ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 15, 2014, 12:18:35 PM »

จัดแพ็กเกจอุ้มสวนยางไม่น้อยหน้าชาวนา


รัฐเร่งเข็นแพ็กเกจช่วยเหลือชาวสวนยาง แย้ม 4 มาตรการดูแล จ่ายอุดหนุนปัจจัยการผลิตไร่ละ 1 พันบาทเหมือนชาวนา พร้อมปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ทั้งชาวสวนและผู้ประกอบการ


มาตรการช่วยเหลือชาวสวนยางจากสถานการณ์ราคาตกต่ำจะถูกนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ในสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาในสัปดาห์หน้า โดยจะเสนอเป็นแพ็กเกจทั้งมาตรการระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว โดยนายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมการแก้ปัญหายางพารา ว่า มาตรการที่กระทรวงเกษตรฯ จะเสนอคือ การอุดหนุนปัจจัยการผลิต 1,000 บาทต่อไร่ ช่วยเหลือไม่เกิน 15 ไร่ต่อครัวเรือน และมาตรการปล่อยเงินกู้ให้ผู้ประกอบการผ่านธนาคารออมสินวงเงิน 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมาตรการช่วยเหลือเกษตรโดยตรงในการลดต้นทุนปัจจัยการผลิตและปรับโครงสร้างการผลิตยางพารา


ด้านแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า แพ็กเกจช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางประกอบด้วย 4 มาตร ประกอบด้วย 1.การจัดตั้งกองทุน Bubble Fund วงเงิน 6 พันล้านบาท ให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) บริหารจัดการ โดยแหล่งเงินกู้คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 2.จ่ายเงินให้ชาวสวนยาง 1,000 บาทต่อไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ รวมเงินช่วยเหลือประมาณ 10,000 ล้านบาท 3.ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ชาวสวนยาง วงเงิน 1 แสนบาทต่อครัวเรือน เพื่อให้ชาวสวนนำเงินดังกล่าว ไปใช้ในการทำอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้ครัวเรือน หรือใช้เพื่อการปรับโครงสร้างอาชีพชาวสวน ให้สามารถประกอบอาชีพได้ และ 4.การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำต่อผู้ประกอบการ วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท


นายไพฑูรย์ วงศาสุทธิกุล รองเลขาธิการสมาคมยางพาราไทย กล่าวว่า ผลผลิตยางของไทยอาจลดลงมากถึง 10% ในปีนี้ และราคาที่ร่วงลงทำให้เกษตรกรลดการกรีดยาง ตรงข้ามกับคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น ซึ่งการที่ผลผลิตยางในไทยลดลง และการใช้ยางภายในประเทศเพิ่มขึ้น อาจช่วยลดปริมาณสต็อกยางของไทย จะเป็นแรงหนุนต่อราคายาง


สำหรับการจัดการกับความวิตกเกี่ยวกับอุปทานยางที่มากกว่าอุปสงค์นั้น รัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะใช้ระบบโซนนิ่ง เพื่อจำกัดพื้นที่เพาะปลูกต้นยาง แต่การใช้มาตรการดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ยากลำบาก ขณะที่การกำหนดมาตรการจูงใจ อาทิ การอุดหนุนราคาปุ๋ย หรือการให้เงินสดต่อเกษตรกรซึ่งปลูกต้นยางเฉพาะในพื้นที่จัดสรร อาจช่วยให้รัฐบาลสามารถใช้นโยบายโซนนิ่งดังกล่าว และจะทำให้สามารถจัดทำเอกสารเกี่ยวกับพื้นที่ปลูกยางได้ดีขึ้น








Souce: เว็บไซต์คมชัดลึก