ผู้เขียน หัวข้อ: ชงกู้1.5หมื่นล้านแก้ยางราคาตก หนุนแปรรูปทำถนน-ซื้อเก็บสต๊อก (05/08/2557)  (อ่าน 1154 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82776
    • ดูรายละเอียด
ชงกู้1.5หมื่นล้านแก้ยางราคาตก หนุนแปรรูปทำถนน-ซื้อเก็บสต๊อก (05/08/2557)






04 ส.ค. 2557 เวลา 15:55:42 น.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ก.เกษตรฯ ชงของบฯ 1.5 หมื่นล้าน แก้ปัญหายางพาราสต๊อกบวม ราคาร่วง ขณะที่ กสย.หนุนแปรรูปทำถนน งานชลประทาน "คมนาคม" สั่งกรมทางหลวง-กรมทางหลวงชนบท ลงมือด่วน

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มาตรการทั้งหมดที่กระทรวงเกษตรฯเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 57 ซึ่งมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานยังไม่เป็นที่น่าพอใจและต้องปรับปรุงทบทวนใหม่ โดยมาตรการระยะเร่งด่วนมาตรการหนึ่งที่เสนอไป คือสินเชื่อวงเงิน 15,000 ล้านบาท จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำหรับสหกรณ์ยางพาราทั่วประเทศ แบ่งเป็น 1.วงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับสหกรณ์ยางพาราแปรรูปที่ต้องการกู้ปรับปรุงหรือซื้อเครื่องจักรโรงงาน เพื่อจูงใจให้การแปรรูปยางพารากลางน้ำในประเทศมีมากขึ้น จะช่วยแก้ไขปัญหายางพาราตกได้ โดยรัฐจะเป็นผู้อุดหนุนดอกเบี้ย 3.99%

2.วง เงิน 10,000 ล้านบาท สำหรับสหกรณ์กู้สินเชื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนในการเก็บชะลอยางเมื่อเกิดภาวะ ยางราคาตก โดยเป็นวงเงินระยะ 12 เดือน รัฐอุดหนุนดอกเบี้ย 3.00% จะช่วยพยุงราคายางได้ด้วยการลดอุปทานในตลาด

แหล่งข่าวกล่าวว่า ในส่วนวงเงิน 5,000 ล้านบาท จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีสหกรณ์ยางพารา 265 แห่งทั่วประเทศที่ต้องการกู้สินเชื่อปรับปรุงเครื่องจักรเป็นวงเงิน กว่า 6,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากสินเชื่อนี้อนุมัติจะต้องมีการกลั่นกรอง โดยอาจแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด เพื่อคัดกรองสหกรณ์ที่มีศักยภาพ จากนั้นให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้ตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อแต่ละราย เบื้องต้นคาดว่าจะอนุมัติสินเชื่อสำหรับปรับปรุงหรือซื้อเครื่องจักรในวง เงิน 3,500 ล้านบาท และอีก 1,500 ล้านบาทใช้สำหรับปล่อยเป็นสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจ

กนย.-บีโอไอหารือทุกฝ่ายแก้ยาง

แหล่ง ข่าวกล่าวต่อว่า การประชุม กนย.ในวันที่ 1 ส.ค. 2557 จะมีการหารือร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยางพาราทุกภาคส่วน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมยางแปรรูป ตัวแทนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ให้กระทรวงเกษตรฯนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การขอสินเชื่อวงเงิน 10,000 ล้านบาทให้แก่สหกรณ์ยางพาราทั่วประเทศเพิ่มเติม นอกเหนือจากวงเงินเดิม 5,000 ล้านบาทนั้น สอดคล้องกับความเห็นของนายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo) เปิดเผยว่า จากสต๊อกยางพาราทั่วโลกที่มีมากขึ้นเป็น 2.3 ล้านตัน เทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่มีสต๊อก 1.7-1.8 ล้านตัน ทำให้ราคายางพาราตกต่ำลง ฉะนั้น ภาครัฐต้องหาทางออกด้วยการสร้างโกดังเก็บยางในช่วงครึ่งหลังของปีที่ยางออก สู่ตลาดมากแล้วค่อยทยอยขายในไตรมาส 1-2 หรือครึ่งปีแรกที่ยางผลัดใบ หรือภาครัฐควรปล่อยสินเชื่อให้เอกชนกู้ปลอดดอกเบี้ยเก็บสต๊อกยางไตรมาส 3-4 แล้วรอขายในไตรมาส 1-2 แทน

"ภาวะยางเช่นนี้ เราต้องบริหารจัดการสต๊อกให้เป็น ถ้าไม่ทำ ผู้ซื้อจะกดราคา อย่างเช่นจีน ที่กำลังผลักดันให้เมืองชิงเต่าเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก และเป็นผู้ควบคุมราคายางที่รับซื้อ ด้วยการตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนขนาดใหญ่ขึ้นมา ทั้งที่ 3 ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่คือไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งมีผลผลิต 8 ล้านตัน หรือไม่ต่ำกว่า 70% ของผลผลิตโลกควรจะเป็นผู้กำหนดราคา ดังนั้น ภาครัฐควรจะให้สินเชื่อปลอดดอกเบี้ยให้ภาคเอกชนสร้างโกดังบวกเงินทุนหมุน เวียนเก็บยางพารารอขายช่วงราคาสูง นอกเหนือจากการให้สินเชื่อเพื่อซื้อ-ปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่มมูลค่า ยางในช่วงภาวะราคายางตกต่ำ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางยางพารา"

ชงแปรรูปยางพาราทำถนน

ทาง ด้านนายสมชาย ณ ประดิษฐ์ กรรมการบริหารสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำในขณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีนโยบายการแก้ไข ปัญหายางพาราที่มั่นคงและถาวร โดยเฉพาะการแปรรูปยางใช้ในประเทศ เช่น การทำถนน เนื่องจากงานวิชาการและกรมทางหลวงยืนยันแล้วว่ายางพารามีประสิทธิภาพในการ ผลิตใช้งานได้จริง

"ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเร่งการแปรรูปใช้ภายใน ประเทศ ซึ่งมีการพูดกันมานานแล้ว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะปัจจัยกลไกของรัฐ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากชาวสวนยางอยู่ได้ ปัจจัยต่าง ๆ ก็จะกระเตื้องขึ้น เพราะมีกำลังซื้อที่สูงขึ้น"

แหล่งข่าวจาก สกย.กล่าวว่า ขณะนี้ คสช.กำลังขับเคลื่อนแก้ไขปัญหายางพาราอย่างเร่งด่วน โดยจะนำยางที่ค้างสต๊อกประมาณ 2 แสนตันมาแปรรูปผลิตเพื่อทำถนนและงานชลประทาน คาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือนหลังจากนี้

คมนาคมรับลูกใช้ฉาบผิวถนน

นาง สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในหนึ่งนโยบายที่จะเร่งดำเนินการคือ ช่วยภาครัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องยางพาราที่ล้นตลาด โดยได้มอบนโยบายให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทนำมาขยายผลในการซ่อมแซมถนน มากขึ้นจากเดิมอาจจะใช้เป็นแค่บางสายทาง เพราะตามที่ได้รับรายงานทราบว่า การใช้น้ำยางพารามาผสมในงานผิวถนนทำให้มีความเหนียวหนึบมากขึ้นในช่วงโค้ง

"จะทำงานร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ เพราะทราบมาว่าปัจจุบันปริมาณยางพาราในตลาดมีอยู่จำนวนมาก"

นาย ชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมเตรียมนำยางพารามาผสมกับแอลฟัลต์หรือยางมะตอย เพื่อปูผิวถนนที่ต้องบูรณะในปีงบประมาณ 2558 เพิ่มขึ้นจากเดิมได้ เริ่มดำเนินการมาบ้างแล้ว ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าจะทำให้อายุการใช้งานถนนเพิ่มขึ้นอีก 2 ปีจากการฉาบผิวถนนปกติ ทำให้เสียงบประมาณในการซ่อมบูรณะน้อยลง ถึงแม้จะทำให้ต้นทุน (เฉพาะงานผิวทาง) เพิ่มขึ้นกว่าผิวแอสฟัลต์ธรรมดาประมาณ 20-30% แต่จะช่วยยืดอายุการใช้งานมากขึ้น


"เราเพิ่งออกสเป็กก่อสร้างที่จะ มารองรับตรงนี้เมื่อปีที่แล้ว เรียกว่าพาราแอสฟัลต์ ก่อนหน้านี้มีการทดสอบและทดลองมาแล้ว ก่อนจะออกมาเป็นมาตรฐานให้ผู้รับเหมานำมาคำนวณ ซึ่งจะเป็นอีกทางหนึ่งของวิศวกรผู้ออกแบบในการเลือกใช้ตามสภาพเนื้องานและ ปริมาณการจราจร"

ในแผนงานปี 2558 กรมจะนำยางพารามาใช้สำหรับงานฉาบผิวประมาณ 430 ตัน คิดเป็นงบประมาณ 1,400 ล้านบาท และผสมลงในแอสฟัสต์เพื่อทำผิวใหม่ คิดเป็นปริมาณน้ำยาง 782 ตัน คิดเป็นงบประมาณ 1,000 ล้านบาท

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมเคยนำยางพารามาผสมกับแอสฟัลต์ใช้กับผิวถนนที่เป็นทางโค้ง ทางลาดชันและขึ้นเขา เพื่อเพิ่มความฝืดของผิวถนนให้รถไม่เสียหลักเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยคิดเป็นงบประมาณเฉลี่ย 200-300 ล้านบาทต่อปี ส่วนปี 2558 อยู่ระหว่างจัดทำแผนงาน ทั้งนี้ อีก 2-3 เดือนนี้กรมจะนำยางพาราที่ผสมแอสฟัลต์ออกเป็นสเป็กสำหรับเป็นสูตรที่จะใช้ในการบูรณะถนนต่อไป แต่ไม่ใช้ทุกพื้นที่ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานด้วย

อนึ่ง นางภาวนิศร์ ชัววัลลี จากสำนักภาคใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกรายงานเรื่อง "สต๊อกยางพารา ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม" ณ เดือนมิถุนายนศกนี้ว่าปกติปริมาณสต๊อกยางทั่วโลกแต่ละปีมีประมาณ 2 ล้านตัน คิดเป็น 2.1 เดือนของผลผลิตยางทั่วโลก แต่ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา สต๊อกยางเร่งตัวเหนือระดับ 2 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 สต๊อกยางคิดเป็น 3 เดือนของผลผลิตทั่วโลก ซึ่งสูงกว่าระดับปกติ จึงเป็นประเด็นที่นักลงทุนและผู้ส่งออกทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ แหล่งสต๊อกยางที่สำคัญได้แก่ 1.ไทย ณ สิ้นเดือนมีนาคมศกนี้ มีสต๊อกยางธรรมชาติและยางคอมพาวนด์ (ผสมสารเคมี) 5.2 แสนตัน สูงกว่าปกติที่มี 2-3 แสนตัน 2.สต๊อกยางตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่มีอิทธิพลต่อตลาดยางโลกคือตลาดล่วงหน้า เซี่ยงไฮ้และโตเกียวมีสต๊อก 1.9 แสนตัน 3.สต๊อกยางพาราชิงเต่า ประเทศจีน ณ สิ้นเดือนเมษายนนี้ มีสต๊อก 3.4 แสนตัน สูงกว่าสิ้นปี 2556 ที่อยู่ระดับ 2.6 แสนตัน รวมทั้ง 3 แหล่ง มีสต๊อกสูงถึง 1 ล้านตัน คิดเป็น 1 ใน 3 ของสต๊อกยางทั่วโลก ในขณะที่ความต้องการใช้ยางเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2554-2556 คิดเป็นร้อยละ 1.4 ขณะที่อัตราเติบโตผลผลิตยาง คิดเป็นร้อยละ 3.5

ขณะเดียวกัน International Rubber Study Group (IRSG) คาดการณ์ว่า ในปี 2557 และ 2558 สต๊อกยางทั่วโลกจะมีประมาณ 3.2 และ 3.4 ล้านตันตามลำดับ ส่งผลกดดันราคายางให้ลดลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะกระทบต่อไทยในฐานะผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลก โดยเฉพาะรายได้เกษตรกร
[/color]แก้ไขล่าสุด (วันอังคารที่ 05 สิงหาคม 2014 เวลา 09:26 น.)[/font][/color]