ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2014, 08:12:37 PM »

ผอ.สำนักงานนโยบายฯ เผยราคายางพาราอยู่ในภาวะขาลง (13/08/2557)

วันพุธที่ 13 สิงหาคม 2014 เวลา 11:40 น.


ผอ.สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยภาพรวมเศรษฐกิจโลกปีนี้ยังไม่ดีนัก ส่งผลให้ราคายางพาราตลาดสำคัญอยู่ในภาวะขาลง แนะเกษตรกรผู้ปลูกยางหาพืชเศรษฐกิจอื่นปลูกทดแทน ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ประเทศไทยถือว่าเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก ทั้งนี้ ราคายางพาราในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากปรับตัวสูงสุดในช่วงต้นปี 2554 เนื่องจากผลผลิตยางธรรมชาติของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


และในปี 2556 มีปริมาณผลผลิตถึง 3.6 ล้านตัน และปริมาณผลผลิตของไทยมีสัดส่วนสูงที่สุดในโลกถึงร้อยละ 31.6 รองลงมาคือ อินโดนีเซีย มีสัดส่วนปริมาณผลผลิตร้อยละ 26.6


นอกจากนี้ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมีสัดส่วนปริมาณผลผลิตสูงเช่นกัน ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวช้า บางประเทศเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวและมีความเปราะบาง รวมถึงประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย อาทิ จีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น จากวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลให้ความต้องการยางพาราของตลาดโลกลดลง และเกิดปัญหาสตอกยางพาราอีกด้วย


อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติเงินกว่า 6,000 ล้านบาท ชดเชยให้แก่ชาวสวนยางพาราทั่วประเทศ แต่เป็นการแก้ปัญหาเพียงระยะสั้นเท่านั้น ภาครัฐควรส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ยางพาราในประเทศมากขึ้น คิดค้น พัฒนา และวิจัย สร้างนวัตกรรมสำหรับยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยเฉพาะการผลิตสินค้าที่เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ และเกษตรกรจะต้องปรับตัวโดยการลดต้นทุนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด ปลูกพืชชนิดอื่นเสริมเพื่อหารายได้เพิ่ม ตลอดจนลดการสร้างหนี้.




ที่มา : สำนักข่าวไทย (วันที่ 10 สิงหาคม 2557)