ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2019, 08:48:00 AM »

การคำนวณเงินชดเชยประกันรายได้ชาวสวนยาง

ยกตัวอย่าง

สมมติ อ้างอิงราคายาง 3 ชนิด วันที่ 15 ต.ค.2562
ยางแผ่นดิบ 37 บาท
น้ำยาง 36 บาท
ยางก้อนถ้วย DRC 100% 32 บาท


1.#ประกันรายได้ยางแผ่นดิบ 60 บาท 60-37 =23 บาท


ส่วนต่าง 23 บาท ? 20 กก.ต่อเดือน ? 6 เดือน ? 25 ไร่(ไม่เกิน) = 69,000 บาท จ่ายเงินชดเชย 2 เดือนครั้ง รวม 3 ครั้งๆละ 23,000 บาท


2.#ประกันรายได้น้ำยางสด 57 บาท 57-36=21 บาท


ส่วนต่าง 21 บาท ? 20 กก.ต่อเดือน ? 6 เดือน ? 25 ไร่(ไม่เกิน) = 63,000 บาท จ่ายเงินชดเชย 2 เดือนครั้ง รวม 3 ครั้งๆละ 21,000 บาท


3.#ประกันรายได้ยางก้อนถ้วย
DRC 50% 23 บาท ส่วนต่าง 23-16=7 บาท
ส่วนต่าง 7 บาท ? 40 กก.ต่อเดือน ? 6 เดือน ? 25 ไร่(ไม่เกิน) = 42,000 บาท จ่ายเงินชดเชย 2 เดือนครั้ง รวม 3 ครั้งๆละ 14,000 บาท


#หรือมีค่าเท่ากับ
DRC 100% 46 บาท.ส่วนต่าง 46-32 =14 บาท
ส่วนต่าง 14 บาท ? 20 กก.ต่อเดือน ? 6 เดือน ? 25 ไร่(ไม่เกิน) = 42,000 บาท จ่ายเงินชดเชย 2 เดือนครั้ง รวม 3 ครั้งๆละ 14,000 บาท


เงินชดเชยจะโอนเข้าบัญชีธนาคาร ธกส.ของเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง แบ่งระหว่างเจ้าของสวนยาง : คนกรีดยาง 60:40% ถ้าสวนยางเป็นแปลงเล็กเจ้าของกรีดเองจะได้ทั้ง 100%


#โครงการระยะแรก
ต้องเป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ลงทะเบียน(ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูล)กับการยางแห่งประเทศไทยก่อนวันที่ 12 สิงหาคม 2562


การขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมของเกษตรกรชาวสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ์(บัตรสีเขียว) สามารถไปแจ้งได้ที่ กยท.ในวันทำการได้ทุกวัน
และสามารถเข้าร่วมโครงการประกันรายได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กยท.กำหนด


การแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมการปลูกยางในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์(บัตรสีชมพู) ต้องรอประกาศจากการยางแห่งประเทศไทยอีกครั้ง ส่วนจะเข้าร่วมโครงการในเฟสต่อไปได้หรือไม่ ต้องร่วมกันต่อสู้และช่วยผลักดันกันต่อไป


แต่วันนี้ให้โครงการในระยะแรกได้เดินหน้าไปก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยาง ทั่วประเทศ 1.7 ล้านราย(เกือบ 100%) ในพื้นที่ 17 ล้านไร่ที่เปิดกรีดยางแล้ว


สุนทร รักษ์รงค์
เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สคยท.)
16 ตุลาคม 2562