ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 843 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82931
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  21  ตุลาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า   ส่วนภาคใต้มีฝนเกือบทั่วไป ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง   ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- เจเนอรัล มอร์เตอร์ส รายงานยอดจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลกไตรมาส   3 อยู่ที่ 2,449,595 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน นับเป็นการสร้างสถิติยอดจำหน่ายประจำไตรมาส 3 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2523 โดยเฉพาะยอดจำหน่ายในจีนไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.0 และเพิ่มขึ้นร้อยละ   12.0 นับตั้งแต่ต้นปี
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- ธนาคารกลางจีนวางแผนที่จะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบธนาคารวงเงิน   2 แสนล้านหยวน หรือ 3.26 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ภายหลังจากที่ธนาคารกลางได้อัดฉีดให้กับธนาคารรายใหญ่ของรัฐบาล 5 แห่ง ในวงเงิน   5 แสนล้านหยวนเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศคงการประเมินเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในระดับภูมิภาคของประเทศ โดยได้ปรับลดการประเมินเพียง 1 ใน 9 ภูมิภาค พร้อมเสริมว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการฟื้นตัวปานกลางจากนโยบายผ่อนคลายทางการ เงินเชิงรุกของ   BOJ ที่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีปัจจัยอ่อนแรงอยู่บ้างจากการปรับขึ้นภาษีบริโภค
- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียลงสู่ระดับ Baa 2 จากเดิมที่ Baa 1 โดยยังคงแนวโน้มในเชิงลบเนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ซบเซา และสำรองเงินทุนที่ลดน้อยลง ขณะที่นานาประเทศใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอย่างต่อเนื่อง
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB.) เริ่มซื้อตราสารหนี้ที่ค้ำประกันด้วยสินเชื่อคุณภาพ หลังจากที่ได้ออกมาประกาศว่าจะซื้อสินทรัพย์เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของ เศรษฐกิจยุโรป
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลีเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.5 จากเดือนกรกฎาคมที่หดตัวลง โดยเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจอิตาลีซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยูโรโซนยังคงอยู่ในภาวะซบเซา
- ธนาคารกลางเยอรมัน หรือบุนเดสแบงค์ ระบุว่า สถานการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจเยอรมันในช่วงที่เหลือของปีนี้จะมีความคลาย คลึงกับไตรมาส   2 ซึ่งเศรษฐกิจของเยอรมันหดตัวลงเล็กน้อย
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.27 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.06   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 106.78 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.43 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 82.71 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง   0.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA.) ปรับลดคาดการณ์ความต้องการน้ำมันทั่วโลกปีนี้และปีหน้า
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน   ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดที่ 85.40
 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.76 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- สำนักงานพลังงานสากล (IEA.) ปรับลดคาดการณ์ความต้องการน้ำมันทั่วโลกปีนี้และปีหน้า โดยขั้นต้นได้ปรับลดคาดการณ์ความต้องการน้ำมันในอีก 2 เดือนข้างหน้าลง 200,000 บาร์เรลต่อวัน
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 181.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 190.8 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 1.6 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 165.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 2.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- ปริมาณการผลิตเหล็กดิบของญี่ปุ่นในช่วงเดือนเมษายน   - กันยายน ปรับตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.5 อยู่ที่ 55.56 ล้านตัน ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี เนื่องจากอุปสงค์ที่ซบเซาในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และการก่อสร้าง หลังจากมีการปรับขึ้นภาษีบริโภค
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะผู้ประกอบการหลายรายเข้าซื้อเพื่อส่งมอบตามสัญญาที่ทำไว้ล่วงหน้า ขณะที่ผลผลิตยางมีน้อยมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงและเงินเยนแข็งค่า ประกอบกับนักลงทุนชะลอการซื้อเพื่อรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของจีน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ที่จะเปิดเผยในวันนี้ ขณะที่ปัจจัยบวกมาจากปริมาณผลผลิตยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย สภาพอากาศไม่เอื้อต่อการกรีดยาง และขาดแคลนแรงงานกรีดยาง อีกทั้งนักลงทุนยังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้ม เศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งความร่วมมือกันของหลายฝ่ายเพื่อหาแนวทางผลักดันราคายางให้ปรับตัวสูง ขึ้น
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]