ผู้เขียน หัวข้อ: ไทย-อินเดียจับมือผ่าทางตัน FTA หลังยื้อมากว่า 12 ปี ?พาณิชย์? สบช่องขอเปิดตลาดเคมีภัณฑ์-ยาง-ข้าว  (อ่าน 704 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82627
    • ดูรายละเอียด
ไทย-อินเดียจับมือผ่าทางตัน FTA หลังยื้อมากว่า 12 ปี ?พาณิชย์? สบช่องขอเปิดตลาดเคมีภัณฑ์-ยาง-ข้าว
โดย MGR Online

19 กรกฎาคม 2559 10:49 น. (แก้ไขล่าสุด 19 กรกฎาคม 2559 13:30 น.)





ไทยจับมืออินเดียผ่าทางตันเจรจา FTA หลังยืดเยื้อมานานกว่า 12 ปี ย้ำให้คิดถึงประโยชน์ที่จะได้ร่วมกัน ไม่ใช่คิดแต่การได้เปรียบเสียเปรียบ ?พาณิชย์? ได้ทีขอให้เปิดตลาดเคมีภัณฑ์ ยางพารา และข้าว ขณะที่อินเดียขอให้ไทยอนุญาตให้วิศวกรคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงาน
           
        น.ส.ศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13-14 ก.ค. 2559 ที่ผ่านมาได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าไทย-อินเดีย (ITTNC) ครั้งที่ 30 กับนาย Ravi Capoor รองปลัดกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย โดยทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-อินเดียกินเวลามานานกว่า 12 ปีแล้ว ควรจะเร่งสรุปการเจรจาโดยเร็ว เพื่อให้การขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับอินเดียทำให้ดียิ่ง ขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ
       
        ?ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันกำหนดกรอบและแนวทางการเจรจาที่ชัดเจนขึ้น เพื่อให้กลุ่มเจรจาต่างๆ มีทิศทางการเจรจาในเป้าหมายเดียวกัน ยกระดับคุณภาพความตกลง มุ่งสู่ประโยชน์ทางการค้าและการลงทุนสูงสุด ภายใต้หลักคิดที่ทั้งสองฝ่ายเป็นพันธมิตรทางการค้า มิใช่การเจรจาที่คิดแต่การได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งเป็นวิธีคิดที่รังแต่จะทำให้ยากต่อการสรุปผลการเจรจาที่ยืดเยื้อมานานลง ได้?
       
        ทั้งนี้ ในการหารือครั้งนี้ไทยได้ขอให้อินเดียเปิดตลาดเพิ่มเติมให้แก่สินค้าเคมี ภัณฑ์ ยางพารา และข้าวให้ไทย ในขณะที่อินเดียขอให้ไทยอนุญาตให้วิศวกรคอมพิวเตอร์ของอินเดียเข้ามาทำงานใน ประเทศไทย และทั้งสองฝ่ายยังได้ตกลงที่จะปรับปรุงกฎถิ่นกำเนิดสินค้าให้มีถ้อยคำที่ ง่ายขึ้นและปฏิบัติได้ ส่วนเรื่องมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ก็จะหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น เป็นต้น
       
        สำหรับการค้าไทย-อินเดีย ในปี 2558 อินเดียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 ของไทย และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยการค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 7,924.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 8.44 โดยไทยส่งออกมูลค่า 5,295.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 5.68 และนำเข้ามูลค่า 2,628.39 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 13.53 และไทยได้เปรียบดุลการค้า 2,667.48 ล้านเหรียญสหรัฐ