เกร็ดความรู้เล็กๆลองอ่านกันดู
ปกติเราจะกรีดยางตอนกลางคืนก่อนเวลา 06.00 น เพราะให้น้ำยางมาก การกรีดยางตั้งแต่เวลา 6-8 น น้ำยางลดลงเล็กน้อยคือ ประมาณ 3 % กรีดยางเวลา 9-11 น น้ำยางลดลง 20 % กรีดยางตั้งแต่ 12-14 น น้ำยางลดลง 31 % กรีดยางเวลา 15-17 น น้ำยางลดลง 23 % กรีดยางตั้งแต่ 18-20 น น้ำยางลดลง 6 % หลังจาก 20.00- 06.00 น น้ำยางกรีดได้ผลผลิตปกติ การที่น้ำยางลดลงเมื่อกรีดตอนกลางวัน เพราะมีการคายน้ำของใบทำให้แรงดันของท่อน้ำยางในต้นลดลง ดังนั้นใครทำสวนยางถ้าต้องกรีดเอง ก็ต้อง หากินตอนรุ่งสางนะครับ คือต้องตื่นก่อนไก่จะได้ผลผลิตดีที่สุด ตื่นสายเมื่อไร รายได้ลดลง
ฤดูกาลในแต่ละรอบปีหนึ่ง ๆ มีผลต่อความชุ่มชื้นในดิน, อุณห???ูมิทั้งในดิน,อากาศ และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ หากจะเริ่มพิจารณาความเข้มข้นของน้ำยางจากต้นฤดูฝนซึ่งเป็นรอยต่อระหว่าง หน้าร้อนและหน้าฝน พบว่าในช่วงนี้ความชุ่มชื้นของดินเริ่มมีบ้าง ต้นยางพาราเริ่มได้รับน้ำบ้างแต่เปลือกต้นยางก็ยังคงแข็งอยู่ ซึ่งทำให้ผนังเซลของท่อน้ำยางเก็บน้ำไว้ได้น้อย เมื่อกรีดยางในช่วงนี้ น้ำยางก็จะหยุดไหลในระยะเวลาที่ไม่นาน เพราะน้ำในผนังเซลดังกล่าวไม่สามารถซึมผ่านหรือซึมผ่านผนังเซลได้น้อย จึงทำให้น้ำในน้ำยางมีน้อยหรือจะได้น้ำยางที่มีความเข้มข้นสูงนั่นเอง โดยพันธุ์ยางที่มีความเข้มข้นสูงก็จะหยุดไหลเร็วกว่าพันธุ์ยางที่มีความเข้ม ข้นต่ำ ทำให้พันธุ์ยางที่มีความเข้มข้นต่ำมีผลผลิตมากกว่าพันธุ์ยางที่มีความเข้ม ข้นสูง
ครั้นเมื่อต้นยางเข้าสู่ช่วงกลางฤดูฝน ดินได้รับน้ำฝนมากขึ้นจนอิ่มตัว ส่งผลให้เปลือกต้นยางมีความนุ่มมากขึ้นซึ่งทำให้มีปริมาณน้ำในผนังเซลของท่อ น้ำยางมากขึ้น เมื่อกรีดและน้ำยางไหล น้ำก็จะซึมผ่านผนังเซลท่อน้ำยางได้ดีขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของน้ำยางลดลง น้ำยางก็จะไหลได้นานขึ้น ทำให้ได้รับผลผลิตน้ำยางมากขึ้น ในระยะนี้พันธุ์ยางที่มีความเข้มข้นสูงก็จะให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ยางที่มี ความเข้มข้นต่ำ
เมื่อปลายฤดูฝนมาถึงและลมหนาวเข้ามาเยือน ความหนาวจะทำให้น้ำยางแข็งตัวช้าลง จึงทำให้ระยะเวลาที่น้ำยางไหลนานขึ้น ช่วงแรกของการเปิดกรีดความเข้มข้นน้ำยางจะสูง ต่อมา ความเข้มข้นจะลดลง(อาจลดลง 3-4 %) แต่ผลผลิตน้ำยางจะมากขึ้นไปอีก บางสวนน้ำยางจะล้นถ้วยก็มี ช่วงนี้นับเป็นช่วงโอกาสทองของชาวสวนยางพารา ช่วงหนึ่ง เมื่อผ่านหน้าหนาวก็จะเริ่มเข้าหน้าร้อน อุณห???ูมิของอากาศเริ่มร้อนขึ้น แสงแดดส่องลงถึงพื้นดินมากขึ้น จึงทำให้อุณห???ูมิในสวนยางพาราร้อนขึ้น กอปรกับลมหนาวหยุดพัด อากาศเริ่มแห้งมากขึ้น น้ำยางก็จะหยุดไหลเร็วขึ้น ต้นยางเริ่มผลัดใบ ไม่มีการสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร ทำให้ได้น้ำยางที่มีความเข้มข้นต่ำ(อาจอยู่ที่่ 25-28 %) และผลผลิตก็จะน้อยลงด้วยเช่นกัน