นั้นท.พ.พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต 
ท.พ.พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต

ท.พ.พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต  กรรมการผู้จัดการบริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด เป็นบริษัท หนึ่งใน 5 บริษัทผู้ผลิตและส่งออกยางพารา ยางธรรมชาติรายใหญ่ของประเทศไทย เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ?  ว่า ทางบริษัท ได้ขอยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ เป็นความจริง แต่ข้อความเป็นคำพูดของศาล ดูเหมือนน่ากลัว เพราะเป็นข้อความที่ออกมาจากศาลล้มละลายกลาง สืบเนื่องจากประเทศไทยการฟื้นฟูต้องไปยื่นที่ศาลล้มละลายกลาง จึงทำให้สังคมคิดว่าบริษัทล้ม เรียบร้อยแล้ว ทำให้ต้องมาตอบทุกคนว่าบริษัทไม่ได้ล้มละลาย แต่การฟื้นฟู ต้องไปขอที่ศาลล้มละลาย บริษัทก็ฟื้นฟูกิจการ เหมือนกับ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ?ทีพีไอ? หรือ บมจ. การบินไทย  สังเกตไหม ว่าการฟื้นฟูเป็นเรื่องที่ดี พอได้เข้าแผนฟื้นฟูฯ  จะทำให้บริษัทมีความแข็งแรงขึ้นในอนาคต จะเป็นการดีกับสังคมยางพาราต่อไป

อย่างไรก็ดี สาเหตุที่เกิดปัญหากับบริษัท ก็มาจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบกับมีบริษัท หลายเจ้าก่อนหน้านี้ล้ม และมีการเทคโอเวอร์ ทำให้ทางธนาคารดึงเงินกลับ พอดึงเงินกลับไป ธนาคารปล่อยสินเชื่อได้น้อยลง ก็ทำให้บริษัทซื้อยางได้น้อยลง และส่งผลปัญหามาถึงปัจจุบันนี้ จึงทำให้บริษัท จำเป็นที่จะต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการฯ ตามที่ศาลล้มละลายกลางประกาศ ว่าจะมีการนัดไต่สวนคำร้องใน วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ท.พ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า  ราคายางพาราในระยะนี้ ยังคงปรับตัวสูงอยู่ เพราะเป็นช่วงฤดูยางผลัดใบ แต่ว่าสถานการณ์ช่วงฤดูยางเปิดกรีด (เดือน พ.ค.64) ยังมองไม่ออก เพราะไม่ทราบว่า "โควิด"  หรือ "เศรษฐกิจโลก" จะพาไปอย่างไร ตอนนี้เรามีหุ้นกับบริษัทถุงมือยางอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ทำใหญ่แบบ กลุ่มศรีตรัง  ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดนี้จะทำได้ก็ต้องเข้าแผนฟื้นฟูฯ ก่อน

ที่มา..ฐานเศรษฐกิจ

******************************************

admin ไม่อยากให้ฟังความข้างเดียวหลายคนมีคำถามว่าจะรอดไม่รอด จึงขออนุญาติหยิบยก บริษัทการบินไทยที่ทางบริษัทหยิบมาอ้างถึง มาดูผลประกอบกิจการหลังศาลให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกันเกือบ 1 ปี บทสรุปให้ท่านลองอ่านข้างล่างนี้คับ
อ้างถึง
[UPDATE] การบินไทย ขาดทุน แสนล้าน
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา บริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน)
ได้ประกาศผลประกอบการประจำปี 2563

รายได้ 48,311 ล้านบาท ลดลง 73.8%
ขาดทุน 141,171 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 1,074.8%

โดยรายได้ที่ลดลงแบ่งออกเป็น

-รายได้จากค่าโดยสาร และค่าน้ำหนักส่วนเกิน 34,163 ล้านบาท ลดลง 77.1%
-รายได้จากการขนส่งสินค้า และไปรษณียภัณฑ์ 6,893 ล้านบาท ลดลง 61.2%
-รายได้การบริการอื่น ๆ 6,660 ล้านบาท ลดลง 53.1%

ซึ่งก็เป็นผลมาจาก การบินไทยจำเป็นต้องยกเลิกเที่ยวบิน เป็นการชั่วคราวตั้งแต่ไตรมาสที่ 2
ทำให้ไม่สามารถขนส่งผู้โดยสาร หรือขนส่งพัสดุ ไปยังปลายทางตามความต้องการของลูกค้าได้

ทีนี้ เรามาดูฝั่งค่าใช้จ่าย
ปีที่ผ่านมา การบินไทย มีค่าใช้จ่ายรวม 96,430 ล้านบาท ลดลง 50.9% แบ่งออกเป็น

-ค่าน้ำมันเครื่องบิน 12,386  ล้านบาท ลดลง 77.3%
-ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมน้ำมัน 71,970 ล้านบาท ลดลง 47.7%
-ต้นทุนทางการเงิน 12,074 เพิ่มขึ้น 184.4%

จะเห็นได้ว่าแม้บริษัทจะมีค่าใช้จ่ายที่ลดลง แต่เป็นการลดลงที่น้อยกว่าการหดตัวของรายได้
จึงทำให้ การบินไทย มีผลการขาดทุนจากการดำเนินงาน 48,119 ล้านบาท

ซึ่งนอกจากค่าใช้จ่ายส่วนนี้แล้ว
การบินไทยยังมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
เช่น เงินชดเชยพนักงานในโครงการ ?MSP A? ที่พนักงานสมัครใจลาออก 3,098 ล้านบาท
รวมถึงมีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินมากถึง 82,703 ล้านบาท

ทั้งหมดนี้ จึงส่งผลให้ในปี 2563 การบินไทย ขาดทุนมากถึง 141,171 ล้านบาท

ล่าสุด การบินไทยมีหนี้สะสมอยู่ทั้งหมด 337,456 ล้านบาท
และส่วนของผู้ถือหุ้นจํานวน -128,665 ล้านบาท

สำหรับความเคลื่อนไหวของหุ้นการบินไทยวันนี้

หุ้นการบินไทย หรือ THAI ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกเพิกถอน
กรณีส่วนผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์ โดยจะพิจารณาเรื่องดังกล่าว
ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทำการ หรือภายในวันที่ 8 มีนาคม 2564
ในขณะที่ ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นใดๆ  ต่องบการเงินปี 2563..

Reference
-https://www.settrade.com/simsImg/news/rltm/0245NWS250220210837300098T
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2021, 05:42:14 PM โดย Rakayang.Com »