ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 1015 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82586
    • ดูรายละเอียด






วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  2  มิถุนายน  พ.ศ. 2557
[/size]ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
[/size]1. สภาพภูมิอากาศ[/size]- ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนถึงร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
[/size]2. การใช้ยาง[/size]- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น เปิดเผยว่ายอดผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นเดือนเมษายน ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากปีก่อนหน้า แตะ 776,484 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน เนื่องจากกระแสเปิดตัวรถรุ่นใหม่ได้ชดเชยผลกระทบด้านลบ หลังจากที่มีการปรับเพิ่มภาษีบริโภคเมื่อวันที่ 1 เมษายน
[/size]3.เศรษฐกิจโลก[/size]- สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ซึ่งเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินรายใหญ่เกือบ 500 แห่ง จาก 70 ประเทศทั่วโลก ได้ปรับลดคาดการณ์ปริมาณเงินทุนของภาคเอกชนที่ไหลเข้าสู่ประเทศตลาดเกิดใหม่ในปี 2557 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากกระแสเงินทุนไหลเข้าที่อ่อนแรงลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 ขณะที่วิกฤตยูเครนกำลังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อปริมาณเงินที่ไหลเข้าสู่รัสเซีย- สำนักงานสถิติแห่งชาติอินเดีย รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปีงบประมาณ 2556-2557 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.9 และ GDP ในช่วงเดือน มกราคม ? มีนาคม ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 4.6- สำนักงานสถิติแห่งชาติและสหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนปรับตัวขึ้นแตะ 50.8 ในเดือนพฤษภาคม จากระดับ 50.4 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในปีนี้ และเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนกำลังมีเสถียรภาพ- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือนเมษายน ลดลงร้อยละ 0.9 ซึ่งย่ำแย่กว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.4 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีการจับจ่ายน้อยลง แต่หากเทียบรายปียอดค้าปลีกปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ปี 2556- สำนักงานสถิติแห่งชาติของสเปน เปิดเผยว่า เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกของปีนี้ อันเนื่องมาจากการปรับตัวขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนพฤษภาคม จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนขยับขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 81.9 จากก่อนหน้านี้ที่ 81.8 ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้บริโภคในสหรัฐฯ ยังคงไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เผยการบริโภคส่วนบุคคลของสหรัฐฯ เดือนเมษายน ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนมีนาคม ซึ่งสวนทางกับที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลเดือนเมษายน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 แต่น้อยกว่าที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังต้องอาศัยเวลาอีกนานกว่าจะขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 65.5 ในเดือนพฤษภาคม จากระดับ 63.0 ในเดือนเมษายน ทำสถิติแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน และสวนทางกับที่คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงสู่ระดับ 61 เนื่องจากยอดการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น และได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์สินค้าตลาดเพิ่มขึ้น
[/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน[/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.87 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.08 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
และเงินเยนอยู่ที่ 102.04 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.43 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
[/size]5. ราคาน้ำมัน[/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน กรกฎาคม ปิดตลาดที่ 102.7 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.87 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเมื่อวันก่อน นอกจากนี้การชะลอตัวของตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐฯ ยังส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายในตลาดซบเซาลง
[/size]6. การเก็งกำไร[/size]- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือน กรกฎาคม 2557 อยู่ที่ 183.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน พฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 192.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 5.9 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 199.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
[/size]7. ข่าว[/size]- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขานรับความพยายามของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในการปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลที่ค่อนข้างสูง แต่เรียกร้องให้ทางรัฐบาลสร้างหลักประกันด้านทรัพยากรทางการเงิน เพื่อรับมือกับรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่อาจจะลดลงท่ามกลางวิกฤตการคลังของประเทศ- ผลสำรวจจากกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ชี้ว่า บริษัทรายใหญ่ประมาณร้อยละ 40 ของญี่ปุ่น วางแผนที่จะปรับขึ้นค่าแรงพื้นฐานในการเจรจาค่าจ้างช่วงฤดูใบไม้ผลิตประจำปีในปีนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณว่านโยบายเศรษฐกิจญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันว่า ฮาแบะโนมิกส์ ส่งผลในด้านบวก
[/size]8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ[/size]- ราคาปรับตัวลดลง แต่ราคายางในระยะนี้ยังลดได้ไม่มากเหมือนราคาตลาดต่างประเทศ เพราะผลผลิตออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการยังเร่งซื้อเพราะหลายรายขาดแคลนยาง
[/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง เพราะนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก จึงชะลอการซื้อและเทขายเพื่อลดความเสี่ยง หลังจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สหรัฐฯ ไตรมาส 1 ปี 2557 หดตัวลง ความกังวลต่อภาวะเงินฝืดในยูโรโซน เศรษฐกิจจีนที่เผชิญกับภาวะขาลง ญี่ปุ่นมีความเสี่ยงจากการขึ้นภาษีบริโภค ขณะที่ภาคการส่งออกของไทยลดลง และการระบายยางในสต๊อคยังเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ราคายางไม่ปรับลดลงมาก เพราะมีแรงสนับสนุนจากเงินบาทอ่อนค่า ผลผลิตออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย และราคาน้ำยางสดอยู่ที่กิโลกรัมละ 62 - 65 บาท
                                  คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง  สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/size]

































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































[/size]
[/td][/tr][/table]