ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2014, 02:28:23 PM »

คสช. ถกแก้ปัญหายางพาราทั้งระบบ เน้นไม่กระทบกลไกตลาด หาแนวทางใช้ในประเทศ-หาตลาดใหม่


ที่ประชุมคณะกรรมการยางธรรมชาติ หารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ พร้อมเห็นชอบพัฒนายางพาราเพื่อความยั่งยืน รอง หน. ฝ่ายเศรฐกิจ คสช. แนะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อกลไกการตลาดในปัจจุบัน พร้อมหาแนวทางการใช้ยางในประเทศ-มุ่งหาตลาดใหม่


วันนี้ (7 ส.ค.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดนโยบายยางพาราธรรมชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยางธรรมชาติครั้งที่ 1/2557 โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ ภาคเอกชน สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพารา สมาคมของผู้ประกอบการยางพารา ร่วมหารือ โดยที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ สืบเนื่องจากที่ผ่านมา ยังพบปัญหาทั้งเรื่องการตลาดที่ไม่สะท้อนราคายางพาราที่แท้จริง การใช้ยางพาราในประเทศที่มีจำนวนน้อย รวมถึงการบริหารจัดการยางพาราที่ค้างอยู่ในคลังของรัฐบาล


ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ แนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ประกอบด้วย การแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในการบริหารจัดการยางพาราของรัฐช่วง ส.ค. ถึง ธ.ค. 2557 รวมถึงการบริหารจัดการในช่วงฤดูการผลิต เพื่อยกระดับราคาและเสริมสภาพคล่องทางด้านการตลาด การเพิ่มมูลค่าและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งมาตรการที่ใช้เป็นการให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรเป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมและแปรรูปยางพารา นอกจากนี้ ยังเห็นชอบในหลักการในเรื่องการพัฒนายางพาราเพื่อความยั่งยืน ที่จะดำเนินการในหลายลักษณะ อาทิ พัฒนาระบบตลาดยางพารา การจัดหาตลาดใหม่เพื่อการเพิ่มการส่งออก การจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การควบคุมปริมาณการผลิต การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการผลิตของเกษตรกร และการผลิตเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


การประชุมวันนี้ ทุกภาคส่วนได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ซึ่งประธานได้มอบให้ฝ่ายเลขาฯ นำข้อคิดเห็นไปพิจารณาบรรจุไว้ในแนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ โดยจะมีประชุมหารือเพื่อพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง เพื่อนำเสนอต่อ คสช. ต่อไป นอกจากนี้ ประธานยังได้กล่าวถึงการบริหารจัดการคลังยางของรัฐบาลว่า จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อกลไกการตลาดในปัจจุบัน พร้อมให้พิจารณาหาแนวทางการใช้ยางพาราในประเทศให้มากขึ้น มุ่งหาตลาดใหม่ ควบคู่ไปกับการเร่งผลักดัน ให้มีสถาบันที่ดูแลด้านผลิตภัณฑ์ยางในทุกมิติ โดยเฉพาะมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยางพารา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศต่อไป




ASTV ผู้จัดการออนไลน์