ผู้เขียน หัวข้อ: 3 ชาติจับมือคุมสกัดยางล้นตลาด-ราคาตก  (อ่าน 1059 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88289
    • ดูรายละเอียด
3 ชาติจับมือคุมสกัดยางล้นตลาด-ราคาตก


3 ชาติผู้ผลิตยาง"ไทย- อินโดนีเซีย-มาเลเซีย" จับมือทำข้อตกลงร่วมคุมพื้นที่ปลูกถึง 6 ปี สกัดยางล้นตลาด

    การประชุมรัฐมนตรีสภาไตรภาคียางพารา (International Tripartite Rubber Council : ITRC) และบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCO) เมื่อเร็วๆ นี้ นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ (IRCO) กล่าวว่าที่ประชุมได้หารือถึงสถานการณ์ยางพาราและแนวทางการแก้ปัญหาราคาตก ต่ำ
    โดยทั้ง 3 ประเทศประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เห็นด้วยว่าผลผลิตยางของโลกช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ค่อนข้างจะสมดุลส่งผลให้ราคา ไตรมาสแรกปี2558 ปรับตัวสูงขึ้นประมาณกิโลกรัมละ 70-80 บาท

    3 ผู้ผลิตยางร่วมทำข้อตกลง

    ทั้งนี้ทั้ง 3 ประเทศ ได้ตกลงร่วมกันใน 5 ประเด็น 1. จะไม่ขยายพื้นที่ปลูกยางจนถึงปี 2563 ไม่เกินเป้าหมายส่วนแบ่งที่ 3 ประเทศส่งออกยางไปขายในตลาดโลกเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาราคายางตกต่ำใน อนาคต 2.ให้ IRCO เป็นผู้กำกับดูแลปริมาณการส่งออกยางของสามประเทศ 3. เวียดนาม กัมพูชาและลาว ตกลงจะร่วมมือกับ 3 ประเทศในการดำเนินมาตรการต่างๆ ร่วมกัน 4. เร่งให้จัดตั้งตลาดยางพาราของ 3 ประเทศภายใน 18 เดือน และ 5.จัดตั้งสถาบันยางอาเซียน เพื่อเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านต่างๆ
     ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้มแข็งและผลักดันให้ราคายางสูงขึ้น มีเสถียรภาพระยะยาว และจะมีการประชุม ITRC ในเดือนม.ค.2558 ที่อินโดนีเซียเพื่อติดตามความก้าวหน้าต่างๆต่อไป
    ?ผมเชื่อมั่นว่าราคายางจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส1 ปี2558 ส่วนการถดถอยทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น จะไม่มีผลต่อความต้องการใช้ยางมากนักเพราะประเทศที่ใช้ยางมากอันดับหนึ่งของ โลกคือจีน แต่ต้องระมัดระวังอิทธิพลของตลาดล่วงหน้าโตคอม ที่อาจกดดันให้ราคายางลดลงในช่วงนี้ เพราะญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และตลาดโตคอมเป็นตลาดเก็งกำไรมากกว่าจะเป็นตลาดประกันความเสี่ยงของนักลงทุน ทำให้ราคายางบางช่วงเวลาไม่เคลื่อนไหวตามกลไกของตลาด? นายเยี่ยม กล่าว

     คาด ม.ค.ปีหน้าตั้งหน่วยดูแลยางได้

     นายเยี่ยม กล่าวว่าตามข้อตกลงที่ให้ IRCO เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการส่งออกยางของทั้ง 3 ประเทศ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2558 เนื่องจากต้องนำข้อมูลจากทั้ง 3 ประเทศ เช่น ผลผลิตกำลังการผลิต การส่งออกในปี2557 สต็อกของแต่ละประเทศ และสต็อกยางในตลาดโลก มาวิเคราะห์กับความต้องการยางในตลาดโลก
     ?การกำกับดูแลการส่งออกยางของทั้ง 3 ประเทศ จะไม่จัดสรรลักษณะโควตา แต่จะพิจารณาตามความเหมาะสม กำลังการผลิตของแต่ละประเทศ ความต้องการของตลาดเป็นหลัก เพื่อให้ราคาที่เกษตรกรได้รับไม่ต่ำจนเกินไป มีเสถียรภาพ ทั้ง 3 ประเทศพร้อมจะให้ความร่วมมือ เนื่องจากที่ผ่านมาราคา ตกต่ำมากแล้ว? นายเยี่ยม กล่าว
      สำหรับกำลังผลการผลิตยางของโลกในปัจจุบันอยู่ที่ 12 ล้านตัน โดยไทยมีกำลังการผลิตสูงสุดปีละ 4 ล้านตัน อินโดนีเซีย 3 ล้านตัน มาเลเซีย 1 ล้านตัน ส่วนที่เหลือเป็นของเวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่า ขณะที่ความต้องการของโลกอยู่ที่ปีละ 11 ล้านตัน ดังนั้นปริมาณยางพาราที่เหลืออยู่ 3-4 ล้านตันไม่ถือว่ามากเกินไปอยู่ในระดับที่สมดุล

    กำลังซื้อทรุดฉุดราคายางร่วง

     ส่วนราคายางที่ตกต่ำช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากตลาดล่วงหน้า กำหนดให้ยางพาราอยู่ในกลุ่มของสินค้าอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีปัญหากำลังซื้อสินค้ากลุ่มนี้ปรับตัวลดลง นักลงทุนจึงถอนเงินคืน ราคาสินค้ากลุ่มนี้จึงปรับลดลง โดยที่ไม่รู้ว่ายางพาราเป็นสินค้าที่โลกยังต้องการอยู่ ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในปีนี้จะขยายตัว 7-8 % ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงภาวะเศรษฐกิจของโลกยังดีอยู่มีการขยายตัวถึง 40 % แต่รถทุกคันยังมีการเปลี่ยนล้อยาง ดังนั้นความต้องการยางพารายังมีอย่างต่อเนื่อง

     จีนหันใช้ยางสต็อกเก่าเพิ่มขึ้น

     นายเยี่ยม ยังเชื่อว่าช่วงต้นปี 2558 คาดว่าสต็อกยางที่เมืองชิงเต่า ของจีน เหลืออยู่ประมาณ 1 แสนตันเท่านั้น ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี นี้ที่มีสต็อกอยู่ถึง 3 แสนตัน แสดงว่าผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาดลดลง จากที่การผลิตขาดแคลนแรงงาน เกษตรกรตัดสินใจโค่นยาง เพราะราคาตกต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการต้องซื้อยางในสต็อกแทน
     ขณะที่โรคอีโบลาซึ่งมีการระบาดในปัจจุบัน ส่งผลให้ทั่วโลกรณรงค์ให้ใช้ถุงมือยางมากขึ้น ดังนั้นความต้องการน้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบจะมีมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของไทยทั้งการส่งออกน้ำยางข้น การพัฒนาอุตสาหกรรมถุงมือยาง

      หวังผู้ซื้อลดพึงพาตลาดโตคอม

       อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้ประกอบการเริ่มรู้แล้วว่า ราคายางที่ปรับขึ้นลงอย่างไม่มีเสถียรภาพ ส่งผลกระทบกับแผนการผลิต มาจากตลาดเก็งกำไร โดยเฉพาะโตคอม ทำให้ผู้ประกอบการต้องวางแผนซื้อโดยใช้ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเป็นตัวอ้างอิง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นถดถอย ส่งผลให้เงินเยน อ่อนตัว เชื่อว่าแนวโน้มราคายางขณะนี้จนถึงไตรมาสแรกของปีหน้า น่าจะปรับตัวสูงขึ้น และจะดีต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 2,3 และ 4 ปีหน้า
     "เพื่อให้ผู้ประกอบการเลิกอ้างอิงราคาจากตลาดโตคอม และให้ประเทศผู้ผลิตสามารถควบคุมราคาได้ IRCO จะผลักดันให้เกิดตลาดยางพาราของ3 ประเทศภายใน 18 เดือน ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาคาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ธ.ค.นี้" นายเยี่ยม กล่าว

     นักวิเคราะห์เชื่อช่วยพยุงราคาได้

      ขณะที่นายกู เจียง นักวิเคราะห์แห่งบริษัทยูทากะโชจิ กล่าวว่ามาตรการใหม่ น่าจะพยุงราคาได้ แต่ไม่สามารถดันให้ราคาพุ่งขึ้นมากนัก เว้นแต่จะมีความต้องการยางเพิ่มขึ้น โดยจีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ความต้องการในตลาดจีนก็ลดลงเพราะเศรษฐกิจชะลอตัว
      ทั้งนี้ ในปีนี้ บรรดาสมาคมผู้ผลิตยางตั้งแต่ในไทยไปจนถึงกัมพูชา ต่างเรียกร้องให้ผู้ผลิตอย่าขายยางในราคาต่ำกว่ากิโลกรัมละ 1.50 ดอลลาร์ ช่วยทำให้ราคายางในโลกฟื้นตัวขึ้นมาได้จากระดับต่ำที่สุด



หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ