ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2014, 11:49:53 AM »

คสช.ใจป๋า เทงบ 5,000 ล้าน ตั้งโรงงานอุตฯ แปรรูปยางแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน


ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ปลื้ม คสช. เทงบ 5,000 ล้าน ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางรมคัน ยางแท่ง น้ำยาง คู่ขนานตลาดส่งออก ในรูปแบบตลาด ?จินเต่า? ระดมเงิน 3,000 ล้านบาท อนาคตของชาวสวนยางพารา ผลิตล้อยางตลาดในประเทศ และต่างประเทศ สนับสนุนเติมฝันแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน
       
       นาย เพิก เลิศวังพง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (ชสยท.) จำกัด เปิดเผยว่า กรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้เงินสนับสนุนเกี่ยวกับยางพาราแก่สถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาท และภาคเอกชน 15,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีนั้น เป็นเรื่องที่ คสช.ทำถูกต้องที่ให้เกษตรกร และสถาบันยางพารายืนอยู่ได้อย่างมั่นคงถาวร
       
       ?สถาบัน เกษตรกร มีโครงการตั้งโรงงานแปรรูปอุตสาหกรรมยางพารา 10 แห่ง โดยกู้แห่งละ 500 ล้านบาท เป็นค่าโรงงาน 100 ล้านบาท และเป็นเงินทุนหมุนเวียน 400 ล้านบาท หากไม่มีเงินทุนหมุนเวียน สถาบันเกษตรกรก็จะประสบต่อความล้มเหลว?
       
       นาย เพิก กล่าวว่า โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปของสถาบันเกษตรกร จะแปรรูปเป็นยางรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น พร้อมส่งออกได้ทันทีเมื่อมีคำสั่งซื้อ ผิดกับที่ผ่านมา จะต้องผ่านโรงงานอุตสาหกรรมก่อน และขณะเดียวกัน จะต้องตั้งตลาดส่งออกคู่ขนานกันไปด้วย ตลาดส่งออกนี้เป็นที่รวมศูนย์ของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปทั้ง 10 แห่ง และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราทั้ง 10 แห่ง ก็สามารถส่งออกได้โดยตัวเองอยู่แล้ว ศูนย์รวมส่งออกยางจะต้องเป็นที่รู้จักของต่างประเทศ เมื่อต้องการซื้อสั่งซื้อจากศูนย์รวมได้ทันที มีรูปแบบเดียวไม่ต่างกับศูนย์ยางพาราจินเต่า ประเทศจีน เพราะปัจจุบันประเทศไทย มีแต่ตลาดท้องถิ่นยางพารา
       
       ?เงินกู้ 15,000 ล้านบาทสนับสนุนภาคเอกชน สามารถกู้ไปลงทุน พัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเนื่องจากเครื่องจักรค่อนข้างจะล้าหลัง โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมถุงมือยางโรงงานอุตสาหกรรมผลิตล้อ และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้จากยางพาราคิดดอกเบี้ยร้อย 1 ต่อปีแต่ต้องเป็นกิจการของคนไทย?
       
       นาย เพิก กล่าวอีกว่า จะประสบกับความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่เงื่อนไขการให้กู้ยืมเงิน หากกู้ยืมเงินได้ภายใน 3 เดือน จะสร้างโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 6- 12 เดือน เสร็จภายในปี 2558 จะได้เห็นรูปธรรมของธุรกิจยางพารา อยู่ที่เงื่อนไขการยืมเงินเท่านั้นที่จะประสบกับความสำเร็จ
       
       ?การก่อตั้งโรงงาอุตสาหกรรมผลิตล้อรถของชสยท. ต้องระดมความคิดเห็นจากทุนจากชาวสวนยางพาราเพื่อให้ชาวสวนยางพาราทุกคนมีส่วนร่วม และเป็นเจ้าของ ทั้งรายใหญ่รายเล็กเข้ามามีส่วนร่วม เป็นการสร้างอนาคตร่วมกัน จึงอยากให้ชาวสวนยางพารารับทราบและให้ความสนใจ?สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)