ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 709 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82584
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  1  กันยายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1.สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งร้อยละ   60-70 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
 
2.การใช้ยาง
 
- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น   เปิดเผยว่า ยอดส่งออกรถยนต์ รถบรรทุก และรถบัส
 ในเดือนกรกฎาคม ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบรายปีแตะ 415,735 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้น
 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ขณะเดียวกันการผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม ปรับลดลง
 ร้อยละ 5.9 เทียบรายปีแตะ 814,812 คัน ซึ่งลดลงเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน

 
3.สต๊อกยาง
 
- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2558 มีจำนวน 191,236 ตัน เพิ่มขึ้น 1,152 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61 จากระดับ 190,084 ตัน ณ วันที่ 21 สิงหาคม   2558
 
4.เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป   เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนทรงตัวที่ระดับร้อยละ 0.2 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0   ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และอาจจะส่งผลให้ ECB ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่  ทั้งนี้ภาวะเงินเฟ้อต่ำถือเป็นสัญญาณอุปสงค์ที่อ่อนแอ และอาจกระทบต่อเศรษฐกิจเนื่องจากผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย
- สำนักปริวรรตเงินตราแห่งรัฐบาลจีน เปิดเผยว่า จีนมียอดขาดดุลการค้าภาคบริการที่   1.76 หมื่นล้านดอลลาร์ ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 1.49   หมื่นล้านดอลลาร์ ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ในช่วง 7   เดือนแรกของปีนี้จีนขาดดุลการค้าภาคบริการทั้งสิ้น 1.092 แสนล้านดอลลาร์
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือนกรกฎาคม   ปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบรายเดือนหลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.0   ในเดือนมิถุนายน
- ธนาคารกลางจีน ประกาศอัดฉีดเงิน 1.40 แสนล้านหยวน เข้าสู่ระบบธนาคารของประเทศเมื่อวานนี้ผ่านปฏิบัติการอัดฉีดสภาพคล่องระยะ สั้น   6 วัน โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 2.35
- รัฐบาลอินเดีย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจมีการขยายร้อยละ 7.0 ในไตรมาส2 โดยชะลอตัวลงจากระดับร้อยละ 7.5 ของไตรมาส 1 และต่ำกว่าร้อยละ 7.4 ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเขตชิคาโก   อ่อนตัวลงสู่ระดับ 54.4 ในเดือนสิงหาคม จาก 54.7 ในเดือนกรกฎาคม โดยถูกกระทบจากการลดลงการผลิตและคำสั่งซื้อใหม่
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ   (เฟด) สาขาดัสลัส เปิดเผยว่า ภาคการผลิตในรัฐเท็กซัส ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -0.8   ในเดือนสิงหาคม จาก -1.9 เดือนกรกฎาคม
-   สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน และสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS)   เปิดเผยว่า
 
  • ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนในเดือนสิงหาคม   ปรับตัวลงแตะ 49.7 จากระดับ 50.0 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งบ่งชี้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตของจีนเผชิญภาวะหดตัว
  • ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)   ภาคบริการของจีนในเดือนสิงหาคม ลดลงแตะ 53.4 จาก 53.9 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นการปรับตัวอ่อนแรงอย่างต่อเนื่องของภาคบริการ
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่   35.76 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.11 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
-   เงินเยนอยู่ที่ 120.70  เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ   แข็งค่า 0.49 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดตลาดที่49.2 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.98 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำสถิติปรับตัวขึ้นติดต่อกัน   3 วันทำการ  เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานล้นตลาด หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) ประกาศปรับลดคาดการณ์การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ
-   ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้น 4.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่   54.15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) ประกาศปรับลดคาดการณ์การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ทั้งนี้ได้ลดคาดการณ์การผลิตน้ำมันในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ราว 40,000 ? 130,000 บาร์เรลต่อวัน ในแต่ละเดือน เนื่องจาก EIA ใช้วิธีสำรวจแบบใหม่
- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) เปิดเผยว่า โอเปคมีความกังวลต่อการดิ่งลงของราคาน้ำมันในระยะนี้ และทางกลุ่มก็พร้อมที่จะหารือกับผู้ผลิตน้ำมันทุกรายเกี่ยวกับสถานการณ์ของ ตลาดน้ำมัน โดยในรายงานของโอเปคทำให้มีการคาดการณ์ว่าโอเปคอาจจะเปลี่ยนแปลงจุดยืนในการ ผลิตน้ำมัน   โดยจะตัดสินใจลดกำลังการผลิตเพื่อหนุนราคาให้เพิ่มขึ้น
 
7.   การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม 2558 อยู่ที่ 168.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 173.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 130.5   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- ฟิทซ์ เรทติ้งส์   สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ระบุว่าการที่จีนกำหนดเพดานหนี้รัฐบาลท้องถิ่นของจีนจะส่งผลบวกต่อความน่า เชื่อถือของรัฐบาลท้องถิ่นจีน
 
9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพราะยังมีแรงหนุนจากผู้ประกอบการหลายรายขาดแคลนวัตถุดิบ เห็นได้จากแต่ละวันมีผู้เข้ามาประมูลจำนวนมากในระยะนี้
 
  แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกมาจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและแหล่งข่าวรายงานว่าผู้ ประกอบการยังคงมีความต้องการซื้อ เพราะขาดแคลนวัตถุดิบป้อนโรงงาน ส่วนปัจจัยลบมาจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น หากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน นี้


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา