ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1554 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด





วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  30  มกราคม  พ.ศ. 2557

 
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. ส???าพ???ูมิอากาศ- บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วน???าคใต้อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของ???าค
2. การใช้ยาง- บริษัทฟอร์ดมอเตอร์แห่งสหรัฐฯ แสดงความวิตกว่า ปัญหาเศรษฐกิจในเวเนซุเอลาและอาร์เจนตินาจาก???าวะเงินเฟ้อที่สูงของทั้ง 2 ประเทศ อาจบดบังกำไรปี 2557 ประกอบกับความวิตกในการพยุงส???าพเศรษฐกิจ ทำให้ฟอร์ดทบทวนการคาดหมายผลประกอบการในปีนี้สำหรับ???ูมิ???าคอเมริกาใต้ ซึ่งการดำเนินงานของฟอร์ดในอเมริกาใต้ปีที่แล้วขาดทุน 34 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มีกำไร 213 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ สำหรับไตรมาส 4 ปี 2556 ขาดทุนเพิ่มเป็น 126 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ล่าสุดฟอร์ดคาดในช่วงไตรมาสแรกปี 2557 อาจได้รับผลกระทบ 350 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เนื่องจากสถานการณ์ในเวเนซุเอลา สำหรับ???าพรวมของฟอร์ดมีกำไรก่อนเสีย???าษีทั้งปี 2556 จำนวน 8,570 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
- บริษัทโตโยต้า มอร์เตอร์ คอร์ป เปิดเผยยอดผลิตรถยนต์ทั่วโลกของบริษัทในปี 2556 พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 10.12 ล้านคัน เนื่องจากการเพิ่มยอดผลิตใน???ูมิ???าคอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย ส่งผลให้โตโยต้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของโลก มียอดการผลิตรถยนต์มากกว่า 10 ล้านคัน
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ผลกำไรของบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีนปี 2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 จากปีก่อน โดยอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากช่วงเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ทางด้านสมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีน (CAAM) เผยว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศปี 2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.87 จากปีก่อน มาอยู่ที่ 21.98 ล้านคัน ส่วนกำลังการผลิตรถยนต์ปี 2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.76 จากปีก่อน อยู่ที่ 22.12 คัน ส่วนยอดจำหน่ายเดือนธันวาคม 2556 ทำสถิติรายเดือนสูงสุดที่ 2.14
ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.92 เมื่อเทียบเป็นรายปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.42 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน
3. เศรษฐกิจโลก- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดโครงการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนลงอีกเดือนละ 10,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เดินหน้าลดระดับกระตุ้นเศรษฐกิจแบบพิเศษ และคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไปอีกระยะ เป็นผลให้ตั้งแต่เดือนกุม???าพันธ์เป็นต้นไป ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือน 65,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ จากเดิม 75,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือน
- บริษัทวิจัยตลาดนีลเสน ระบุว่า ไตรมาส 4 ปี 2556 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโ???คทั่วโลก อยู่ที่ระดับ 94.0 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 อย่างไรก็ตาม ค่าที่ต่ำกว่า 100 จุด ถือว่าความเชื่อมั่นผู้บริโ???คยังค่อนข้างต่ำ
- HSBC เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ???าคการผลิตของจีนเดือนมกราคมปรับตัวลดลง มาอยู่ที่ 49.5 จุด จาก 50.5 จุดในเดือนธันวาคม 2556 ต่ำกว่าข้อมูลเบื้องต้นที่ 49.6 จุด
4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 33.00 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.26 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 1.01 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 97.36 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.05 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และตลาดยังได้รับแรงกดดันจากเฟดตัดสินใจปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในการประชุมครั้งล่าสุด
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 มกราคม 2557 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยสต๊อคน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 6.4 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 357.6 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 2.2 ล้านบาร์เรล ด้านสต๊อคน้ำมันกลั่นซึ่งรวมถึง heating oil และน้ำมันดีเซล ร่วงลง 4.6 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 116.2 ล้านบาร์เรล จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 800,000 บาร์เรล อยู่ที่ 234.4 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 1.1 ล้านบาร์เรล ด้านอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 อยู่ที่ 88.2 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2
6. การเก็งกำไร- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกุม???าพันธ์ อยู่ที่ 222.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 226.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 5.3 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 217.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว- สหประชาชาติรายงาน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประเทศตลาดเกิดใหม่สำคัญ 5 ประเทศ ปี 2556 พุ่งขึ้น 322,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือร้อยละ 22 โดยรัสเซียผงาดขึ้นเป็นประเทศผู้รับการลงทุนรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก
- ธนาคารกลางแอฟริกาใต้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรร้อยละ 0.50 สู่ระดับ ร้อยละ 5.5 ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการอ่อนค่าของสกุลเงินแรนด์ โดยระบุว่าการคาดการณ์เกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับสูงกว่าร้อยละ 6.0 ในไตรมาส 2 และสูงขึ้นเป็นร้อยละ 6.6 ในไตรมาส 4 นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเกือบ 6 ปี และหลังจากธนาคารกลางประกาศขึ้นดอกเบี้ยไม่นาน สกุลเงินแรนด์ร่วงลงแตะระดับ 11.25 แรนด์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยเงินแรนด์อ่อนค่าลงร้อยละ 10 นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางปรับตัวลดลงประมาณ 1 บาท จากผลกระทบของค่าเงินแข็งค่า การปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ผู้ซื้อยางมีน้อยเพราะอยู่ในช่วงหยุดเทศกาลตรุษจีน
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงประมาณ 1 บาท ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นและสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ประกอบกับ???าวะเศรษฐกิจโลกได้รับแรงกดดันหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงอีก 1 หมื่นดอลล่าร์สหรัฐ สำหรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคายางในระยะนี้ ได้แก่ ปริมาณสต๊อคยางที่มีจำนวนมาก และผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ รวมทั้งการชะลอการผลิตของโรงงานแปรรูปเนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลตรุษจีน


คณะทำงานวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา






































































































































[/td][/tr][/table]