ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 635 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82591
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  6  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ

- ภาคใต้มีฝนเกือบทั่วไปและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนเล็กน้อย ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง

- สมาคมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์อังกฤษเปิดเผยว่า ตัวเลขจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ลดลงสู่ระดับ 177,664 คันในเดือนตุลาคม จากระดับ 179,714 คันในช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 43 ติดต่อกัน
3. เศรษฐกิจโลก

- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรประบุว่า ยอดค้าปลีกยูโรโซนเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน เป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคการผลิตเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เป็นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่ลดลงอย่างมาก
- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า การค้าในภาคบริการไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังจากเติบโตร้อยละ 15.8 ไตรมาส 2 และร้อยละ 10.6 ในไตรมาสแรก
- คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ประกาศปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการขยายตัวร้อยละ 2.5 ขณะที่คาดการณ์เดือนพฤษภาคมที่ร้อยละ 2.6
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพแรงงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส แต่ชะลอตัวลงจากที่ปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.5 ในไตรมาส 2 และเมื่อเทียบเป็นรายปีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในไตรมาส 3
4. อัตราแลกเปลี่ยน

- เงินบาทอยู่ที่ 35.57 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 121.65 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.18 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคมปิดตลาดที่ 45.20 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.12 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มมากกว่าคาดในสัปดาห์ก่อน
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดที่ 47.99ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.60 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร

- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 145.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.5 เยนต่อ กิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 153.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 121.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว

- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า เขาเห็นด้วยอย่างเต็มที่กับการแสดงความคิดเห็นของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประเด็นความเป็นไปได้เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเดือนธันวาคม
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 16,000 ราย สู่ระดับ 276,000 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 260,0002 ราย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 40 ปี
- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า สัดส่วนผู้ซื้อบ้านหลังแรกในสหรัฐฯ ลดลงสู่ร้อยละ 32.0 เมื่อเทียบกับตัวเลขการซื้อบ้านทั้งหมดในปีนี้ นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี จากร้อยละ 33.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ

- ราคายางปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามตลาดต่างประเทศ เพราะไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด นักลงทุนรอดูสถานการณ์ว่าราคายาจะปรับลงถึงระดับต่ำสุดเมื่อใด และราคาจะฟื้นตัวขึ้นเมื่อใด ขณะที่ยังคงขายออกยาก และเสนอซื้อในราคาต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับกระแสข่าวธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ ส่งผลเชิงลบต่อตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงยางพารา อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคใต้ของไทยยังคงมีฝนตกหนักเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ทำให้ปริมาณผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อย


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา