ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 799 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84880
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันจันทร์ที่  9  มีนาคม  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ทุกภาคมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีเมฆบางส่วนและมีฝนตกเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกส่วนมากหยุดกรีดในช่วงฤดูยางผลัดใบ


2. การใช้ยาง


- สมาคมนำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าของญี่ปุ่นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งรวมถึงรถยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศลดลงร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 27,520 คัน


3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 6 มีนาคม 2558 ลดลง 8,403 ตัน หรือลดลงร้อยละ 5.11 อยู่ที่ 156,103 ตัน จากระดับ 164,506 ตัน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558


4. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานศุลกากรจีนเปิดเผยว่า เดือนกุมภาพันธ์จีนมียอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.9 หลังจากหดตัวลงร้อยละ 3.2 ในเดือนมกราคม อย่างไรก็ตาม ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 20.1 ลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ 19.7 ในเดือนก่อน แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแรงของเศรษฐกิจจีนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก


- สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป (EU.) รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของ EU. และยูโรโซน ไตรมาส 4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 และ 0.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบเป็นรายปีเศรษฐกิจ EU. และยูโรโซนไตรมาส 4 มีการขยายตัวร้อยละ 1.3 และ0.9 ตามลำดับ


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนมกราคมสหรัฐฯ ขาดดุลการค้าลดลงสู่ระดับ 4.175 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม โดยระบุว่าในเดือนมกราคม การส่งออกลดลงร้อยละ 2.9 ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 3.9


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า ธนาคารรายใหญ่ที่สุด 31 อันดับแรกของสหรัฐฯ ต่างผ่านการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ประจำปี สำหรับเกณฑ์เงินกองขั้นต่ำที่ร้อยละ 5.0 ตามข้อตกลงเพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น


- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมกราคมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน มากกว่าที่คาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์


- รัฐบาลญี่ปุ่นปรับลดประมาณการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4 ปี 2557 โดยระบุว่า GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ลดลงจากที่ประมาณการก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2


- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคมอยู่ที่ 6.14 หมื่นล้านเยน ซึ่งเป็นการเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7


5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.57 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 120.74 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.77 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดตลาดที่ 49.61 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.15 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดที่ 59.73 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายน อยู่ที่ 213.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 207.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.2 เยนต่อกิโลกรัม


- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 172.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 6.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้น 295,000 ราย หลังจากเพิ่มขึ้น 239,000 รายในเดือนมกราคม ขณะที่อัตราว่างงานลดลงสู่ร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง จากร้อยละ 5.7 ในเดือนมกราคม


- รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศจะเริ่มใช้มาตรการฉุกเฉินด้านเงินสดเพื่อให้รัฐบาลยังคงสามารถชำระหนี้ของประเทศได้ทันทีที่แตะเพดานหนี้ในวันที่ 16 มีนาคม 2558 หรืออีกราว 1 สัปดาห์ข้างหน้า โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยื่นหนังสือถึงผู้นำในสภาคองเกรสเรียกร้องให้มีการเพิ่มเพดานหนี้อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางลดลงตามตลาดล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการกล่าวว่า ราคาไม่น่าจะปรับลดลงมากแล้ว เพราะผลผลิตยางมีน้อย และมีผู้ต้องการจะเก็บยางไว้ในช่วง 1 - 2 เดือนที่อยู่ในช่วงฤดูยางผลัดใบ


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ หลังจากที่อัตราว่างงานสหรัฐฯ ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปีครึ่ง และตัวเลขการนำเข้าของจีนที่ลดลงแสดงถึงความอ่อนแรงของเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางอันดับหนึ่งของโลก รวมทั้งญี่ปุ่นปรับลดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4 ลงสู่ร้อยละ 1.5 จากประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 2.2






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2015, 11:48:07 AM โดย Rakayang.Com »