ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2014, 12:28:33 PM »ชงสารพัดโครงการล้างยาง 2.1 แสนตัน
ที่มา>>โพสต์ทูเดย์
เอกชนภาคใต้ดันสารพัดโครงผ่าน คสช.ล้างสต๊อกยางพารา 2.1 แสนตัน แก้ราคาตกต่ำ
นายขำ นุชิตศิริภัทรา อุปนายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาคเอกชนได้เสนอผ่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละแห่งถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถึงแนวทางล้างสต็อกยางพาราที่ค้างอยู่จำนวน 2.1 แสนตัน ทั้งนำไปผลิตเป็นยางแอลฟัลด์ ยางมะตอยสร้างถนน สนามกีฬา ฝายน้ำ ตัวหนอน และคอสะพาน เป็นต้น
นายขำ กล่าวว่า แนวทางหนึ่งที่จะนำเข้าหรือกับคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดตรัง เพื่อนำเสนอต่อคสช. ในวันที่ 13 ส.ค. นี้ คือนำยางพาราไปแปรรูปเป็นแท่ง เพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นทั่วประเทศน่าจะเป็นผล โดยควรศึกษาวิจัยว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใด และจะคุ้มทุนหรือไม่ แท่งกั้นน้ำด้วยยางพาราสามารถยืดหยุ่นรองรับกำลังของคลื่นน้ำทะเลที่แรงกระทบฝั่งได้
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) กล่าวว่า แนวทางการเอายางพารามาแปรรูปมาเป็นแท่งกั้นน้ำชายทะเลฝั่งทะเล จะต้องมีการเสริมน้ำหนักให้ยางพาราในแท่งนั้น เพราะยางพาราจะลอยน้ำ อย่างไรก็ตามจะทำให้ยางพาราจำนวนดังกล่าวประสบความสำเร็จและมีคุณค่ามากที่สุด คือการผลิตล้อยาง เบื้องต้นจะนำไปใช้ในวงราชการ รัฐวิสาหกิจก่อน เช่น องค์กรปกครงส่วนท้องถิ่น (อปท.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และทุกส่วนราชการ ทุกส่วนรัฐวิสาหกิจ
"อย่างไรก็ตาม แนวทางอื่นๆ ที่จะดำเนินการล้างสต็อกยางพาราจำนวน 2.1 แสนตันนั้น รายละเอียดโครงการต่างๆ นั้นอยู่ที่ทาง คสช. แล้ว โดยมาตรการ รวมทั้งนโยบายต่างๆ จะเริ่มเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมคาดว่าจะเป็นไปในเร็วๆ นี้" แหล่งข่าวจาก สกย. เปิดเผย
ที่มา>>โพสต์ทูเดย์
เอกชนภาคใต้ดันสารพัดโครงผ่าน คสช.ล้างสต๊อกยางพารา 2.1 แสนตัน แก้ราคาตกต่ำ
นายขำ นุชิตศิริภัทรา อุปนายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาคเอกชนได้เสนอผ่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละแห่งถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถึงแนวทางล้างสต็อกยางพาราที่ค้างอยู่จำนวน 2.1 แสนตัน ทั้งนำไปผลิตเป็นยางแอลฟัลด์ ยางมะตอยสร้างถนน สนามกีฬา ฝายน้ำ ตัวหนอน และคอสะพาน เป็นต้น
นายขำ กล่าวว่า แนวทางหนึ่งที่จะนำเข้าหรือกับคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดตรัง เพื่อนำเสนอต่อคสช. ในวันที่ 13 ส.ค. นี้ คือนำยางพาราไปแปรรูปเป็นแท่ง เพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นทั่วประเทศน่าจะเป็นผล โดยควรศึกษาวิจัยว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใด และจะคุ้มทุนหรือไม่ แท่งกั้นน้ำด้วยยางพาราสามารถยืดหยุ่นรองรับกำลังของคลื่นน้ำทะเลที่แรงกระทบฝั่งได้
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) กล่าวว่า แนวทางการเอายางพารามาแปรรูปมาเป็นแท่งกั้นน้ำชายทะเลฝั่งทะเล จะต้องมีการเสริมน้ำหนักให้ยางพาราในแท่งนั้น เพราะยางพาราจะลอยน้ำ อย่างไรก็ตามจะทำให้ยางพาราจำนวนดังกล่าวประสบความสำเร็จและมีคุณค่ามากที่สุด คือการผลิตล้อยาง เบื้องต้นจะนำไปใช้ในวงราชการ รัฐวิสาหกิจก่อน เช่น องค์กรปกครงส่วนท้องถิ่น (อปท.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และทุกส่วนราชการ ทุกส่วนรัฐวิสาหกิจ
"อย่างไรก็ตาม แนวทางอื่นๆ ที่จะดำเนินการล้างสต็อกยางพาราจำนวน 2.1 แสนตันนั้น รายละเอียดโครงการต่างๆ นั้นอยู่ที่ทาง คสช. แล้ว โดยมาตรการ รวมทั้งนโยบายต่างๆ จะเริ่มเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมคาดว่าจะเป็นไปในเร็วๆ นี้" แหล่งข่าวจาก สกย. เปิดเผย