ผู้เขียน หัวข้อ: สารพัดทุกข์ชาวนา-ชาวสวนยาง กลางวิกฤตจำนำข้าว ราคายางตก  (อ่าน 1350 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82776
    • ดูรายละเอียด
สารพัดทุกข์ชาวนา-ชาวสวนยาง กลางวิกฤตจำนำข้าว ราคายางตก

24 ก.พ. 2557 เวลา 12:45:05 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
 
รายงานพิเศษ

"โครงการจำนำข้าว" ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตชาวนาไทยอย่างแสนสาหัส ไม่แตกต่างจากชาวสวนยางพาราที่สะท้อนว่า ยุคนี้พวกเขาลำบากไม่แพ้ชาวนา จากปัญหาราคายางตกต่ำสุดขีด

"อาทิตย์ สุขหาม" ชาวนาจังหวัดมหาสารคามบอกความเดือดร้อนว่า ทุกวันนี้ยังมี???าระหนี้สินค่าปุ๋ย ค่ายาปราบศัตรูพืชและหนี้รถเกี่ยวข้าวหลายหมื่นบาท แต่ก็ต้องผัดหนี้ไปก่อนเพราะไม่มีเงินจ่าย ซึ่งก็ไม่รู้ว่าวันไหนจะได้รับเงินจำนำข้าว

"ชาวนาที่นี่ประสบชะตากรรมเดียวกัน แม้จะลงมือทำนาปรังแล้ว แต่ก็ไม่มีทุน ต้องกู้เงินนอกระบบ ดอกเบี้ยแพง แต่ก็ต้องทำ เพราะไม่มีทางเลือกอื่น ผมเองต้องตระเวนขายไอติมหารายได้มาจุนเจือครอบครัว"
"ณรงค์ ฉายา???ักดี" ชาวนามหาสารคามอีกคนเล่าว่า ทำนาปีจำนวน 11 ไร่ ต้องได้รับเงินจากโครงการจำนำข้าว 10,6000 บาท แต่วันนี้เงินยังไม่ถึงมือ ซ้ำยังเป็นหนี้ร้านค้าหลายรายการ อาทิ ค่ายากว่า 5 พันบาท ค่าปุ๋ยกว่า 2 หมื่นบาท ค่ารถเกี่ยวข้าวกว่า 8 พันบาท รวมทั้งหนี้จากเงินกู้ยืมนอกระบบที่ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาท/เดือน

"หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้เหมือนทุกปี ไม่เกินเดือนธันวาคมก็จะได้เงินแล้ว ก็ไม่เดือดร้อนอะไร สามารถนำเงินไปจ่ายหนี้ได้ แต่ขณะนี้???าระที่ต้องจ่ายทุกวัน คือรายจ่ายในครอบครัว ลูกก็ต้องไปโรงเรียน ต้องกินต้องใช้ทุกวัน แต่ไม่ทราบว่าอีกกี่ปีกี่เดือนถึงจะได้เงินจากรัฐบาลโครงการนี้ อยากฝากว่า หากจะดำเนินการโครงการนี้ต่อไป ต้องมีการอุดรอยรั่วจากทุจริต ซึ่งเชื่อว่ามีแน่นอน เพราะ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลแล้ว"

"ชาตรี อ่ำพูล" แกนนำชาวนา อำเ???อพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โอดครวญว่า ชาวนารู้สึกหมดหวัง แต่ต้องพยายามช่วยเหลือกันเอง เพราะหลายครอบครัวไม่มีเงินแล้วจริง ๆ

"ใครไม่ประสบปัญหานี้จะไม่รู้ว่าทุกข์ระทมขนาดไหน ยิ่งชีวิตชาวนาบางคนต้องเช่าที่ทำนา กู้เงินมาซื้อพันธุ์ข้าว ซื้อปุ๋ย ซื้อยา กระบวนการเก็บเกี่ยวก็ต้องจ้างอีก มีทุนที่ต้องจ่ายแทบทั้งสิ้น เมื่อไม่ได้เงินจากโครงการจำนำข้าวมาจ่ายก็ยิ่งเครียดหนัก ช่วงนี้จะไปเชื่อของมาทำนารอบใหม่ก็ไม่ได้ ร้านค้าไม่ยอมปล่อยให้แล้ว"

กระนั้นก็ตาม ชาวนาบางครอบครัวได้หันไปปลูกผัก เลี้ยงเป็ด และหาปลาขาย นำเงินมาประทังชีวิตคนในครอบครัว

ทุกคนหวังจะได้เงินจำนำข้าวโดยเร็ว แต่ยังไม่รู้ว่าหากได้เงินมาจะเพียงพอไปใช้หนี้สินและดอกเบี้ยเงินกู้หรือไม่ เพราะดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทุกวัน
เช่นเดียวกับ "ฉลวย หยวกอ่อง" ชาวนาพิษณุโลก วัย 50 ปี ระบายความทุกข์ว่า ชีวิตชาวนายุคนี้ลำบาก ทำนาก็ไม่ได้รับเงิน หรือหลังจากทำนาครั้งใหม่ช่วงเดือนตุลาคมก็ประสบกับปัญหาส???าพอากาศหนาว ข้าวที่กำลังตั้งท้องเลยแท้งเป็นโรคข้าวจู๋ ยอดข้าวเป็นสีดำ เมล็ดลีบ ซ้ำร้ายยังเจอหนูชุกชุม เพลี้ยกระโดดระบาด บางแปลงต้องไถทิ้ง

"หวังทำนารอบใหม่ตอนนี้ก็ไม่มีน้ำทำนาอีก เครียดขนาดเคยคิดจะฆ่าตัวตาย แต่ก็มีญาติห้ามไว้ว่าอย่าคิดมาก เดี๋ยวนี้ก็ไม่คิดอะไร ทำนามีต้นทุน ต้องไปกู้เงินซื้อพันธุ์ข้าว ปุ๋ย ยา ดอกเบี้ยร้อยละ 3 เจ้าหนี้มาทวงรายวัน"

"วรา???รณ์ กัญญา" ชาวนาจากอำเ???อพรหมพิราม กล่าวว่า ครอบครัวมีอาชีพทำนาเป็นหลักตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ เพราะชื่นชอบอาชีพนี้ ได้ปลูกข้าวให้คนได้กินอย่างไม่อดอยาก แม้จะขาดทุนบ้าง เสียหายจากธรรมชาติบ้าง ก็อดทนทำมาอย่างต่อเนื่อง และมีเงินพอกินพอใช้ แต่การทำนายุคนี้มีต้นทุนเยอะมากเสียค่าใช้จ่ายกับปุ๋ย-ยา 8 หมื่นบาท ค่าน้ำมันดึงน้ำเข้านาอีกครั้งไม่ต่ำกว่า 7 พันบาท แต่ก็หวังว่าจะได้เงินจากการจำนำข้าวกว่า 3 แสนบาท ก็มาถูกรัฐบาลโกง เพราะรัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหา

"กาญจนา ผิวตะขบ" ชาวนาปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เผยว่า ทุกวันนี้ใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก เพราะยังไม่ได้รับเงินจำนำข้าวกว่า 2 แสนบาท ต้องยืมเงินเพื่อนบ้านมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จ่ายค่าเครื่องสูบน้ำเข้านา ค่ารถไถนา ค่าหว่านข้าว รวมทั้งค่าปุ๋ย ทำให้รู้สึกกลุ้มใจมาก เพราะเงินไม่เพียงพอ มีเพียงค่าจำนำข้าวที่เป็นความหวังสุดท้ายนำมาปลดหนี้สิน
ด้านเจ้าของสวนยางพารา อำเ???อตะโหมด จังหวัดพัทลุง เผยว่า จากปัญหาราคายางตกต่ำถึง 50 บาท/กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเงิน ยิ่งอีก 2 เดือนข้างหน้าเป็นฤดูยางผลัดใบจะต้องหยุดกรีดยาง แต่กลับไม่มีทุนสะสมสำรองในการจ่ายค่าเทอมให้ลูกหลาน ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอีกมากมาย ทำให้ชาวสวนยางต้องไปกู้หนี้ยืมสินทั้งในระบบและนอกระบบกันมาก

ขณะที่ "สมพร ดียวง" รองประธานชมรม สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) บางแก้ว จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า เมื่อยางพาราราตกต่ำได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบ ขณะที่ชาวสวนยางรายได้หายไปกว่าครึ่ง

"ตอนนี้ต้นทุนการผลิตยางอยู่ที่ 64.19 บาท แต่ราคาขายยางอยู่ที่ 48-60 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่สินค้าอุปโ???คบริโ???คทรงตัวแถมขยับขึ้น เช่น ค่าไฟ ค่าก๊าซ ที่สำคัญเงินส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือแทบไม่มีจ่าย หนี้สินก็ไม่สามารถผ่อนชำระได้"

"สมพร" ทิ้งท้ายว่า ขณะนี้ยางเริ่มผลัดใบและต้องหยุดกรีดในอีก 2 เดือนข้างหน้า ก็จะกระทบต่อการดำรงชีวิตชาวสวนยางแสนสาหัส "ที่ประชุมเครือข่ายชาวสวนยางพารา 14 จังหวัดชายแดน???าคใต้ได้พยายามหาแนวทางรณรงค์เพื่อให้ชาวสวนยางใช้วิธีการเก็บออมกัน เพราะไม่มีทางเลือกอื่นที่จะช่วยเหลือได้แล้ว จะยื่นข้อเรียกร้องหรือเสนอหลักการใดก็ไม่สามารถเสนอได้ จึงเกิดส???าพตลาดต่างประเทศสามารถกำหนดราคายางอย่างไรก็ได้"

นี่คือเสียงสะท้อนของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการประชานิยมที่ล้มเหลว