ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 911 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82928
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  29  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนตกเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- การผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 8.2 ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สู่ระดับ 668,095 คัน โดยปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน
3. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญกับความเสี่ยงขาลง และคาดว่าจะเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากในอนาคตอันใกล้นี้ โดยระบุว่าความต้องการสินค้าของจีนในตลาดต่างประเทศยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เมื่อพิจารณาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ขณะที่การลงทุนในประเทศยังคงขาดแรงกระตุ้น- ข้อมูลจากรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า ยอดค้าปลีกในเดือนเมษายนปรับตัวขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากผู้บริโภคซื้อรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 0.3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่มีการเปิดเผยเมื่อช่วงปลายเดือนที่แล้ว- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาซานฟานซิสโก กล่าวว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อไปในปีนี้ โดยปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ขณะที่เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า สิ้นปี 2558 ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 ซึ่งครอบคลุมเงินสดหมุนเวียนและเงินฝากทั้งหมด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.73 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.74 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 57.68 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลงมากเกินคาด นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากข้อมูลแรงงานที่สดใสของสหรัฐฯ- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 62.58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.52 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ สัปดาห์ที่แล้วลดลงมากเกินคาด ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 479.4 ล้านบาร์เรล จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 227.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 236.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.3 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 186.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงทรัพยากรมนุษย์และความมั่นคงทางสังคมของจีน เปิดเผยว่า หน่วยงานในระดับท้องถิ่น 19 แห่ง พร้อมใจกันปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยเฉลี่ยร้อยละ 14.1 จากระดับค่าแรงเฉลี่ยปีที่แล้ว- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนเมษายนปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 แตะระดับ 112.4 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 นับเป็นอีกสัญญาณที่แสดงถึงการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 23 พฤษภาคม 2558 เพิ่มขึ้น 7,000 ราย แตะ 282,000 ราย อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 12 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้อีก โดยผู้ประกอบการกล่าวว่า ราคาที่สูงขึ้นขณะที่ราคาต่างประเทศไม่ค่อยเคลื่อนไหว น่าจะเป็นเพราะการปั่นราคาของพ่อค้ารายใหญ่ หรืออาจขาดแคลนสินค้าจริง ๆ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการขายล่วงหน้าไว้มาก จากการคาดการณ์ว่าราคาจะปรับลงเมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้น
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยน และการเก็งกำไรของนักลงทุนในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย รวมทั้งนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และมาตรการแก้ปัญหาราคายางของภาครัฐช่วยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจับตาดูสถานการณ์หนี้กรีซที่ยังไม่มีความชัดเจน และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก จึงระมัดระวังในการซื้อขาย


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา