ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวสวนยางเตรียมร้องนายกฯ ใหม่แก้ปัญหาราคาตกต่ำ  (อ่าน 1074 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88258
    • ดูรายละเอียด
ชาวสวนยางเตรียมร้องนายกฯ ใหม่แก้ปัญหาราคาตกต่ำ


เกษตรกรชาวสวนยางพาราเตรียมยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ เรียกร้องให้แก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ[/size]ปัญหา ราคายางพาราตกต่ำยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพารา ทำให้สหกรณ์การเกษตรหลายแห่งใน จ.ตรัง ต่างหันมานำน้ำยางสดส่งขายให้กับพ่อค้าตามตลาดชายแดนประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้ราคาสูงกว่า แต่ต้องส่งขายในปริมาณมาก เนื่องจากระยะทางไกล ซึ่งอาจไม่คุ้มทุน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและพยุงฐานะไม่ให้สหกรณ์ต้องประสบภาวะขาด ทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้ ราคายางแผ่นรมควัน กิโลกรัมละ 54 บาท น้ำยางสด กิโลกรัมละ 48 บาท แต่สหกรณ์ฯ รับซื้อสูงกว่าราคาท้องตลาดกิโลกรัมละ 2 บาท ทั้ง 2 รายการ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร แต่จากปัญหาฝนตกหนักในช่วงนี้ ทำให้สหกรณ์ฯ รับซื้อน้ำยางพาราสดได้น้อยลงหลายเท่าตัว จากเดิมรับซื้ออยู่ที่วันละไม่ต่ำกว่า 9,000 กิโลกรัม เหลือเพียงวันละไม่เกิน 1,500 กิโลกรัม ทำให้สหกรณ์ฯ ทุกแห่งใน จ.ตรัง ต่างหันมาปรับกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอด และมีหลายสหกรณ์ฯ เตรียมปิดกิจการในเร็วๆ นี้ทั้ง นี้ เกษตรกรได้เรียกร้องให้มีการปรับขึ้นราคายางพาราขั้นต่ำต้องไม่ต่ำกว่า 80 บาท/กิโลกรัม โดยกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา จ.ตรัง กว่า 10,000 คน จะร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพารา 14 จังหวัดภาคใต้ เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพื่อเรียกร้องให้แก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำด้วยด้าน นายชำนิ ลูกแป้น พ่อค้ารับซื้อน้ำยางสดชาว อ.สิเกา กล่าวว่า ชาวสวนยางพาราจำนวนมากหันไปพึ่งหนี้นอกระบบ เนื่องจากรายรับไม่พอกับรายจ่าย จึงวอนรัฐบาลช่วยเหลือนาย สมยศ รักษาวงศ์ นายกสมาคมชาวสวนยางนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมจัดทำข้อเสนอของเกษตรกร เพื่อเสนอไปยัง คสช. ประกอบกับร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย ที่เกษตรกรไม่เห็นด้วยอยู่แล้วในหลายประเด็น ขณะที่ปัญหาราคายางตกต่ำในขณะนี้ส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตการครองชีพของ เกษตรกรอย่างหนัก หมูราคากิโลกรัมละ 160 บาท เนื้อวัวกิโลกรัมละ 220 บาท ขณะที่ยางพารากิโลกรัมละ 47 บาทนายก สมาคมชาวสวนยางนครศรีธรรมราช ยังแสดงความเห็นอีกว่า รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการใช้ยางพาราในประเทศมากขึ้น การระบายยางในประเทศออกสู่ตลาดต่างประเทศ ยังมีปัญหาเรื่องสตอกในมือรัฐบาลมีอยู่ 200,000 ตัน ในมือพ่อค้ามีอีกมากที่ส่งออกไม่ได้ จีนเคยสั่งปีละ 1.3 ล้านตัน ขณะนี้เหลือเพียง 1.2 ล้านตัน บวกกับสตอกรัฐอีก 200,000 ตัน ก็ยังเหลืออยู่ในประเทศ นอกจากนั้น สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ควรปรับวิธีการส่งเสริมปลูกยางพารา เดิมจากการปลูกยางเชิงเดี่ยว ควรปรับเป็นปลูกยางพาราเป็นเศรษฐกิจผสมผสาน ระหว่างร่องยางพาราควรมีพืชเชิงซ้อนเพื่อสร้างรายได้เข้าไปด้วย เช่น กระวาน หรืออย่างอื่น. สำนักข่าวไทย