ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดผลงาน 100 วัน ?ทรัมป์? ทุบเศรษฐกิจไทย-โลกดิ่งเหว "ข้าว-ยาง-ถุงมือ"ป่วน  (อ่าน 140 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87419
    • ดูรายละเอียด

เปิดผลงาน 100 วัน ?ทรัมป์? ทุบเศรษฐกิจไทย-โลกดิ่งเหว "ข้าว-ยาง-ถุงมือ"ป่วน

ฐานเศรษฐกิจ
25 เม.ย. 2568 | 05:25 น.

เปิดผลงาน 100 วัน ?ทรัมป์? ทุบเศรษฐกิจไทย-โลกดิ่งเหว \"ข้าว-ยาง-ถุงมือ\"ป่วน

100 วัน ?ทรัมป์? ป่วนโลก นโยบายภาษีทุบเศรษฐกิจดิ่งเหว IMF ลดคาดการณ์จีดีพีไทย-สหรัฐ-โลก โตต่ำติดดิน ราคายางร่วง 10-15 บาท/กก. ข้าวหอมมะลิฤดูการผลิตใหม่ไทยส่อวูบ ถุงมือยางไปสหรัฐ 2 หมื่นล้านลุ้นระทึกภาษีสุดท้าย ลงทุน FDI -อเมริกันเที่ยวไทยชะลอตัว
?โดนัลด์ ทรัมป์? คัมแบ็ก กลับมาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริการอบใหม่ (ทรัมป์ 2.0) โดยได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 เพียงไม่กี่เดือนของการครองอำนาจ ทรัมป์ได้ปรับเปลี่ยนระเบียบกฎเกณฑ์ที่ส่งผลกระทบทั้งต่อโลกและต่อประเทศไทยที่ต้องลุ้นระทึกเป็นรายวันในหลากหลายมิติ

ที่หนักสุดคือนโยบายการค้าที่แข็งกร้าวของทรัมป์ โดยการประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากทั่วโลก (185 ประเทศ )ในส่วนของภาษีศุลกากรพื้นฐาน (Baseline Tariffs) ในอัตรา 10% มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 5 เมษายนที่ผ่านมา และภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ประเทศที่เกินดุลการค้าสหรัฐ(ซึ่งรวมทั้งไทย) รวมประมาณ 60 ประเทศ ในอัตรา 11-50% ที่เดิมจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 เมษายน แต่ทรัมป์กลับลำประกาศชะลอการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ประกาศเมื่อ 10 เม.ย.) ทั้งนี้เพื่อเปิดทางให้แต่ละประเทศได้เจรจาต่อรองผลประโยชน์ให้เป็นที่พอใจของสหรัฐ

ในโอกาสครบรอบ 100 วันของการดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก(ครบ 100 วัน วันที่ 29 เม.ย.) เกิดอะไรกับโลกใบนี้บ้างนั้น


100 วันฉีกทุกกฎเกณฑ์โลก
รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศและอาเซียน เปิดเผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า หากเปรียบเทียบ ก่อนวันที่ 20 มกราคม 2568 ก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์จะเข้ามารับตำแหน่ง และหลังวันที่ 20 มกราคม 2568 (หลังรับตำแหน่งครบ 100 วัน) มีข้อมูลที่เป็นตัวแปรสำคัญของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยในทิศทางที่ชะลอตัวลง หรือลดลง ที่สำคัญได้แก่

ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP)ของโลก ก่อนทรัมป์เข้ารับตำแหน่ง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ขยายตัวจีดีพีโลกไว้ที่ 3.3% แต่ล่าสุด (22 เม.ย.)ได้ปรับลดคาดการณ์ลงเหลือ 2.8% และปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยจาก 2.9% เหลือ 1.8% ส่วนจีดีพีสหรัฐอเมริกาปรับลดจาก 2.8% เหลือ 1.8%

เปิดผลงาน 100 วัน ?ทรัมป์? ทุบเศรษฐกิจไทย-โลกดิ่งเหว \"ข้าว-ยาง-ถุงมือ\"ป่วน

ขณะเดียวกันทรัมป์ยังได้นำสหรัฐถอนตัวออกจากองค์กรโลกหลายองค์กร โดยไม่ให้ความสำคัญ ได้แก่ การถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) การถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การล้มระเบียบการค้าแบบพหุภาคีขององค์การการค้าโลก(WTO) โดยขึ้นภาษีนำเข้ากับทุกประเทศ ลดการสนับสนุนและขู่ถอนตัวจาก WTO โดยทรัมป์หันมาเน้นการเจรจาแบบทวิภาคี ไม่เชื่อในการค้าเสรี อ้างเป็นเหตุทำให้สหรัฐขาดดุลการค้ากับทั่วโลกกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ กล่าวอีกว่า หากครบ 90 วันของการชะลอปรับขึ้นภาษีตอบโต้ไทย 36% หากผลการเจรจา สหรัฐยังคงยืนยันเก็บภาษีไทย หรืออาจมีการปรับลดภาษีลง แต่อัตราภาษียังเสียเปรียบคู่แข่งขันจะกระทบต่อการส่งออกของไทยในครึ่งปีหลัง ส่วนในแง่การขอรับการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติ (FDI) ในไทยมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา หากภาษีตอบโต้ที่ไทยจะถูกจัดเก็บสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน แต่หากไทยถูกเก็บภาษีต่ำกว่าก็จะเป็นประโยชน์กับไทย


รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศและอาเซียน

?อย่างไรก็ดีจากในปีนี้ทิศทางเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มชะลอตัวลงจะส่งผลทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนในไทยตามไปด้วย?

ราคายางร่วง 10-15 บาท/กก.
นายหลักชัย กิตติพล นายกกิตติมศักด์ สมาคมยางพาราไทย เผยว่า จากเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา สหรัฐได้ปรับขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์จากทั่วโลก 25% ส่งผลกระทบต่อราคารับซื้อยางพาราจากเกษตรกรของผู้ประกอบการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยยางก้อนถ้วยที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางแท่งเพื่อใช้ในการผลิตยางล้อรถยนต์ได้ปรับตัวลดลงจาก 65 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ลงเหลือ 50 บาทต่อ กก. หรือลดลงมากกว่า 15 บาท

ส่วนยางแผ่นรมควันปรับตัวลดลงจากระดับ 80 บาทต่อ กก. ลงเหลือ 70 บาท หรือลดลงกว่า 10 บาทต่อกก เนื่องจากผู้ประกอบการผลิตยางล้อรถยนต์ที่ต้องใช้ยางพาราช็อกกับการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐ และชะลอการสั่งซื้อ

?อย่างไรก็ตามหลังสหรัฐชะลอการปรับขึ้นภาษีตอบโต้ 36% ราคายางก็กลับมาทรงตัวดีขึ้น และปรับขึ้นมาแล้วประมาณ 5 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนในอนาคตราคายางจะเป็นอย่างไรนั้น ยังต้องรอลุ้นผลการเจรจาของรัฐบาลไทยกับสหรัฐว่าที่สุดแล้วอัตราภาษีตอบโต้ของไทยจะเป็นอย่างไร หากสหรัฐยังยืนยันเก็บ 36% ก็จะมีผลกระทบต่ออนาคตอุตสาหกรรมยางพาราไทยในภาพรวม?

ถุงมือยางสหรัฐ 2 หมื่นล้านลุ้นระทึก
นายอดิศักดิ์ กองวารี นายกสมาคมถุงมือยางไทย กล่าวว่า สหรัฐเป็นตลาดอันดับ 1 ของการส่งออกถุงมือยางไทย โดยชาวอเมริกันใช้ถุงมือยางมากที่สุดในโลก ดังนั้นหากมีการปรับขึ้นภาษีตอบโต้ประเทศไทยในอัตรา 36 % ตามที่เคยประเทศไว้ก่อนหน้า จะกระทบหนักต่อการส่งออกถุงมือยางของไทย หากมาเลเซียที่เป็นผู้ส่งออกถุงมือยางอันดับ 1 ของโลก ซึ่งถูกเก็บภาษีตอบโต้ในอัตรา 24% ซึ่งต่ำกว่าไทย และมีส่วนต่างจากไทย 12% จะทำให้สินค้าไทยเสียเปรียบ ลูกค้าจะหันไปสั่งซื้อที่มาเลเซียแทน ถือเป็นความกังวลของผู้ส่งออกในเวลานี้

ในปีที่ผ่านมาไทยส่งออกถุงมือยาง 5.1 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้ส่งออกไปตลาดสหรัฐ 2.0 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ถือเป็นโจทย์ของภาคเอกชนที่อยากให้รัฐบาลต้องแก้ปัญหาและเร่งเจรจาต่อรองกับสหรัฐ

ข้าวหอมมะลิราคาส่อลดลง
ด้าน นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า จากที่สหรัฐชะลอการขึ้นภาษีตอบโต้ 36% ออกไป 90 วัน ส่งผลให้เวลานี้มีคำสั่งซื้อข้าวจากผู้นำเข้าสหรัฐเข้ามายังไทยเป็นจำนวนมาก เพราะภาษีพื้นฐาน 10% ของสหรัฐที่มีผลบังคับใช้แล้วกับทุกประเทศ คู่ค้ายังพอรับได้ ซึ่งต้องเร่งนำเข้าก่อน 90 วัน เพื่อตุนสินค้าไว้จำหน่าย เนื่องจากยังไม่ทราบว่าสุดท้ายแล้วผลการเจรจาจะเป็นอย่างไร และสหรัฐจะเก็บภาษีตอบโต้ไทยในอัตราเท่าใด


ชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

?ข้าวที่ไทยส่งออกไปสหรัฐส่วนใหญ่เป็นตลาดข้าวหอม ซึ่งราคายังไม่ตก โดยในแต่ละปีสหรัฐนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยประมาณ 6.3 แสนตัน ยังไม่รวมข้าวหอมปทุมธานี และข้าวหอมจังหวัดอีกประมาณ 1.2 แสนตันต่อปี โดยสหรัฐเป็นตลาดใหญ่สุดของข้าวหอมมะลิไทยสัดส่วนมากกว่า 50% ของการส่งออกในภาพรวม

อย่างไรก็ดีที่เราห่วงคือข้าวหอมมะลินาปีในฤดูการผลิตใหม่ที่จะออกมาช่วงปลายปีนี้ หากเราถูกสหรัฐเก็บภาษีนำเข้า 36% จะมีผลต่อการส่งออกข้าวไปสหรัฐ และจะมีผลต่อราคาข้าวเปลือกหอมมะลิฤดูการผลิตใหม่ที่จะออกในปลายปีราคาอาจปรับตัวลดลง?

สับปะรด-ผลไม้ไม่กระทบมาก
นายวิรัช ปิยพรไพบูลย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมสับปะรดไทย เผยว่า หากสหรัฐปรับขึ้นภาษีไทย 36% จะกระทบสินค้าไทยที่จะส่งออกไปสหรัฐมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ที่ผ่านมาไทยส่งออกสับปะรดกระป๋องไปสหรัฐสัดส่วนไม่ถึง 5% ของการส่งออกในภาพรวม ส่วนใหญ่ตลาดของไทยอยู่ที่เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งปีนี้ผลผลิตมีน้อย จากภัยแล้งมา 2 ปีแล้ว

นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ในส่วนของผลไม้มีผลกระทบเล็กน้อยโดยไทยส่งออกมะม่วง ส้มโอ และทุเรียนแช่แข็งไปสหรัฐแต่ปริมาณส่งออกไม่มาก ซึ่งต้องรอดูหลังครบ 90 วันที่สหรัฐชะลอการขึ้นภาษีตอบโต้ 36% ว่าถึงที่สุดมาตรการภาษีที่สหรัฐมีต่อไทยจะออกมาอย่างไร และในอัตราเท่าใด

นักท่องเที่ยวอเมริกันส่อหดตัว
นายอดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เผยว่า การขึ้นภาษีทรัมป์ ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโดยตรง กับตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทย คือ สหรัฐอเมริกา และ จีน ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ที่อาจจะหดตัว หรือ เติบโตช้าทางเศรษฐกิจ ทำให้รายได้ประชากรลดลง ซึ่งจากการประเมินผลกระทบเบื้องต้น ในแง่ของการค้า จะพบว่าผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

ทั้งนี้เมื่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมชะลอตัวจากสงครามการค้า รายได้ของผู้คนในประเทศต่าง ๆ ลดลง ทำให้มีแนวโน้มที่นักท่องเที่ยวจะลดการเดินทาง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาไทย เช่น จีน ยุโรป หรือแม้กระทั่งสหรัฐฯ เอง ส่วนประเทศในเอเชียที่พึ่งพาการส่งออก เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อาจได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบต่อกำลังจับจ่ายของประชาชน รวมถึงแผนการเดินทางท่องเที่ยวมายังไทย

?หากเศรษฐกิจสหรัฐ ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีหรือการตอบโต้จากประเทศอื่น เช่น ราคาสินค้าในประเทศแพงขึ้น ค่าเงินอ่อนลง คนอเมริกันจะมีแนวโน้มเดินทางน้อยลง ซึ่งนักท่องเที่ยวจากสหรัฐ จัดเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง การลดลงของกลุ่มนี้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจท่องเที่ยวระดับพรีเมียมในไทย เช่น โรงแรมหรู ร้านอาหาร fine dining และทัวร์แบบ exclusive รวมทั้ง กลุ่มนักท่องเที่ยวเฉพาะทาง เช่น มาเป็นอาสาสมัคร หรือกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากทุนต่าง ๆ"

ลุ้นคู่แข่งโดนภาษีสูงกว่า
อย่างไรก็ตามยังมองว่าการขึ้นภาษีทรัมป์ มีทั้งโอกาส และผลกระทบต่อการตลาดท่องเที่ยวไทย ซึ่งหากประเทศคู่แข่งด้านการท่องเที่ยว เช่น เวียดนาม มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากกว่า ไทยอาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่าในสายตานักท่องเที่ยวบางกลุ่ม ขณะเดียวกันด้วยความที่ไทยพึ่งพานักท่องเที่ยวจากประเทศเศรษฐกิจใหญ่ (จีน, ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ) อยู่มาก ย่อมได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวภายในภูมิภาค ไทยต้องไปหาตลาดอื่น ๆ ทดแทนเพิ่มขึ้น เช่น ตะวันออกกลาง อินเดีย หรือ รัสเซีย ดังนั้นเบื้องต้น อาจมีผลกระทบเป้าหมายตัวเลขภาพรวมของการท่องเที่ยวไทย แต่โดยรวมมีแนวโน้มดีกว่าปีที่ผ่านมา

ท่าเรือรับมือภาษีทรัมป์
ด้านแหล่งข่าวจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวว่า กรณีที่มีการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐจะมีผลกระทบต่อภาพรวมปริมาณตู้ขนส่งสินค้าท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง หรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากส่วนใหญ่ปริมาณการนำเข้าและส่งออกสินค้าเป็นการขนส่งในทวีปเอเชีย ซึ่งมีปริมาณตู้สินค้าคงที่อยู่ประมาณ 1.2-1.3 ล้านทีอียูต่อปี

?ปัจจุบันผู้ส่งออกอยู่ระหว่างเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนท่าเรือมาบตาพุดเป็นท่าเรืออุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการนำเข้าส่งออกสินค้า เช่น ถ่านหินและน้ำมัน คาดว่าอีกสักระยะหนึ่งอาจได้รับผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาจากกำแพงภาษี ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาคเอกชนและรัฐบาลในการเจรจาและการวางแผน ตลอดจนการบริหารจัดการปริมาณสินค้า เชื่อว่าจะสามารถดำเนินการได้? แหล่งข่าวจากกทท. กล่าว

ผลงานทรัมป์ มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย กล่าวว่า ในฐานะผู้ประกอบการไทย ประเมินนับตั้งแต่โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ 1. เกิดความโกลาหลไปทั่วโลก ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าพื้นฐานขั้นต่ำในอัตรา 10% 2. พยายามผลักดันการลงทุนของสหรัฐฯ ที่อยู่นอกประเทศ กลับเข้าสู่ประเทศ โดยเฉพาะแรงงานในอุตสาหกรรมระดับสูง ซึ่งมีแนวโน้มว่าน่าจะสามารถดำเนินการได้


วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

?ในด้านอุตสาหกรรมขั้นสูง ตามนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ แรงงานจะต้องมีทักษะที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมนั้น แต่ที่สำคัญคือวัตถุดิบต้นทาง แน่นอนว่าปัจจัยนี้จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก เพราะต้องขึ้นอยู่กับแหล่งวัตถุดิบด้วย ในทางกลับกันก็เกิดความไม่แน่นอนในภาวะเศรษฐกิจของตลาดสหรัฐฯและตลาดโลก ทำให้การคาดการณ์ด้านธุรกิจมีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค?

ดังนั้น แนวโน้มของทั้งโลกและของประเทศไทยต้องปรับตัวทั้งด้านการค้า การลงทุน หลายประเทศต้องเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความแน่นอนในหลายด้านเพื่อให้เกิดสมดุลทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่สหรัฐฯตั้งกำแพงภาษีไว้สูง ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาการส่งออกสินค้า เร่งเจรจาเรื่อง FTA อย่างเร่งด่วน ซึ่งจะต้องทำให้เกิดความมั่นคงให้เร็วที่สุด