กระทรวงเกษตรฯ เดินหน้างัดมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือชาวสวนยาง
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนหลายล้านบาทต่อปี มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยางกว่าล้านคน ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีพื้นที่ปลุกประมาณ 12 ล้านไร่ ผลผลิตยางประมาณ 2.6 ล้านในจำนวนนี้เป็นสินค้าส่งออก ประมาณ 2.3 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 89 ของผลผลิตรวมทั้งประเทศ ประเทศไทยเคยผลิตยางได้ต่อปี ประมาณ 1,500,500 ต้นต่อปี ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ แต่เมื่อเศรษฐกิจโลกเติบโต ความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น หลายคนหันมาลงทุนปลูกยางกันเกือบทั่วประเทศ จนถึงปี 2556 ไทยผลิตยางได้ต่อปีประมาณ 4,100,000 ตัน เพิ่มขึ้นเกือบๆ 4 เท่าตัว ซึ่งหากย้อนดูทิศทางของราคายางพาราในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าราคายางเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 กว่าบาท และมาดีดตัวสูงขึ้นเกือบ 150 กว่าบาทเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่า การที่ราคายางพาราดิ่งลงมาอย่างต่อเนื่อง 2-3 ปี อย่างนี้ ย่อมมีผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางจนมีหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ได้ทำการรวบรวมาข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เพื่อศึกษาและจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 21 ตุลาคม 2557 เห็นชอบในมาตรการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งโครงการหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนใหกับเกษตรกรชาวสวนยางในระยะเร่งด่วน คือโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ เป้าหมาย 850,000 ครัวเรือน ซึ่งมีพื้นที่สวนยางเปิดกรีดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเอกสิทธิ รวมทั้งเอกสารสิทธิ 46 รายการตามหนังสือของกรมป่าไม้ ที่ ทส 1602./5527 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2555 ซึ่งพื้นที่สวนยางเปิดกรีดที่อยู่ในข่ายจะได้รับความช่วยเหลือประมาณ 8.2 ล้านไร่ ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน วงเงินรวม 8,453.99 ล้านบาท แบ่งเป็น วงเงินจ่ายชดเชยเกษตรกร 8,200 ล้านบาท โดยใช้เงินทุนของ ธ.ก.ส.และ ธ.ก.ส. คิดต้นทุนในอัตรา FDR+1 และให้ ธ.ก.ส. จัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อชำระคืนต้นเงินจากการดำเนินงานตามโครงการ และค่าชดเชยดอกเบี้ย ธ.ก.ส. และค่าบริหารจัดการของหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวน 253.99 ล้านบาท วงเงินใช้จ่ายปีแรก จำนวน 253.99 ล้านบาท
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางอย่างเร่งด่วน กระทรวงเกษตร ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานโดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเปิดรับแจ้งให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. - 15 ธ.ค.57 โดยเกษตรกรที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการได้นั้นต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จากนั้นคณะกรรมการตรวจรับรองสิทธิ์เกษตรกรทั้งระดับตำบลและคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับอำเภอจะทำการตรวจรับรองสิทธิ์เกษตรกรทั้งเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายเดิม ที่เคยขึ้นทะเบียนและอยู่ในหลักเกณฑ์ประมาร 800,000 ราย จากที่มาขึ้นทะเบียนกว่าล้านราย แต่ที่เหลือไม่ผ่านหลักเกณฑ์ เช่น ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นต้น รวมถึงจะตรวจรับรองให้เกษตรกรรายใหม่ที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบพื้นที่เปิดกรีดด้วยโดยจะเริ่มตรวจรับรองสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย.-31 มี.ค.58 ส่วนกรณีเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน กรมส่งเสริมการเกษตรจะปิดรับขึ้นทะเบียน โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรับเกษตรกรเข้าร่วมโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรทุกประการ
[/color]ทั้งนี้ วิธีการตรวจสอบรับรองสิทธิ์เกษตรกร แบบใหม่ที่ให้ฝ่ายปกครองท้องถิ่นมีส่วนร่วมจะทำให้การตรวจรับรองสิทธิ์เกษตรกรมีกระบวนการที่รัดกุมและละเอียดมากขึ้น ยากต่อการสวมสิทธิ์ของเกษตรก ส่วนขั้นตอนการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรนั้นจะดำเนินการผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ตามผลการตรวจรับรองของคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับอำเภอ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรได้ภายในกลางเดือนพฤศจิกายนและจะดำเนินการจ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายใน6 เดือน โดยในเบื้องต้นผู้ที่มีสิทธิ์รับเงินจะต้องเป็นรายที่มีพื้นที่ปลูกมีเอกสารสิทธิ์ชัดเจน และเปิดกรีดหน้ายางมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 เดือน ส่วนรายที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ต้องมีหนังสือรับรองจากกรมป่าไม้ จึงจะได้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าว
[/size]
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังมอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตรเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรมาเข้าร่วมโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ตลอดจนรับทราบขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ เช่น การเตรียมเอกสาร หลักฐานประกอบการยื่นขอเข้าร่วมโครงการให้ครบถ้วน รวมทั้งประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ เพื่อทำความเข้าใจหลักเกณฑ์และขั้นตอนการรับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเข้าร่วมโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตกรชาวสวนยาง ให้สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน[/size]
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557)[/size]