ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $2.70 กังวลเฟดตรึงดอกเบี้ยสูง  (อ่าน 300 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83024
    • ดูรายละเอียด

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $2.70 กังวลเฟดตรึงดอกเบี้ยสูง

ข่าวต่างประเทศ Saturday May 25, 2024 07:26 ?สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ (24 พ.ค.) โดยตลาดยังถูกกดดันจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 2.70 ดอลลาร์ หรือ 0.12% ปิดที่ 2,334.50 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 4.4 เซนต์ หรือ 0.14% ปิดที่ 30.499 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 8.20 ดอลลาร์ หรือ 0.80% ปิดที่ 1,038.60 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 3.70 ดอลลาร์ หรือ 0.38% ดอลลาร์ ปิดที่ 977.90 ดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,449.89 ดอลลาร์เมื่อวันจันทร์ แต่ลดลงมากกว่า 100 ดอลลาร์แล้วนับตั้งแต่นั้น และลดลง 3% ในรอบสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นการลดลงรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนธ.ค. 2566

รายงานการประชุมครั้งล่าสุดของเฟดที่เปิดเผยในสัปดาห์นี้บ่งชี้ว่า เฟดอาจใช้เวลานานกว่าคาดในการปรับลดอัตราเงินเฟ้อลงสู่ระดับ 2%

การคาดการณ์ของเทรดเดอร์บ่งชี้ถึงความไม่แน่ใจมากขึ้นว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากกว่า 1 ครั้งในปีนี้ ขณะที่เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME บ่งชี้ว่า มีโอกาสราว 63% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงภายในเดือนพ.ย.ปีนี้

อัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงจะทำให้ทองคำที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยนั้นมีความน่าดึงดูดใจในการลงทุนลดลง

นักวิเคราะห์ระบุว่า แม้มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ แต่ราคาทองคำปรับตัวขึ้น 13% แล้วในปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งของจีน และความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องในด้านภูมิรัฐศาสตร์

ตลาดจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันที่ 31 พ.ค.นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด

ทั้งนี้ ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ โดยสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

โดย กัลยาณี ชีวะพานิช