ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 901 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82591
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  26  สิงหาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1.   สภาพภูมิอากาศ
 
- จากอิทธิพลมรสุมและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนตกกระจาย โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตั้งแต่ จังหวัดชุมพร จนถึง   จังหวัดสงขลา เป็นอุปสรรค์ต่อการกรีดยาง
 
2.   การใช้ยาง
 
- หลังจากราคายางตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานรับจ้างกรีดยาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศพม่าที่รับจ้างกรีดยางบางส่วนทยอยเดิน ทางกลับประเทศ เนื่องจากรายได้ไม่พอกับการครองชีพทำให้แรงงานรับจ้างกรีดยางเริ่มขาดแคลน
 
3.เศรษฐกิจโลก
 
- สถานบัน ISO   ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวลงสู่ระดับ 106.3 ในเดือนสิงหาคม   จากระดับ 108.0 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4   และต่ำกว่าระดับ 107.0 ที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้
- การประชุมผู้ว่าการธนาคารกลางประจำปีที่สหรัฐฯ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21-23   สิงหาคม ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่โดดเด่นในการประชุมคือตลาดแรงงาน ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางอังกฤษมีแนวโน้มที่จะคุมเข้มด้านนโยบายต่อไปภายในปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศส่งสัญญาณที่แข็งแกร่งขึ้นในทางตรงกันข้าม ผู้ว่าการธนาคารกลางยุโรปและผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น กล่าวว่าอาจจะใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเนื่องจากปัจจัยภายนอกที่ บีบบังคับ
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)   สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศ ในเดือน กรกฎาคม   เพิ่มขึ้นแตะ +0.39 จาก +0.21 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งส่งสัญญาณถึงการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้น
- ผลสำรวจของมาร์กิต ระบุว่า   ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภารบริการเบื้องต้นของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม ลดลงแตะ 58.0   จาก 60.8 ในเดือนกรกฎาคม บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของภาคบริการได้ชะลอลงบ้าง นับตั้งแต่แตะระดับสูงสุดในช่วงหลังวิกฤตการเงินเมื่อเดือนมิถุนายน
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 31.93   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.08 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 และเงินเยนอยู่ที่ 103.88 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.25 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

 
5.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน   ตุลาคม ปิดตลาดที่ 93.35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 0.30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิงของ สหรัฐฯ   จะปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะอ่อนแอของอุปสงค์พลังงานในสหรัฐฯ ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์(Brent) ส่งมอบเดือน ตุลาคม ที่ตลาดลอนดอนเพิ่มขึ้น 0.36 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่   102.62 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล
 
6.   การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM    ส่งมอบเดือน กันยายน 2557 เปิดตลาดที่ 187.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน มกราคม 2558 เปิดตลาดที่   198.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.6 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 181.7   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ในเดือน กรกฎาคม ลดลงร้อยละ 2.4 สู่ระดับ 412,000 ยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะซบเซา
 
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางมีแนวโน้มปรับลดลงประมาณ   1 บาท ส่วนหนึ่งมาจากกระแสข่าวการขายยางในสต๊อค ส่งผลให้มีผู้ประกอบการระมัดระวังในการซื้อขาย  อย่างไรก็ตามน่าจะส่งผลในระยะสั้นๆ  เพราะความเป็นจริงแล้วในระยะนี้ปริมาณยางในตลาดและโรงงานต่าง ๆ มีอยู่น้อยมาก และผลผลิตใหม่ก็ลดลง
 
 
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันที่ปรับตัว ลดลง รวมทั้งเงินเยนผันผวนและแข็งค่าขึ้น ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะซบเซาของภาคธนาคารของจีนที่รายงาน ว่า ธนาคารรายใหญ่สุด 4 แห่งได้ปล่อยสินเชื่อลดลงในช่วง 17 วันแรกของเดือน สิงหาคม และสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดที่ซบเซา

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]